สาส์นจากผู้อำนวยการ ฉบับวันที่ 19 มีนาคม 2555 - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

สาส์นจากผู้อำนวยการ ฉบับวันที่ 19 มีนาคม 2555

สาส์นจากผู้อำนวยการ
ในโอกาสแสดงความยินดีบัณฑิตฟีโบ้รับพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2554

ผมบังเอิญไปได้ยินนักศึกษาฟีโบ้คุยกันที่ห้องโถงชั้น 14 ว่า จบจากฟีโบ้แล้วจะไปทำงานอะไรดี ความเห็นที่ว่าเรียนจบหุ่นยนต์ในยุคปัจจุบัน มีงานให้ทำเยอะแยะหากเทียบกับสภาพการจ้างงานเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วนั้น อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดเสียทีเดียว จริงอยู่ว่าสมัยที่ผมบุกเบิกวิทยาการหุ่นยนต์อยู่นั้น ผมต้องเสียเวลาอย่างมากในการ หมุนล้อฟรี(Spinning Wheels)” อยู่กับที่ เพื่ออธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในการพัฒนา ผลิตภาพ (Productivity)” ของอุตสาหกรรมไทยให้ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อขอทุนสนับสนุน แม้จะเป็นเรื่องซ้ำซาก จำเจ ไม่สิ้นสุด แต่ก็จำเป็นต้องกระทำหากมี สัมมาทิฐิ อันเป็นมรรคแรก ในองค์แปดของพระพุทธเจ้า ที่รู้เห็นขบวนการเป็นไปทางธรรมชาติ ของประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยสมัยนั้นความเป็นไปที่ภาคการผลิตต้องวิ่ง ตามผลกำไรมากกว่าการมองการณ์ไกลให้เกิดลงทุน ทางเทคโนโลยีเพื่อรากฐานที่มั่นคงของลูกหลาน

วันนี้ ผมเห็นว่ามีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ภาคเอกชนไทยมีความสามารถสูงและเข้าใจเนื้อหาทางเทคโนโลยีมากกว่าแต่ก่อนมาก ในหลายมิติโดยเฉพาะเรื่องการแข่งขันกับนานาชาติ เราต้องยอมรับว่าระดับความสามารถของบุคลากรภาครัฐไม่สามารถเทียบเคียงกับทีม งานของภาคอุตสาหกรรมและเอกชนไทยในปัจจุบันได้เลย เวทีการแข่งขันได้ก้าวขึ้นสู่ประชาคมอาเซียนและระดับโลก บัณฑิตฟีโบ้ต้องไปทำงานกับ/และแข่ง ขันกับคนเก่งๆ เมื่อสภาพการณ์เป็นดังนี้แล้ว บัณฑิตฟีโบ้ยังเชื่ออยู่อีกหรือว่าสถานภาพการทำงานโรยไว้ด้วยดอกกุหลาบ? ผมไม่เชื่ออย่างนั้น จึงอยากขอให้พวกเราอย่าดำรงตนด้วยความประมาท ขอให้มีสติ รอบคอบใช้อาวุธในการแข่งขันคือ วิทยายุทธ/ความรู้ด้าน Robotics and Automation และ Technopreneurship ที่คณาจารย์ ฟีโบ้ได้ถ่ายทอดแก่บัณฑิต ความรู้นี้ ไม่เป็นที่สองรองใครอย่างแน่นอน เหตุผลง่ายๆ คือคณาจารย์ของฟีโบ้นั้นสมัยศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยท็อปเท็นของโลก ก็ไม่เคยสามารถสะกดและไม่เข้าใจคำว่า ที่สอง ว่าหมายความว่ากระไร?

เรื่อง ความสามารถทางวิชาการข้างต้นนั้นธรรมดามาก ผมขอกระซิบดังๆ ว่า สุดยอดวิชาของฟีโบ้กลับมิได้ถูกถ่ายทอดทางวาจาและตัวหนังสือเลย ความรู้ดังกล่าวชาวฝรั่งเรียกว่า Tacit Knowledge นั้น ถ่ายทอดจากการที่บุคคลอยู่ร่วมกัน ทำงานด้วยกัน จึงจะเข้าใจ นั่นคือวัฒนธรรมของพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ปรมาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย คือ ดร. หริส สูตะบุตร และ ดร. ไพบูลย์ หังสพฤษก์ ได้กระทำเป็นต้นแบบอย่างดีตลอดมา คือท่านให้ความสำคัญต่อเป้าหมายของส่วนรวมและประเทศชาติไว้สูงสุด ดังนั้นผมขอนำคำสอนของพระมามอบเป็นคาถาสำคัญแก่บัณฑิตฟีโบ้ก่อนก้าวออกสู่ โลกภายนอกว่า ให้ มีสติและปัญญา ในการแข่งขันก่อนแสวงหาชัยชนะใดๆ ขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติให้มากเข้าไว้ หากเราชนะ แต่ประเทศแพ้ เราจะอยู่ไม่ได้ เพราะความพ่ายแพ้ของชาติไทยคือความพ่ายแพ้ของพวกเราทุกคน

 

ชิต เหล่าวัฒนา
1
9 มีนาคม 2555

 

Categories: ไม่ทราบหมวดหมู่