|
พาโร : หุ่นยนต์ช่วยเด็กออกธิสติกส์
ลูกศิษย์ที่ทำงานวิจัยเรื่องการใช้หุ่นยนต์เพื่อการบำบัดผู้ป่วยเด็กออธิสติกส์ ได้นำหุ่นยนต์ พาโร ที่ขอยืมมาจากจากเนคเทคมาให้ผมเล่นดู แม้ว่าฟังชั่นของพาโรไม่![]() ความน่ารักจากท่าทางและสุ้มเสียงของพาโรนั้นเลียนแบบมาจากลูกแมวน้ำ ที่พบได้มากแถวหมู่เกาะ เมดีลีน ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดา เมื่อพิจารณาหุ่นยนต์ของเล่นที่ออกมาสู่ตลาดโลกในช่วงนี้เราจะพบว่ามีอยู่สี่กลุ่ม คือ (1) หุ่นยนต์โครงสร้างมนุษย์ (2) หุ่นยนต์สัตว์เลี้ยงตามบ้านเรือนเช่น สุนัขหรือแมว (3) หุ่นยนต์ที่เราไม่คุ้นเคยนักเช่น นกเพนกวิน ปลาวาฬ และ (4) หุ่นยนต์รูปแบบใหม่ที่มิได้เลียนแบบสิ่งมีชีวิต จริง หุ่นยนต์ในกลุ่ม (1) และ (2) ยังไม่สามารถเคลื่อนไหวในระดับที่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงที่มีชีวิตกระทำได้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ที่มาปฏิสัมพันธ์ด้วยเบื่อและละความสนใจไปในที่สุดเพราะไม่เร้าใจพอ มนุษย์มีนิสัยชอบเปรียบเทียบกับประสบการณ์ที่เคยสัมผัสของจริงมา ในบางกรณีการเปิดให้เห็นส่วนประกอบทางกลมากไปทำให้ดูน่ากลัวมากกว่าน่ารัก ส่วนหุ่นยนต์ในกลุ่ม (4) มีจุดอ่อนตรงที่ไม่มีเรื่องราวหรือความหมายของรูปพรรณหุ่นยนต์ มนุษย์ไม่มีความผูกพันด้วย ในกรณีของพาโรที่มีขนปุกปุยน่ารักนั้นอยู่ในกลุ่ม (3) มนุษย์ไม่คุ้นเคยกับแมวน้ำจึงไม่มีโอกาสเปรียบเทียบมากนัก ในทางตรงข้ามเราพบว่าชาวญี่ปุ่นที่ใกล้ชิดกับพาโรได้พัฒนา พันธะอารมณ์ จนสร้างความผูกพันธ์กับพาโรอย่างใกล้ชิด อันนี้แหละครับที่เราคิดว่า เมื่อนำพาโรมาให้มาอยู่กับน้องๆที่มีอาการออธิสติกส์แล้ว อาจจะช่วยกระตุ้นความสนใจความอยกรู้อยากเห็นบางประการที่เกี่ยวข้องกับการทำให้น้องสามารถควบคุมสมาธิได้ดีขึ้น อย่างไรผมและลูกศิษย์ทำวิจัยได้แต่เพียงด้านหุ่นยนต์ จึงจำเป็นต้องเชิญคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญด้านออธิสติกส์มาร่วมงานด้วยครับ ![]() ในช่วงสามเดือนแรกของการทดลองกับพาโรนั้น เนื่องจาก ดร.ชิบาตะ คงหวงแหนพาโรมาก จึงไม่อนุญาตให้ผมผ่าท้องพาโรเพื่อดัดแปลงติดตั้งกล้องเพิ่มเติมเข้าไป ลูกศิษย์ผมจึงทำได้แต่เพียงติดตั้งกล้องไว้ที่ผนังห้องและบันทึกได้แต่เพียงความถี่ที่น้องมานั่งเล่นกับพาโรเท่านั้นการยืมเทคโนโลยีคนอื่นมาใช้งานก็คงมีขีดจำกัดเช่นนี้ ![]() เหมือนๆกับอุตสาหกรรมไทยที่ต้องซื้อเทคโนโลยีของประเทศพัฒนามาใช้งาน หากเมื่อถึงเวลาต้องผลิตสินค้าแข่งขันกับประเทศเจ้าของเทคโนโลยี เราจะไม่มีทางสู้เขาได้เลย ดังนั้นทุกครั้งที่ได้ยินคนพูดว่า ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีเอง ซื้อเขาใช้ดีกว่า เร็วกว่า อาจจะเป็นความจริงไม่ทั้งหมดครับ ผมสอนลูกศิษย์เสมอว่าแม้ตอนต้นของการพัฒนาผลงานเราจะด้อยกว่าเรื่องคุณภาพและราคาสูงกว่า ก็ยังจำเป็นต้องทำเพื่ออนาคตการแข่งขันของชาติไทย ผมทราบว่าผู้จัดการหลายท่านคงไม่เห็นด้วยกับผมครับ ด้วยความเชื่อข้างต้น ในระยะต่อไปของการทดลองผมและลูกศิษย์จึงได้วางแผนพัฒนาหุ่นยนต์สัตว์เลี้ยงสายพันธ์ไทยขึ้นมาใช้เอง ยังไม่ได้ตั้งชื่อครับ นอกจากเรื่อง ตากล้องคู่แล้ว สิ่งที่แตกต่างจาพาโรอีกประการหนึ่งคือเราจะเพิ่มเติมโมดูลการเรียนรู้ของหุ่นยนต์จากผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาเอกของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) เข้าไปด้วย ส่วนนี้นี่เองจะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นสองทิศทางระหว่างเด็กและหุ่นยนต์ ผลลัพท์อาจนำเราไปสู่วิทยาการใหม่ขึ้นมาได้ —————————————————————————————— ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา |
|