กลยุทธ์นำร่องหุ่นยนต์ไทย (2)
จากการระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสามารถสรุปความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในแต่ละประเภท (Users Requirements) ได้ดังนี้ 1. ครู/อาจารย์ 1.1 ครู/อาจารย์มีความรู้ความสามารถในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 2. นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ 2.1 นักวิจัยมีความสามารถในการออกแบบและสร้างนวัตกรรมทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับใช้ในการผลิต และสำหรับเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 3. นักศึกษาและบัณฑิต 4. ด้านพนักงาน 5. ผู้บริหาร |
6. ประชาชน 6.1 ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จากรายละเอียดความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรข้างต้นที่ผู้เชี่ยวชาญได้ระดมความคิดเห็นมานั้น สามารถสรุปเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรได้ 3 เป้าหมายหลักดังต่อไปนี้ 1. พัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากร ซึ่งสรุปจากความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรข้อ 1.1, 1.2, 1.3, 2.1, 3.2, 3.4, 4.1, 4.2 2. พัฒนาความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากร ซึ่งสรุปจากความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรข้อ 3.5, 3.6, 3.7, 4.3, 5.1, 5.2, 6.1 3. สร้างแนวทางความก้าวหน้าทางการประกอบอาชีพให้แก่บัณฑิตในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งสรุปจากความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรข้อ 1.2, 3.1, 3.2, 3.3 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักทั้ง 3 ข้อข้างต้น ได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อตอบโจทย์ในการพัฒนาบุคลากรดังต่อไปนี้ แผนปฏิบัติการที่ 1.1 เร่งผลิตบัณฑิตในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ แผนปฏิบัติการที่ 1.2 จัดทำหลักสูตรในสถาบันการศึกษาเพื่อให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้จ้างงาน แผนปฏิบัติการที่ 1.3 จัดการอบรมวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากรของประเทศ แผนปฏิบัติการที่ 1.4 ส่งเสริมกิจกรรมกระตุ้นความสนใจของเยาวชนในวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ แผนปฏิบัติการที่ 1.5 ประชาสัมพันธ์ความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากรในประเทศ แผนปฏิบัติการที่ 1.6 สร้างแนวทางความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพให้แก่บัณฑิตในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ แผนปฏิบัติการในการพัฒนาบุคลากรทั้งหกข้อนี้ หากพิจารณาจากการวิเคราะห์สถานภาพของบุคลากรในปัจจุบันของประเทศไทยทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ร่วมกับการพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคอย่างเป็นระบบ สามารถแบ่งออกเป็นแผนปฏิบัติการเชิงรุก เชิงรับ ในระยะสั้น และระยะยาว โดยมีรายละเอียดอยู่ในรายการประชาพิจารณ์ ผมขอรายงานหลังจากที่มีการหารือและถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ครับ
—————————————————————————————— ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา
|