สมองคนไทยในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์(จบ) - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

สมองคนไทยในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์(จบ)

logo robot brain

สมองคนไทยในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์ (2)

ดร. เลิศศักดิ์ เลขวัติ และ ดร. พันศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ร่วมกัน จัดตั้ง สถาบันฮาร์ดดิสค์ (HDDI) ขึ้นใน ปี 2549 ภายใต้ เนคเทค สวทช โดยมีผลงานจนถึงปัจจุบันดังนี้

  • จัดตั้งศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทาง (I/U CRC) เทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ 3 ศูนย์ ร่วมกับสถาบันการศึกษา ได้แก่ ม.ขอนแก่น, ฟีโบ้-มจธ. และ สจล. เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา และพัฒนาศักยภาพบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรม HDD
  • ร่วมกับ 14 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศในการสนับสนุนทุนการศึกษา (วิจัย) ระดับปริญญาตรี โท และเอก
  • จัดตั้งหน่วยวิจัย (Research Unit) 3 หน่วย ร่วมกับ มธ., ม. สงขลา และ มทส.
  • Technology Road Map ของศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางแต่ละ 3 ศูนย์
  • โครงการวิจัยและพัฒนา จำนวน 70 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนจำนวน 39.55 ล้านบาท โดยภาคอุตสาหกรรมร่วมลงทุนเป็นเงิน 17.91  ล้านบาท
  • สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาบุคลากรจำนวน 286 ทุน (ปริญญาตรี 168 ทุน ปริญญาโท 108 ทุน ปริญญาเอก 10 ทุน)
  • สนับสนุนการอบรมช่างและวิศวกรในอุตสาหกรรม HDD ประมาณ 7,135 คน (13,767 man-days) และอบรมเทคโนโลยีขั้นสูง 2,148 คน (165 man-days)
  • จัดตั้ง Hard Disk Drive Technology Training Institute ร่วมกับบริษัท WD เพื่ออบรมวิศวกรและช่างเทคนิคของบริษัท และบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน Supply Chain ของบริษัท
  • จัดตั้งหน่วยบริหารการจัดอบรมร่วมกับมหาวิทยาลัยสุรนารี เพื่อจัดทำหลักสูตรและร่วมกับสถาบันการจัดอบรมเครือข่ายในการจัดอบรมให้กับวิศวกรและช่างเทคนิคให้กับบริษัทที่อยุ่ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
  • สนับสนุนการจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาโท และเอก ด้าน Data Storage Technology
  • พัฒนาหลักสูตร Master of Science in HDD Engineering Technology และให้การสนับสนุนทุนการศึกษานักศึกษาป. โท 28 คน
  • โครงการฝึกอบรมทางเทคนิคและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงในต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ร่วมกับบริษัทผู้ผลิต HDD 3 โครงการ บริษัทเข้าร่วมจำนวน 2 บริษัท ส่งนักวิจัย/ผู้เชี่ยวชาญจากสวทช. ภาครัฐ และภาคเอกชนไปรับการอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศแล้ว จำนวน 45 คน
  • จัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบกลางสำหรับอุตสาหกรรม HDD และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการโดย TMEC
  • ศึกษาและจัดทำรายงาน

o “โครงการยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (ส่วนของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์)” ได้รับการเห็นชอบจากมติครม. ดำเนินโครงการภายใต้งปม. จำนวน 1,360 ล้านบาท (ระยะเวลาโครงการ ปี 52-54) โดยคาดหมายว่าจะจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และเปิดโอกาสให้บริษัทที่ได้ BOI เข้ามาร่วมในกองทุน
o โครงการศึกษากลไกการยกระดับศักยภาพของบุคลากรในคลัสเตอร์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
o โครงการศึกษาห่วงโซ่อุปทานและมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2549

 

2. เป้าหมายต่อไป

เป้าหมาย 1 : ผู้ประกอบการไทยเพิ่มยอดขายให้แก่อุตสาหกรรม HDD จำนวน 1% ของ Turn over ทั้งหมด ภายในปี 2554

แผนกลยุทธ์ :

  • สร้างความแข็งแกร่งให้เครือข่ายด้านบุคคลากร
  • พัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนและชิ้นส่วนที่เข้มแข็งในไทย
  • พัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมด้านการผลิต การบริการและสนับสนุนการผลิต

แผนกิจกรรม :
1. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวข้องกับ Jig fixture & Automation รวมถึง Indirect Material ซึ่งดำเนินกิจการอยู่แล้ว (Existing Local Suppliers, ELS) เข้าสู่อุตสาหกรรมฯ จำนวนอย่างน้อย 20 บริษัท

2. สร้างทีมงานเพื่อพัฒนา Field/Industrial Prototype อันประกอบไปด้วยนักวิจัย ทั้งจากภาคการศึกษาและภายในสวทช.  รวมถึงผู้ประกอบการ ELS เพื่อการขยายผลจาก Prototype to HVM (High Volume Manufacturing) ที่ดำเนินการโดย 20 บริษัทข้างต้น

3. ส่งเสริมและยกระดับความสามารถของเครือข่ายห้องทดสอบจนสามารถให้บริการทดสอบแก่อุตสาหกรรมได้ตามข้อกำหนดเชิงเทคนิคอย่างน้อย 1 เรื่องต่อปี เช่น ESD, Reliability test, Roughness & Roundness, etc.

เป้าหมาย 2 : เพิ่มและขยายการลงทุนด้าน R&D ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2554

แผนกลยุทธ์ :

 

  • สร้างโอกาสให้นักวิจัยของภาครัฐ ระดับป. เอก ไปร่วมงานกับภาคอุตสาหกรรม

แผนกิจกรรม :
1. ผลิตวิศวกรและช่างเทคนิค ที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีการผลิต/ผลิตภัณฑ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ได้ไม่น้อยกว่า 50 คนต่อปี และสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง เพื่อสนับสนุนงานวิจัยกระบวนการผลิตต่างๆ ในอุตสาหกรรมต้นน้ำจำนวน 100 คน ภายในปี 2554

2. จัดตั้งหน่วยวิจัยเฉพาะทาง (Research Unit) ด้าน Wafer Fabrication, HGSA etc. ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมฯ และผลักดันให้ศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทาง 3 ศูนย์ (Component, Data Storage, Advanced manufacturing) ดำเนินกิจกรรมสนับสนุนอุตสาหกรรมฯต่อเนื่อง

3. สร้างงานวิจัยพัฒนาพื้นฐาน (Basic Research) เพื่อเป็นฐานความรู้ทำให้สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมได้ สัดส่วนงบประมาณเพื่องานวิจัย Applied:Basic = 10:1

เป้าหมาย 3 : ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมจัดตั้งศูนย์วิศวกรรมการออกแบบกระบวนการผลิตที่มุ่งสู่การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมต้นน้ำของอุตสาหกรรมฯ เช่น การผลิตแผ่น    เวเฟอร์ (wafer fabrication), การผลิตแผ่นบันทึกข้อมูล (Media) เป็นต้น

แผนกลยุทธ์ :

 

  • พัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมด้านการผลิต การบริการและสนับสนุนการผลิต

แผนกิจกรรม :
ดำเนินโครงการเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับภาคอุตสาหกรรมว่าประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความสามารถในการดำเนินกิจกรรมวิจัยเทคโนโลยีต้นน้ำ โดยความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิต HDDรายใหญ่และสถาบันการศึกษา ส่งนักวิจัยภาครัฐระดับบัณฑิตศึกษาไปทำงานวิจัยร่วมอย่างน้อย 5 โครงการ

ผลผลิตและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ผลผลิต :

 

  • บริษัทที่ผ่านการส่งเสริมเข้าสู่อุตสาหกรรม HDD จำนวน 5 บริษัท ต่อปี
  • ต้นแบบระดับภาคสนามขึ้นไปจำนวน 10 ต้นแบบ ต่อปี
  • ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบด้าน Failure Analysis 1 ห้อง
  • ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบด้าน ESD 1 ห้อง
  • วิศวกรและช่างเทคนิคผ่านการอบรมจำนวน 3,000 คน (headcount) ต่อปี
  • บัณฑิต/วิศวกร จำนวน 50 คน ต่อปี
  • นักวิจัยไปรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศจำนวน  20 คน ต่อปี
  • RU จำนวน 1 แห่ง
  • โครงการวิจัยใหม่ภายใต้การดำเนินงานของ I/U CRC จำนวน 30 โครงการ ต่อปี
  • โครงการวิจัยพัฒนาพื้นฐานจำนวน 3 โครงการ ต่อปี
  • ศูนย์ออกแบบด้าน firmware 1 ศูนย์
  • ศูนย์ออกแบบด้าน magnetic head operation 1 ศูนย์

ผลกระทบ
ด้านเศรษฐกิจ :

  • เกิดการขยายการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมนี้อย่างน้อย 70,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมระดับต้นน้ำ
  • ทำให้การส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จากไทยไปสู่ตลาดโลกเพิ่มขึ้นเป็น 850,000 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวจากในปัจจุบัน
  • ผู้ประกอบการไทยเพิ่มยอดขายให้แก่อุตสาหกรรม HDD จำนวน 1% ของ Turn over ทั้งหมด

ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี :

 

  • ประเทศไทยมีองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีการวัด (Metrology)  เทคโนโลยีด้านแผ่นเก็บข้อมูล (Disk Storage Technology)  รวมไปถึงเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต (Process Technology)
  • Spill over effect ทางเทคโนโลยีไปสู่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม :

  • มีการจ้างงานในอุตสาหกรรมนี้ถึง 150,000 คน
  • แรงงานมีรายได้มากขึ้น เกิดความกินดีอยู่มากขึ้นและช่วยลดปัญหาทางสังคมหลายประการ
  • เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยลดปัญหามลภาวะ

ss 21 oct 2008 pic1

แนวทางการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  HDDI ได้เน้นการดำเนินงานในลักษณะการสร้างพันธมิตรและเครือข่ายความร่วมมือโดยได้มีการประสานงานกับภาคการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด  เช่นที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้ง Industry/University Cooperative Research Center (I/U CRC) หรือศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางไปแล้วจำนวน 3 ศูนย์ โดยมีหน้าที่หลักในการประสานงานเพื่อรับโจทย์จากภาคอุตสาหกรรม และประสานงานกับอาจารย์/นักวิจัย/มหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วประเทศ ในสาขาความชำนาญ เพื่อสร้างเครือข่าย  อีกทั้งศูนย์วิจัยร่วมฯ เหล่านี้ยังทำหน้าที่ช่วยเหลือในการพิจารณาและคัดเลือกผู้วิจัยเหมาะสมในการรับทุนการศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ  เพื่อสร้างบุคลากรที่มีทักษะ/ประสบการณ์การวิจัยด้านเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ป้อนให้กับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทย เป็นต้น

ปัจจุบัน HDDI ยังคงดำเนินโครงการ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมผลักดันให้ประเทศไทยคงความผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการในประเทศไทยให้สามารถก้าวเป็น Supplier ของกลุ่มบริษัทผู้ผลิต อันก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมฯ และมีศักยภาพการแข่งขันเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th


 

ข้อมูลจำเพาะของผู้เขียน

ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา

ss 21 oct 2008 DJ

 

 

ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี  การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูง และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนระดับปริญญาโทสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะ

 

 

 


 

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา