สมองคนไทย ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์
อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และิชิ้นส่วนในประเทศไทย มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาการด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติ หุ่นยนต์ เคมี แม่เหล็กไฟฟ้า ซอฟท์แวร์ และอื่นๆอีกมาก ปัจจุบัน อุตสาหกรรมนี้ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยอย่างมาก โดยมีสัดส่วนของปริมาณการผลิตรวมเป็นอันดับ ๑ ของโลก มีการจ้างแรงงานกว่า ๑๕๐,๐๐๐ คน และการส่งออกมากกว่า ๖ แสนล้านบาท แต่น่าเสียดายที่มูลค่าเพิ่มในไทยมีอยู่ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาบริษัทสายพันธ์ไทยที่มีเทคโนโลยีสูงพอในการทำงานกับบริษัทข้ามชาติ (Multinational Companies) ที่มาลงทุนในประเทศไทย Seagate, Hitachi Global Storage Technology (HGST), Western Digital (WD), และ Fujitsu เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบอุปกรณ์และเทคโนโลยีการผลิต (Process Technology) ที่สามารถรองรับการผลิตสำหร้บฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่มีขนาดเล็ก หรือที่มีความสามารถในการจุข้อมูลมากขึ้น นอกจากนี้ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่แข่งขันได้กับ จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลอย่างมากต่อการคงอยู่ของอุตสาหรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทย โจทย์บูรณาการที่สำคัญสำหรับประเทศไทยในขณะนี้ คือ รักษาฐานการผลิต-คิดสร้างมูลค่าเพิ่ม-เชื่อมโยงเศรษฐกิจโดยรวม ในบทความที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้ประมาณสามเดือนที่แล้ว ผมได้กล่าวถึง โครงการยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (ส่วนของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์) มีระยะเวลาดำเนินการ ๕ ปี (ปีงบประมาณรายจ่าย ๒๕๕๐-๒๕๕๔) งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ ๑,๓๖๐ ล้านบาท โดยภาคเอกชนในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และชิ้นส่วนจะร่วมดำเนินการอย่างใกล้ชิดและร่วมสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งด้วย วันนี้ผมขอกล่าวถึง การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เพื่อชักชวนให้บริษัทสายพันธ์ไทยเข้ามาร่วมขบวนการสร้างมูลค่าเพิ่ม ดังนี้ครับ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นคู่แข่งสำคัญของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์คือ หน่วยความจำแบบแฟลช (Flash memory) ได้พัฒนามาถึงจุดที่มีสมรรถนะใกล้เคียงกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์แต่ยังมีราคาสูงกว่ามาก ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศในงานสัมนาปลายปีที่แล้วจัดขึ้นโดยสถาบันฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDDI) ในสังกัด สวทช. ได้ย้ำว่า อนาคตของ Flash memory และ ฮาร์ดดิสก์จะมีขนาดเล็กลงและอยู่ร่วมกันกล่าวคือ Flash memory สำหรับ mobile application ขณะที่ฮาร์ดดิสก์ ทำหน้าที่เป็น Permanent storage การที่ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มี แนวโน้มที่จะถูกพัฒนาให้เล็กลง หรือสามารถเก็บข้อมูลให้ได้มากขึ้นนั้น จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีความแม่นยำมากขึ้น และเป็นเทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้น จากผลการศึกษาในรายงานโครงการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของประเทศไทย ในปี 2548 โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ระบุเทคโนโลยีหลัก ๔ ด้านที่จำเป็นและจะช่วยให้ไปสู่การผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญและการออกแบบในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขึ้นในประเทศไทย ได้แก่
1. เทคโนโลยีด้านเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Automation) ครอบคลุม ๕ กลุ่มย่อย ได้แก่
o Packaging
o Assembly
o Visual inspection
o Testing
o Logistical-purpose automation
2. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Electrostatic Discharge (ESD) ครอบคลุม ๔ กลุ่มย่อย ได้แก่
o Electrostatic discharge (ESD)
o Contamination
o Low ESD and contamination cleaning systems/processes
o Environmentally-friendly processes
3. เทคโนโลยีด้านการออกแบบและการจำลอง (Design and Simulation Software) ครอบคลุม ๙ กลุ่มย่อย ได้แก่
o หัวอ่าน เช่น การออกแบบหัวอ่าน การออกแบบ MEMs การวิเคราะห์จำลอง flying height
o มอเตอร์ เช่น การออกแบบ spindle motor
o Tribology เช่น การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน และการพัฒนาความสามารถด้าน FEM
o Coding เช่น test code สำหรับทดสอบระบบ การวิเคราะห์อัตราบิทผิดพลาด
o วงจรรวม (ICs) เช่น การออกแบบชิพสำหรับ read channel
o Media เช่น การวิเคราะห์สมรรถนะของมีเดียสำหรับ LMR และ PMR
o Clean room เช่น การวิเคราะห์การไหลเวียนของอากาศ การระบายอากาศ
o การจำลองกระบวนการต่าง ๆ
o Lego-type software สำหรับการออกแบบชิ้นส่วนและเครื่องจักร
4. เทคโนโลยีด้านวัสดุและการตรวจวัดความแม่นยำ (Materials and Metrology) ครอบคลุม ๓ กลุ่มย่อย ได้แก่
o การศึกษาคุณลักษณะและการตรวจวัดความแม่นยำ (characterization/ metrology) เช่น SEM TEM HRTEM Auger
o การพัฒนาวัสดุ เช่น การพัฒนาและคิดค้นวัสดุหัวอ่าน วัสดุแบบนาโน วัสดุที่ป้องกัน ESD และวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดสิ่งสกปรก
o ความทนทานของวัสดุ (failure analysis) เช่น การศึกษาเกี่ยวกับความผุกร่อนของวัสดุ สารเคมีที่ไม่ก่อให้เกิดความผุกร่อนของวัสดุและการวิเคราะห์ resonance
ทั้งนี้เทคโนโลยีในด้านที่ ๑ (Automation) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในขบวนการผลิตได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้วโดย เนคเทคและเอ็มเทค สวทช. ส่วนเทคโนโลยีที่เหลืออีก ๓ ด้านนั้นควรจะได้มีการดำเนินการเพิ่มเติม
ดังนั้นเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในเทคโนโลยีหลักทั้ง ๔ ด้านข้างต้น โครงการนี้ได้กำหนดแผนในการดำเนินการไว้ ดังนี้
1) การสนับสนุนด้านทุนวิจัยเพื่อให้เกิดงานวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ โดยรัฐให้การสนับสนุนบางส่วนร่วมกับการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม (matching fund) อีกประมาณร้อยละ ๓๐ เพื่อจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ำ และโครงสร้างพื้นฐานต่าง รวมไปถึงการเป็นแกนกลางในการเริ่มต้นจัดตั้งเครือข่ายการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน หน่วยวิจัยอิสระ และมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเพื่อไปสู่การผลิตในอุตสาหกรรมต้นน้ำ หรือการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยแยกออกเป็น ๔ ด้านได้แ่ก่
เทคโนโลยีด้านการออกแบบและการจำลอง (Design and Simulation Software)
เทคโนโลยีด้านวัสดุและการตรวจวัดความแม่นยำ (Materials and Metrology)
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Electrostatic Discharge (ESD)
เทคโนโลยีด้านเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Automation)
2) สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาร่วมกับภาคอุตสาหกรรมจัดตั้งศูนย์วิจัยเฉพาะทาง (Excellence Research Center) และส่งเสริมผลักดันให้เกิดศูนย์กลางการออกแบบ (Design Center) ขึ้นในประเทศไทย โดยจัดตั้ง ศูนย์วิจัยเฉพาะทางขึ้นมาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดดิสก์ให้ประเทศไทย ศูนย์วิจัยเฉพาะทางนี้จะเป็นการรวมผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องดังกล่าวให้มีที่ทำวิจัยและพัฒนา รวมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาต่อภาคอุตสาหกรรมในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเฉพาะทางนั้นๆ หน้าที่ที่สำคัญอันหนึ่งของศูนย์วิจัยเฉพาะทาง คือ การที่ศูนย์วิจัยเหล่านี้จะต้องดำเนินกิจกรรมในการผลักดันให้เกิดการจัดตั้งศูนย์กลางการออกแบบขึ้นในประเทศไทยโดยภาคเอกชนให้ได้ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยีให้อยู่ในประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป สถาบันฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDDI) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัย ๓ แห่งจัดตั้ง Excellence Centers ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ด้าน ESD and Contamination) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ด้าน SW and HDD Technology), สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ด้าน Advanced Manufacturing Automation) โดย Excellence Centers จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเครือข่ายนักวิจัย และศูนย์สำหรับรับปัญหาทางเทคโนโลยีจากอุตสาหกรรมในด้านที่ตนชำนาญเพื่อให้ความช่วยเหลือกับภาคอุตสาหกรรม และในอนาคตจะขยายงานเป็นศูนย์ฝึกอบรมขั้นสูง (Advanced Training Center) ในส่วนของฟีโบ้ได้สร้างเครื่อข่ายเพื่อผลักดันให้เกิดให้เกิดศูนย์ใหม่อีกสองแห่งภายใต้การการบริหารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Wafer Technology) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Component Designs)
บริษัทใดสนใจทำงานร่วมกับศูนย์ไหน เชิญติดต่อได้โดยตรงเลยครับ
ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
ข้อมูลจำเพาะของผู้เขียน
ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา
ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม ฟีโบ้ (FIBO) เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้าน