จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค

 logo robot brain

จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค
ของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศไทย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทยได้มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์และระดมสมองเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศไทยซึ่งเป็นการพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคทั้งภายในประเทศ และนอกประเทศ ที่มีผลกระทบต่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สามารถสรุปตามลำดับได้ดังนี้

ss 04 Oct. 09 13.38

 จุดแข็ง (Strength)
–  การพัฒนาบุคลากรในระดับ นักเรียน/นักศึกษามีความเข้มแข็ง มีนักเรียน/นักศึกษาจำนวนมากได้ผ่านการอบรม และการแข่งขันทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
– มีกิจกรรมสนับสนุนด้านวิทยาการหุ่นยนต์ที่หลากหลายเป็นจำนวนมาก
– มีคณะผู้เชี่ยวชาญและคณาจารย์ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เช่นทางด้านไฟฟ้า เครื่องกล คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ วัดคุมหรือเครื่องมือวัด เป็นต้น อยู่เป็นจำนวนเพียงพอ(Critical Mass)ต่อการพัฒนาเทคโนโลยี
– งานวิจัยในวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติระดับอุดมศึกษามีความหลากหลาย
– การพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมมีความเข้มแข็งในเรื่อง Low-cost Automation: PLC, Small-scale SCADA

จุดอ่อน (Weakness)
– ขาดองค์กรที่ให้การสนับสนุน ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ขาดความเชื่อมโยง การบริหารจัดการฐานข้อมูล และเป็นศูนย์กลางข้อมูล ระหว่างภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา/วิจัย ภาคธุรกิจขาดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลงานวิจัย ไม่มีกลไกที่บ่งบอกถึงความต้องการการใช้งาน และพัฒนาไปใช้ในเชิงพานิชย์
– ขาดความเชื่อมั่นของการนำผลงานวิจัยภายในประเทศไปใช้งานจริง
– ขาดแคลนการพัฒนาบุคลากรด้าน System Integrator
– ทิศทางความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพไม่ได้รับการกำหนดอย่างชัดเจนสำหรับบัณฑิตที่จบใหม่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนในสายอาชีพ เช่นไปเรียนต่อหรือทำงานในสาขาอื่นๆ
– ภาคอุตสาหกรรมขาดความรู้ในการปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ รวมทั้งขาดความเข้าใจในการเลือกรับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ทันสมัยให้เหมาะสมกับงาน ทำให้การผลิตยังคงมีต้นทุนที่สูง และผลิตภาพที่ต่ำ ยากต่อการแข่งขัน
– ขาดแคลนการสนับสนุนด้านทุนวิจัยที่ชัดเจนด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
– ผลงานทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นได้เอง  รวมทั้งผลงานที่เกิดขึ้นในกิจกรรมการแข่งขันต่างๆ ค่อนข้างล่าช้ายังไม่สามารถใช้งานได้จริง และไม่ทันกาลตามกำหนดเวลาที่ต้องการในอุตสาหกรรม
– คุณภาพของบัณฑิตจบใหม่ไม่ตรงตามความต้องการ มีความอดทนต่ำ พื้นฐานความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษที่จำกัด ทำให้การค้นหาความรู้เป็นไปได้ลำบาก นักเรียน/นักศึกษาขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
– ขาดความสามารถในการผลิตอุปกรณ์พื้นฐานในการสร้างวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
– ขาดแรงจูงใจในการพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขึ้นมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากภาษีนำเข้าชิ้นส่วนมีอัตราที่สูงกว่าภาษีการนำเข้าเครื่องจักร เป็นผลให้ชิ้นส่วนมีราคาแพง ทำให้ต้นทุนในการพัฒนาสูงกว่าการซื้อและนำเข้ามาทั้งระบบ
– จำนวนสถาบัน หลักสูตร บุคลากรและจำนวนผลงานวิจัยเฉพาะ ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติยังมีอยู่จำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ

ss 05 Oct. 09 13.38

โอกาส (Opportunity)
– ความสนใจของเยาวชนมีมากและขยายวงกว้างมากขึ้นในวิทยาการหุ่นยนต์จากจำนวนผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์
– ความต้องการใช้วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ขยายไปสู่ อุตสาหกรรมการเกษตร การแพทย์ และความปลอดภัย Biotechnology และอุตสาหกรรมชุมชน และความต้องการของการใช้เพื่อไปสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มที่เติบโตมากขึ้น
– มีอุตสาหกรรมการผลิตหลักที่ใช้วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอยู่  แล้วและสามารถขยายตัวสู่โซ่อุปทานในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ อาทิ อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
– ความต้องการด้าน High Precision Robots & Automations เพิ่มมากขึ้น
– ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เริ่มเล็งเห็นความสำคัญในการนำเอาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ การดำเนินนโยบายการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิต
– นโยบายการส่งเสริมการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนเพื่อทำให้มีบุคลากรภายในประเทศมีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีของประเทศนั้นๆ
– แนวโน้มความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในการส่งออกจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคตแสดงให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมจะต้องเป็นตัวจักรที่สำคัญในการผลักดันให้การส่งออกรวมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ การส่งออกสูง อาทิ สาขายานยนต์และชิ้นส่วน และสาขาอิเล็กทรอนิกส์

ss 06 Oct. 09 13.38

อุปสรรค (Threats)
– การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศภูมิภาคมีความแข็งแกร่ง และมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน เช่น  จีน เกาหลี เวียดนาม ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านการค้าและต้นทุนมากขึ้น เป็นผลกระทบต่อการค้าและอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย
– ไม่มีนโยบายจากทางภาครัฐอย่างจริงจังในการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
– การพัฒนาบุคลการ และผลตอบแทนสำหรับบัณฑิตที่จบการศึกษาระหว่างอาชีวศึกษา และอุดมศึกษามีความแตกต่างกันมาก
– การสูญเสียบุคลากรที่มีศักยภาพไปยังองค์กรอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ทำให้บุคลากรเหล่านั้นไม่มุ่งสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยอาจไปเรียนต่อสาขาอื่น เช่น สาขาการบริหารการจัดการ เป็นต้น

หลังจากการระดมสมองและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ได้มีการจัดหมวดหมู่และให้น้ำหนักเพื่อจัดลำดับความสำคัญจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อนำผลวิเคราะห์มาจัดทำแผนกลยุทธ์ และแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อสถานภาพของการพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งสามารถจัดหมวดหมู่ และลำดับได้ดังตารางที่ 1

 

จุดแข็ง
– การพัฒนาบุคลากรในระดับนักเรียน/นักศึกษามีความเข้มแข็ง มีนักเรียน/นักศึกษาจำนวนมากได้ผ่านการแข่งขันทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
– มีคณะผู้เชี่ยวชาญและคณาจารย์ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทางด้าน RA อยู่เป็นจำนวนมาก
– งานวิจัยในวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติระดับอุดมศึกษามีความหลากหลาย

จุดอ่อน
– ขาดความเชื่อมโยง/ศูนย์กลางข้อมูลระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา/วิจัย และภาคเอกชน
– จำนวนสถาบัน หลักสูตร บุคลากรและจำนวนผลงานวิจัยเฉพาะทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติยังมีอยู่จำนวนน้อยมาก
– ขาดแคลนการสนับสนุนทุนวิจัยที่ชัดเจนเฉพาะด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
– คุณภาพของบัณฑิตจบใหม่ไม่ตรงตามความต้องการ และขาดแคลนการพัฒนาบุคลากรด้าน System Integrator
– ไม่สามารถทำชิ้นส่วนหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติได้เองโดยบริษัทในประเทศ

โอกาส
– ความสนใจของเยาวชนมีมากและขยายวงกว้างมากขึ้นในวิทยาการหุ่นยนต์
– ความต้องการใช้วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขยายไปสู่อุตสาหกรรมการเกษตร การแพทย์ และความปลอดภัย Bio-technology และอุตสาหกรรมชุมชน และความต้องการของการใช้เพื่อไปสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มที่เติบโตมากขึ้น
– มีอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอยู่แล้วและสามารถขยายตัวสู่ห่วงโซ่อุปทานในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ อาทิ อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
– ความต้องการด้าน High Precision ของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น

อุปสรรค
– การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศภูมิภาค เช่น จีน เกาหลี เวียดนาม ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านการค้าและต้นทุนมากขึ้น
– ไม่มีนโยบายจากทางภาครัฐอย่างจริงจังในการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
– การสูญเสียบุคลากรที่มีศักยภาพไปยังองค์กรอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติทำให้บุคลากรเหล่านั้นไม่มุ่งสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยอาจไปเรียนต่อสาขาอื่น เช่น สาขาการบริหารการจัดการ เป็นต้น
– ภาษีนำเข้าชิ้นส่วนสูงกว่าภาษีการนำเข้าเครื่องจักร
– ขาดความเชื่อมั่นในการใช้ผลงานวิจัยผลิตเองในประเทศและขาดความเข้าใจในการเลือกเทคโนโลยีมาใช้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า

ที่มา : จากการประชุมระดมสมองโครงการศึกษายุทธศาสตร์หุ่นยนต์ไทย

บทสรุป
จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ  ของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากความต้องการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่เพิ่มมากขึ้นของภาคอุตสาหกรรมในโลกซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมากที่สุดได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เช่น อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ ซึ่งนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของประเทศไทย

นอกจากนี้ความรู้ในด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น การประยุกต์ใช้ทางด้านการแพทย์ซึ่งปัจจุบันได้มีการทำวิจัยในด้านนี้และเริ่มมีการนำไปประยุกต์ใช้แล้วในบางส่วน แต่การประยุกต์ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพชีวิตภายในประเทศนั้นยังไม่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและการวิจัยกับผู้ที่ต้องการใช้งาน อีกทั้งยังขาดสถาบันต้นแบบที่มีความพร้อมทางด้านหลักสูตร เครื่องมือ สถานที่ ทุนวิจัยและบุคลากรเพื่อสนับสนุนการสร้างผลงานวิจัยทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อนำไปใช้จริง อีกเหตุผลหนึ่งที่ยังไม่มีการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกันอย่างแพร่หลายเนื่องมาจากภาษีการนำเข้าชิ้นส่วนในการสร้างหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสูงกว่าภาษีการนำเข้าเครื่องจักร ดังนั้นรัฐบาลไทยควรจะมีนโยบายการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

 

 

ข้อมูลจำเพาะของผู้เขียน

ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา

djitt2

ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้าน


Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา