ความรู้สึกตัวของหุ่นยนต์ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

ความรู้สึกตัวของหุ่นยนต์

logo robot brain

ความรู้สึกตัวของหุ่นยนต์

ชีวิตมนุษย์นั้นมีพื้นฐานจากอนุมูลไฮโดรคาร์บอนที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดนั้นสร้างออกมาในรูปของเซล อันประกอบไปด้วยเมมเบรนล้อมรอบของเหลวออกานิคและมีนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง นิวเคลียสนี่เองที่บรรจุ “ข้อมูลและความชาญฉลาด” ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆของเซล รวมทั้งการผลิตเซลตัวใหม่ (Cell Reproduction)  ในขณะที่ “ชีวิตซิลิกอน” ของคอมพิวเตอร์ ถูกผลิตขึ้นมาในรูปแบบที่ต่างจาก “ชีวิตคาร์บอน” ของมนุษย์ ไม่มีส่วนใดที่บ่งชี้ความฉลาดเช่นเดียวกับในนิวเคลียสของเซลมนุษย์  คอมพิวเตอร์มีพื้นฐานจากทรานซิสเตอร์(Transistor) ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใน ปี พ.ศ. 2491 ทรานซิสเตอร์ทำเป็นอยู่อย่างเดียวคือ “ปิด-เปิด” กระแสไฟฟ้า ไม่เกี่ยวข้องกับเมตาโบลิซึ่ม (Metabolism)ใดๆไม่ผลิตสารเคมีและไม่สามารถสร้างลูกทรานซิสเตอร์ขึ้นมาด้วยตัวของมันเอง

pic 01 mar. 03

อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่ายังมีความคล้ายคลึงกันบ้างระหว่าง “สมองคน” และ “สมองกลอัจฉริยะ” หากเราพิจารณาคลื่นสมอง(Brain Wave)ของมนุษย์ที่วัดเทียบกันแกนเวลาจะพบว่าวิ่งด้วยขนาด(Amplitude)และความถี่(Frequency)ต่างๆกัน  สาขาวิทยาการหุ่นยนต์ได้ใช้ประโยชน์จากลักษณะของคลื่นสมอง Electroencephalography(EEG)  ไปทำการควบคุมอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์หรือแม้กระทั่งกลไกหุ่นยนต์ที่ยังอยู่ในขั้นทดลองในห้องปฏิบัติการ  ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมได้กล่าวถึงไปบ้างแล้วก่อนหน้านี้ แต่ประเด็นวันนี้ผมขอแลกเปลี่ยนเรื่องที่ยังอยู่ใน จินตนาการของผม ที่ผมมั่นใจว่าภายในเวลา 10-20 ปี จะถูกพัฒนาขึ้นในหุ่นยนต์แห่งอนาคตนั่นคือ ความรู้สึกตัวของหุ่นยนต์ (Robot Consciousness)

pic 02 mar. 03

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า สมองของเราประกอบด้วยเส้นใยสมองที่เรียกว่านิวโรนมากมายและมีกระแสไฟฟ้าน้อยๆที่วิ่งไปมาระหว่างระหว่างประจุบวกและลบบนนิวโรนเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับขบวนความคิดและความรู้สึกตัวของเรา  ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดรู้จริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและคุณภาพของข้อมูลต่อปริมาณกระแสไฟฟ้าเหล่านี้ แต่สำหรับบุคคลที่มีสมาธิดีนั้นจักสามารถจัดกระบวนการคิดได้เป็นเรื่องเป็นราว จนผลรวมของกระแสไฟฟ้าดังกล่าวจะมีความชัดเจนส่งผลให้สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นมีความเข้มขึ้นตามกันไป ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากคลื่นสมองจึงต้องมีการฝึกให้ผู้ใช้งานรู้จักขบวนการสร้างกิจกรรมจากความนึกคิดของตน  มีผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าคลื่นสมองเหล่านี้นี้แหละที่ทำให้มนุษย์เราเกิด ความรู้สึกตัว (Consciousness) นั่นเอง

pic 03 mar. 03

ในโลกของปัญญาประดิษฐ์ กลไกการตีความ (Cognition) เช่น นิวโรฟัสซี่ (Neuro-Fuzzy)ทำงานโดยอาศัย บิทค่าศุนย์และหนึ่งของข้อมูล ผลลัพท์การตีความก็เกิดจากผลรวม ของค่าเหล่านี้ในแต่ละโหนด ที่ผ่านมาเราใช้ผลลัพท์เหล่านี้มาควบคุมมอเตอร์หรือตัวขับเคลื่อนอื่นๆ เราก็สามารถใช้กลไกนี้ทำให้หุ่นยนต์รู้สึกตัวได้เช่นกันเพียงแต่ว่า ชุดข้อมูล (Input Arrays) นั้นต่างกัน  เมื่อหุ่นยนต์รู้สึกตัวได้แล้วจึงจะพัฒนาไปถึง ความรู้สึก(Feeling) และอารมณ์(Emotion)ได้ ในทางทฤษฎี เราสามารถพัฒนาสมรรถนะการคิดของคอมพิวเตอร์ให้ใกล้เคียงกับมนุษย์ได้ สมองมนุษย์นั้นมีเซลนิวรอนประมาณ 1010 นิวรอนเหล่านี้สามารถสถานะ ปิด-เปิด: หนึ่งบิท ได้ด้วยความถี่ 1,000 ครั้งต่อวินาทีหรือเฮริตส์ ดังนั้นถ้าทุกนิรอนทำงานพร้อมด้วยความถี่สูงสุดนี้ กำลังการคำนวณรวมคือ 1013 สถานะต่อวินาที  เมื่อเปรียบเทียบกับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดย่อมๆมี ทรานซิสเตอร์อยู่ประมาณ 109 ตัว เปลี่ยนสถานะปิด-เปิดได้เร็วกว่านิวรอน 106 เท่า ซึ่งก็คือ 109 เฮริตส์นั่นเอง นั่นคือความเร็วรวมทั้งระบบสูงถึง 1018  เฮริตส์ ซึ่งสูงกว่าสมองมนุษย์ ถึง 105 หรือ แสนเท่า ภาษาทางเทคนิคเราเรียกว่า Five Orders of Magnitude ถือว่าแตกต่างกันมาก อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์ที่ผมกล่าวถึงนี้ไม่สามารถแสดงพลังสมรรถนะทั้งมวลนี้ออกมาได้ เพราะการทำงานของคอมพิวเตอร์ถูกออกแบบมาทำงานในลักษณะอนุกรม:มิได้ทำงานหลายๆชิ้นพร้อมกัน มีเพียง 1% ของ ทรานซิสเตอร์เท่านั้นทำงานในขณะใดขณะหนึ่ง  ระยะหลังๆจึงมีการศึกษาโปรแกรมด้านการคำนวณเชิงขนาน (Parallel Computing) เพื่อแก้ไขจุดอ่อนนี้ แต่สมรรถนะยังไม่ใกล้เคียงสมองมนุษย์เลยที่สามารถควบคุมการทำงานส่วนต่างๆของร่างกายให้เป็นไปอย่างถูกต้องพร้อมๆกัน  อย่างไรก็ตามเรื่องคิดนั้นสมองคนเราคิดได้ที่ละเรื่อง แต่บางท่านสามารถสลับความคิดไป-มาได้รวดเร็วมาก เป็นไปในลักษณะ “ฟุ้งซ่าน”จนสร้างทุกข์จากความคิดของตนนั่นแหละครับ หาก DNA เป็นกรรมเก่าที่มากำหนด Consciousness ของมนุษย์ Coding ต่างๆที่เรากำลังใส่เข้าไปเพื่อทำให้หุ่นยนต์มีความรู้สึกตัวขึ้นมาได้เองควรมีพื้นฐานที่ดี

ที่ผมห่วงมากก็คือ กรรมเลวของมนุษย์ผู้สร้างหุ่นยนต์จะถูก code เข้าไปในสมองหุ่นยนต์โดยขาดการยั้งคิดถึงผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้น

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th


ข้อมูลจำเพาะของผู้เขียน

ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา

SS 25 02 2009 Pic 3

ภายหลังจบการศึกษา ดร.ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูงและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ ดร.ชิต ยังผู้รับผิดชอบโครงการ Hard Disk Cluster ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในการประสานงานนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆกับ มืออาชีพจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์เพื่องานวิจัยและพัฒนา การอบรมบุคลากรตลอดจนการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานจนเกิดบริษัทคนไทยที่มีความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีสามารถทำธุรกิจร่วมกับบริษัทข้ามชาติได้

Dr. Laowattana’s research interest is primarily in fundamental areas of robotic dexterity, design for manufacturing / assembly of high precision systems. He was awarded an honor with his B.Eng. from King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT). Under the Monbusho Program, he received a certificate in Precision Mechanics and Robotics at Kyoto University. He subsequently obtained his PhD. in 1994 from Carnegie Mellon University, USA under financial support from the Fulbright Fellowship Program and the AT&T Advanced Research Program. In 1996, he also received a certificate in Management of Technology from Massachusetts Institute of Technology USA. He holds two US patents for robotic devices.  He is the founding director of the Institute of Field Robotics Development (FIBO) and the first President of Thai Robotics Society.   He served as an executive board member of TOT, the largest telecom public company. Presently, he is director of Hard disk Cluster Program at National Science and Technology Development Agency (NSTDA).  His responsibility is to strengthen hard disk industry in Thailand by formulating critical collaborative networks among professionals from national universities/laboratories and multi-national companies in the areas of R&D, HRD and Supply Chain Development

 

 

 


Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา