ประตูน้ำอัตโนมัติ โครงการแก้มลิงอเนกประสงค์ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

ประตูน้ำอัตโนมัติ โครงการแก้มลิงอเนกประสงค์

logo robot brain


ประตูน้ำอัตโนมัติ

โครงการแก้มลิงอเนกประสงค์
article156-1

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวพระราชดำริแก่ นายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการ และ นายรอยล จิตรดอน กรรมการและเลขานุการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการเข้าเฝ้า ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 พระองค์ท่านได้ทรงปรารภว่าที่ผ่านมายังไม่ได้มีการแก้ไขในการปฎิบัติงาน ซึ่งจำเป็นต้องมีการบันทึกข้อมูลสภาพภูมิอากาศของปีที่ผ่านมา นำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลปัจจุบัน รวมไปถึงการคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจปฏิบัติงาน เช่น การปล่อยน้ำ การรักษาระดับน้ำ การกักเก็บ เป็นต้น ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ชัดเจนที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ กระแสลมจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำให้เกิดฝนที่แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้นการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ จะบรรลุผลได้ ต้องมีการใช้ข้อมูลและการคาดการณ์ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนการทำงานตามสภาพข้อเท็จจริง article156-2

แนวพระราชดำริในการใช้แก้มลิงเพื่อแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองมหาชัย นอกเหนือจากการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่มีมากว่า 10 ปีแล้ว คลองมหาชัยเป็นคลองเชื่อมคลองบางกอกน้อยกับจังหวัดสมุทรสาคร และมีคลองซอยเชื่อมออกทะเลอยู่มาก แต่น้ำที่ไหลมาจากคลองบางกอกน้อยมาปะทะกับน้ำเค็มที่หนุนขึ้นมาทางจังหวัดสมุทรสาคร ทำให้น้ำนิ่งไม่ไหล น้ำบริเวณนี้จึงเน่าเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงร่างสิ่งที่เรียกว่า Thematic Map เพื่อใช้อธิบายความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการ และได้กำหนดจุดที่จะทำประตูน้ำและพื้นที่แก้มลิงโดยประมาณขึ้นมา และเมื่อน้ำทะเลหนุน ให้หรี่บานประตูน้ำลง และนำน้ำจืดที่หลากลงมา มาเก็บไว้ในแก้มลิง เมื่อน้ำทะเลหนุนขึ้นสูงจนระดับผิวน้ำต่างกันประมาณ 50 เซนติเมตรจะเกิดแรงดันน้ำ (Pressure Head) เมื่อน้ำทะเลลงแรงดันดังกล่าวก็จะทำหน้าที่เหมือนลูกสูบรถยนต์สูบเอาน้ำที่ไหลจากคลองบางกอกน้อยไปด้วย หากดำเนินการอย่างนี้น้ำก็จะไหลเวียนพาสิ่งสกปรกที่ตกตะกอนไปด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งใarticle156-3ห้สำรวจทำแผนที่ เพื่อกำหนดพื้นที่แก้มลิงตามหลัก ข้างต้น โดยให้เลือกบริเวณน้ำขัง ที่ปัจจุบันน้ำเน่าเสียแล้ว ทำการเกษตรไม่ได้ มาใช้ทำแก้มลิง ทำเป็นแหล่งบำบัดน้ำเสียแบบเดียวกับที่แหลมผักเบี้ย เมื่อทำเสร็จน้ำดีขึ้น ใช้ทำการเกษตรได้ ราษฎรก็จะได้มีรายได้ มีผลตอบแทน มีอาชีพกลับมา แต่ต้องบริหารระดับน้ำให้ดี อย่างระมัดระวัง มีการบันทึกข้อมูลโดยตลอด หากทำสำเร็จก็ให้พิจารณาเชื่อมต่อทางทิศตะวันตกไปถึงจังหวัดสมุทรสงคราม ทางทิศตะวันออกก็ขยายต่อมาที่บางขุนเทียน บางกระเจ้า สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ให้เป็นชุดเป็นกลุ่ม เหมือนกับโครงการในพระราชดำริที่จังหวัดนราธิวาส และได้ทรงย้ำว่าในการทำโครงการนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือ การรวบรวมข้อมูล จัดทำแผนที่ จัดทำ Thematic Map จนถึงสรุปความคิดรวบยอด (Concept) ให้ได้ ก็จะได้โครงงานที่จะใช้ดำเนินงานพัฒนา ประตูระบายน้ำที่กรมชลประทานได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในบริเวณพื้นที่ศึกษามี 6 แห่ง ตั้งอยู่ในคลองสายต่างๆ ประกอบด้วยคลองมหาชัย คลองหลวง คลองสหกรณ์สาย 3 คลองเจ๊ก คลองโคกขาม และคลองโคกขามเก่า ซึ่งปัจจุบันยังขาดอุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อการบริหารบานประตูระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง

article156-4

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รัarticle156-5บมอบหมายให้เข้าถวายงานออกแบบและดำเนินการติดตั้ง ระบบควบคุมการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำแบบอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถควบคุมได้จากระยะไกล หรือทำงานภายใต้เงื่อนไขได้อย่างอัตโนมัติ โดยระบบควบคุมจะรอรับคำสั่งระยะความสูงของการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำจากส่วนกลางโดยผ่านทาง modem จากนั้นระบบควบคุมทำการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำให้ได้ตามระยะความสูงที่ต้องการ ตรวจวัดระยะยกบานระบายน้ำด้วยแสงเลเซอร์ แล้วส่งสัญญาณแจ้งกลับไปยังส่วนกลาง เพื่อให้ทราบถึงสถานะของการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ

โครงการ “แก้มลิงอเนกประสงค์ คลองสนามชัย-มหาชัย กรุงเทพมหานคร-สมุทรสาคร” นี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก มูลนิธิชัยพัฒนา ผลดีที่ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คาดว่าจะได้รับคือ

1) ระบบแก้มลิงสำหรับเสริมระบบการไหลเวียนของน้ำ
– Thematic Map แสดงตำแหน่งประตูน้ำ สภาพการไหลของน้ำ และข้อมูลประกอบ
– แบบจำลอง และหุ่นจำลอง แสดงสภาพการไหลของน้ำที่จำลองเหตุกรณีต่างๆ
– ต้นแบบระบบควบคุมการปิด-เปิดประตูระบายน้ำจากระยะไกล
2) ระบบบริหารน้ำ
– แนวทางบริหารน้ำเพื่อเสริมการไหลเวียน
– ตารางการบริหารน้ำสำหรับโครงสร้างหลัก และโครงสร้างรอง
3) ร่วมบริหารน้ำ
– รัฐ เอกชน ชุมชน ร่วมมือในการบริหารน้ำ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
– การดูแล บำรุงรักษาสภาพแนวคลอง และอนุรักษ์ป่าชายเลน และพื้นที่ชุ่มน้ำ
– ขยายผล พื้นที่ และชุมชนที่ร่วมดำเนินการ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา