ทุนการศึกษาฮาร์ดดิสค์ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

ทุนการศึกษาฮาร์ดดิสค์

logo robot brain

ทุนการศึกษาฮาร์ดดิสค์

การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทั้งที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม และการเตรียมความพร้อมบุคลากรในสถาบันการศึกษา เป็นหนี่งยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับอุตสาหกรรม ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ภาคเอกชนโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมผู้ใช้เทคโนโลยี รวมทั้งการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
อาศัยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆซึ่งมีความแข็งแกร่งด้านวิชาการ มีความพร้อมของทีมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและมีนักศึกษาที่พร้อมจะพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผนึกกำลังทางวิชาการร่วมกัน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งเป็นเจ้าภาพการดำเนินงาน HDD Cluster มีความร่วมมือกับทั้งภาคอุตสาหกรรม และ หน่วยงานต่างๆภายในสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งพร้อมที่จะร่วมมือในงานวิจัยและพัฒนา เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีความพร้อมของบุคลากร และเพียงพอต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จึงได้ดำเนินงานโครงการทุนสนับสนุนบัณฑิตสำหรับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ซึ่งรวมถึงบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ และงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ให้เพียงพอต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง สวทช. สถาบันการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ รวมถึงภาคเอกชน

เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น
กลไกหลักในการดำเนินงานมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในโครงงาน และการวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมโดยอาศัยความเชี่ยวชาญของทั้งนักวิจัยจากภาคอุตสาหกรรม เนคเทค หน่วยงานภายใต้สวทช. รวมถึงคณาจารย์จากสถาบัน (คณะวิศวกรรมศาสตร์)ต่างๆ โดยศูนย์ฯเป็นผู้ให้การสนับสนุนเงินทุนสำหรับนักศึกษา พร้อมเป็นกลไกเสริมสร้างการพัฒนาบัณฑิตและงานวิจัยที่มีคุณภาพให้บรรลุเป้าหมายด้วย

วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตและงานวิจัยคุณภาพ ในสาขาและเทคโนโลยีด้านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
2. กระตุ้นให้เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเนคเทค หน่วยงานภายใต้สวทช. และสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภาคการผลิตและอุตสาหกรรม ในการผลิตผลงาน โครงงาน งานวิจัย และพัฒนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคโนโลยีระหว่างหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ อันจะนำไปสู่การผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเทคโนโลยีเป้าหมายที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
3. เพิ่มศักยภาพในการผลิตผลงานวิจัยให้แก่อาจารย์ของสถาบัน (คณะวิศวกรรมศาสตร์) และนักวิจัยของหน่วยงานภายใต้ สวทช. และให้โอกาสแก่นักศึกษาในการเข้าร่วมโครงการ ด้วยการมีบุคลากรที่มีศักยภาพสูงจากทุกฝ่าย รวมถึงภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วม

ลักษณะของทุน
เนคเทคสนับสนุนทุนการศึกษาผ่านศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทาง 3 ศูนย์ คือ
1.  ศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางด้านการผลิตขั้นสูงในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ( I/UCRC in HDD Advanced Manufacturing )  โดย สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2.  ศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางด้านส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ( I/UCRC in HDD Component ) โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3.  ศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลและการประยุกต์ใช้ ( I/UCRC in Data Storage Technology and Application ) โดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
โดยส่งเสริม และจูงใจให้นักศึกษามุ่งเน้นการศึกษาและทำการวิจัยด้าน ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ อีกทั้งให้เกิดความร่วมมือของภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และเนคเทค โดยมีสถาบันเป็นผู้บริหารและจัดการทุนให้กับนักศึกษา ให้มีการเรียนการสอน การทำวิจัย การทำโครงการ และมอบทุนให้กับนักศึกษา

ก. ทุนผึกงาน และสหกิจศึกษาระดับปริญญาตรี
ทุนละ 10,000 บาทต่อคน  (พิจารณาโดยคณะกรรมการ I/U CRC ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานวิจัย)

ดัชนีชี้วัดผลงาน (ระดับปริญญาตรี)
• โครงงานหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
• นักศึกษาผ่านการฝึกงาน หรือสหกิจศึกษากับภาคอุตสาหกรรมด้าน ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์

ข. ทุนโครงการวิจัยระดับปริญญาโท
ทุนละ 500,000 บาทต่อคน ระยะเวลา 2 ปี  (พิจารณาโดยคณะกรรมการ I/U CRC ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานวิจัย)

เงื่อนไข ( ระดับปริญญาโท)
หัวหน้าโครงการ ( อาจารย์ที่ปรึกษา )  ต้องจัดทำการชี้แจงให้กับนักศึกษาทราบและติดตามผล โดยอาจารย์ที่ปรึกษา ส่งรายงานให้กับทาง I/U CRC  ตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้

1. นักศึกษาจะต้องมีหัวข้อเรื่องโครงงานหรืองานวิจัยที่ผ่านความเห็นชอบจากอุตสาหกรรมด้านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (โดยมีหนังสือรับรองจากภาคอุตสาหกรรม)
2. สถาบันตันสังกัด ( ของหัวหน้าโครงการ ) จะต้องเพิ่มรายวิชาเลือกบังคับที่เป็นที่ยอมรับจากภาคอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์หรือ Data Storage อย่างน้อย 2 รายวิชาต่อหลักสูตรและนักศึกษาทุกคนจะต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้อย่างน้อย 1 รายวิชา

ดัชนีชี้วัดผลงาน (ระดับปริญญาโท)
1. นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
2. โครงงานวิจัยสำเร็จ
3. ผู้ดำเนินงานโครงงานวิจัยจะต้องมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร ( ทั้งในหรือต่างประเทศ ) ที่มีผู้ประเมิน  ที่เป็นที่ยอมรับได้ภายใน 2 ปีการศึกษา
4. ต้องมีการนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ที่เป็นที่ยอมรับได้ภายใน 2 ปีการศึกษา

ค. ทุนโครงการวิจัยระดับปริญญาเอก
ทุนละ 1,500,000 บาทต่อคน ระยะเวลา 3 ปี  (พิจารณาโดยคณะกรรมการ I/U CRC ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานวิจัย)

เงื่อนไข ( ระดับปริญญาเอก)
หัวหน้าโครงการ ( อาจารย์ที่ปรึกษา )  ต้องจัดทำการชี้แจงให้กับนักศึกษาทราบและติดตามผล โดยอาจารย์ที่ปรึกษา ส่งราroยงานให้กับทาง I/U CRC  ตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
1. นักศึกษาโครงการวิจัยจะต้องมีหัวข้อเรื่องโครงงานหรืองานวิจัยที่ผ่านความเห็นชอบจากอุตสาหกรรมด้านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (โดยมีหนังสือรับรองจากภาคอุตสาหกรรม)
2. สถาบันตันสังกัด ( ของหัวหน้าโครงการ ) จะต้องเพิ่มรายวิชาเลือกบังคับที่เป็นที่ยอมรับจากภาคอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์หรือ Data Storage อย่างน้อย 2 รายวิชาต่อหลักสูตรและนักศึกษาทุกคนจะต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้อย่างน้อย 1 รายวิชา

ดัชนีชี้วัดผลงาน (ระดับปริญญาเอก)
1. นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
2. โครงงานวิจัยสำเร็จ
3. ผู้ดำเนินงานโครงงานวิจัยจะต้องมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ที่มีผู้ประเมิน  ที่เป็นที่ยอมรับได้ภายใน 3 ปีการศึกษา (1 Journal ที่มี impact factor )

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

——————————————————————————————

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา