ป้องกันอาคารจากภัยอาวุธสารเคมี ชีวภาพและกัมมันตภาพรังสี
(CBT: Chemical, Biological and Radiological Treat)
การออกแบบและก่อสร้างอาคารในปัจจุบันต้องสามารถรองรับความเสี่ยงต่อภัยหลายอย่าง เช่น การวางระเบิด, อาวุธที่ยิงจากระยะไกล, การวางเพลิง, ตลอดจนอาวุธเคมี ชีวภาพและกัมมันตภาพรังสี โดยปกติแล้วไม่มีสูตรสำเร็จที่จะประมาณระดับความเสี่ยงของอาคาร เจ้าของอาคารต้องตัดสินใจเองในเรื่องการลดความเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น
ระหว่างการออกแบบวิศวกรจำเป็นต้องคำนึงประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
– การออกแบบระบบ HVAC ที่ดีจะช่วยลดภัยที่เกิดจากอาวุธเคมี ชีวภาพและกัมมันตภาพรังสีได้
o ระบบการไหลเวียนอากาศในอาคารต้องช่วยลดการกระจายของสารเคมี ชีวภาพและกัมมันตภาพรังสี
o ควรมีระบบปิดการไหลเวียนอากาศฉุกเฉินในกรณีที่ตรวจจับได้ว่ามีสารปนเปื้อนจากการก่อการร้ายเข้ามาในตัวอาคาร
– การแจ้งเตือนที่รวดเร็ว พร้อมทั้งมีป้ายคำสั่งให้ทำตาม ในกรณีเกิดเหตุ สามารถลดความเสียหายได้มาก
– ระบบความปลอดภัยต้องยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนในอนาคต เนื่องจากรูปแบบภัยก่อการร้ายเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
– การกำหนดนโยบายและวิธีการรักษาความปลอดภัยของอาคารที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดความเสี่ยงและการสูญเสียจากภัยก่อการร้ายได้ (เช่น มาตรการการเข้าถึงบางพื้นที่ มาตรการรับมือกับพัสดุแปลกปลอม เป็นต้น)
– เพิ่มประสิทธิภาพของระบบดับเพลิง เนื่องจากเพลิงไหม้ที่มีสาเหตุมาจากการก่อการร้ายมักมีความรุนแรงมากกว่าที่เกิดจากแบบอื่นๆ สารดับเพลิงเช่น FM 200 และ Halogen ที่นิยมใช้กันในอาคารทั่วๆไปคงไม่เพียงพอครับ
–
– ควรมีการ Training ที่เกี่ยวข้องกับภัยก่อการร้าย เพื่อให้ความรู้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
– ป้องกันการเข้าถึงพื้นที่สำคัญของอาคารด้วยการกำหนด Access Control Point ไว้อย่างเคร่งครัด
มาตรการทั่วไป
โดยปกติแล้วระบบ HVAC มักเป็นเป้าหมายโจมตีของ CBT เนื่องจากสารเหล่านี้ใช้หลักการแพร่กระจายไปตามทางเดินอากาศ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่
– เบื้องต้น คือ ทำความเข้าใจการทำงานของระบบทั้งหมดภายในอาคาร เพื่อที่จะหาจุดอ่อนของระบบ
– สิ่งที่ไม่ควรทำ
o ห้ามปิดช่องระบายอากาศถาวร เนื่องจะจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศภายในอาคาร
o ห้ามแก้ไขระบบ HVAC หากยังไม่เข้าใจหน้าที่และการทำงานของมัน
o ห้ามรบกวนกับระบบอื่นๆ เช่น ระบบดับเพลิงและช่วยชีวิต เนื่องจากระบบเหล่านี้ใช้มาตรการที่ต่างจากภัย CBT
– ทำการป้องกันทางกายภาพ
o ป้องกันการเข้าถึงของระบบระบายอากาศและระบบทางกลต่างๆ ของอาคาร เช่น วางช่องระบายอากาศที่ต่อถึงภายนอกไว้บริเวณที่เข้าถึงได้ยาก เช่น ชั้นสูงของอาคาร กระจายห้องควบคุมงานระบบไว้หลายแห่ง (Decentralized control room) รวมถึงใช้ระบบ Lock ประตูอัตโนมัติในการเข้าถึงห้องเหล่านี้
o ห้องที่ผู้คนเข้า-ออกบ่อย เช่น Lobby, ห้องรับส่งจดหมาย-พัสดุ, ห้องเก็บสินค้า เป็นต้น ควรแยกห่างออกจากห้องที่สำคัญๆ ของอาคาร
o ข้อมูลและงานแบบของระบบอาคารควรถูกควบคุมการทำสำเนาอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้ข้อมูลเหล่านี้ตกไปถึงมือผู้ก่อการร้าย
– ทำการบำรุงรักษาและฝึกบุคลากรที่เกี่ยวกับระบบ HVAC อย่างต่อเนื่อง รวมถึงวางแผนป้องกันเตรียมพร้อมไว้
เทคโนโลยีตัวอย่าง ด้าน BAS: Building Automation System
– เชื่อมต่อระบบเตือนภัยกับระบบ HVAC เช่น ในขณะที่มีการเตือนภัยว่ามีการปล่อยสารเคมีเข้ามาในตัวอาคาร ระบบระบายอากาศจะหยุดทำงานกระทันหันเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมี อย่างไรก็ตาม ระบบนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีการพัฒนา Sensor ตรวจจับ Gas หรือสารเคมี ในทางการค้ามากขึ้น
– ระบบกรองอากาศที่สามารถกรองอนุภาคที่มาจาก CBT ได้
– การออกแบบการไหลเวียนอากาศภายในอาคารที่มีประสิทธิภาพ เช่น การบังคับการไหลเวียนอากาศเป็นหลายเส้นทางย่อย (เข้าตัวอาคาร-ออกจากอาคาร หลายๆแห่ง) เพื่อป้องกันการแพร่ของ CBT ไปรอบอาคารในคราวเดียว
– ออกแบบการ Response ที่รวดเร็วเมื่อปิดระบบ HVAC โดยการใส่ Damper เข้าไป เนื่องจากโดยปกติแล้วเมื่อระบบการไหลเวียนอากาศหยุดทำงานนั้น ความดันในตัวอาคารยังคงน้อยกว่าความดันนอกอาคาร ดังนั้น อากาศส่วนหนึ่งยังคงไหลเข้ามา ซึ่งถ้าหากมีการปล่อยสารจาก CBT สารเหล่านี้ยังคงแพร่ไปทั่วอาคารได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
– ระบบควบคุมความดันในตัวอาคารเพื่อป้องกันการ Leak ของอากาศที่ไม่ได้ตั้งใจไว้ ซึ่งหากมีการ Leak ที่ว่านี้อาจมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายระดับใหญ่ (เช่น การปล่อยสารเคมีทั่วเมือง) โดยสารเคมีจากภายนอกอาคารอาจ Leak เข้าข้างในได้
ระบบรักษาความปลอดภัยภายนอก
– ทางเข้า-ออกอาคารทุกทางควรกำหนดระดับการเข้าถึงไว้ เช่น ทางเข้าด้านหลังให้ใช้ได้แต่พนักงานในอาคาร
– แสงไฟรอบอาคารควรเพียงพอที่จะเห็นสิ่งผิดปกติภายนอกอาคารได้
– ระบบสัญญาณเตือนต่างๆ ควรเป็นไปตามข้อบังคับในการสร้างอาคาร
– รูปแบบการ Lock ประตู หน้าต่างทางเข้าออกทุกทาง ควรได้รับการออกแบบอย่างดี เช่น ทางออกฉุกเฉิน ควร Lock ได้จากด้านในด้านเดียว
– วัตถุอันตราย เช่น ถังเชื้อเพลิง สารเคมี ควรตั้งอยู่บริเวณที่เข้าถึงได้ยาก
– ควรคำนึงถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการแยกแยะบุคคลที่เข้ามาในอาคาร เช่น ลายนิ้วมือ เสียง ภาพ เป็นต้น
– พาหนะที่เข้า-ออกบริเวณอาคารควรได้รับการตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ
– ที่จอดรถของบุคคลที่เข้ามาติดต่อชั่วคราวควรห่างหรือแยกออกไปจากบริเวณที่สำคัญของอาคาร
ระบบรักษาความปลอดภัยภายใน
– ควรจัดพื้นที่หวงห้าม พื้นที่เฉพาะบุคคลภายในอาคาร พื้นที่สำหรับผู้ดูแลระบบ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ต้องมีระดับการเข้าถึงได้แตกต่างกัน เช่น ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องไม่มีสิทธิเข้าไปยังบริเวณดังกล่าวหากไม่ได้รับอนุญาต
– การเข้าควบคุมงานระบบของอาคารต้องได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด
– ระบบระบายอากาศควรแยกเป็นหลายพื้นที่และสามารถปิดพื้นที่หนึ่งๆได้หากบริเวณนั้นมีสารพิษปนเปื้อนเข้ามา
– ระบบที่เกี่ยวกับการทำงานของ Computer ต้องมี Password และวิธีการป้องกันการเจาะข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
–
ระบบความปลอดภัยของห้องเก็บของ
– ควรได้รับการวางระบบแจ้งเตือนและรักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวซึ่งปกติไม่ค่อยมีคนเข้า-ออก มีความเสี่ยงที่จะมีการนำวัตถุระเบิดและสารพิษมาซ่อนได้
อาคารคอมเพล็กส์เช่น ศูนย์ราชการที่แจ้งวัฒนะ และ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่กำลังจะสร้างขึ้น ควรคำนึงมาตรการพื้นฐานข้างต้นครับ เพื่อความปลอดภัยด้านชีวิตและทรัพย์สิน
ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th