อุตสาหกรรมอาร์เอฟไอดี - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

อุตสาหกรรมอาร์เอฟไอดี

logo robot brain

          อาร์เอฟไอดี (RF-ID: Radio Frequency Identification) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการผลิตอุตสาหกรรม งานบริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานและลอจิสติกส์ ข้อมูลของปี พ.ศ. 2548 มีมูลค่าตลาดอาร์เอฟไอดีถึง 80,000 ล้านบาท เนื่องจากเทคโนโลยีนี้เมื่อถูกใช้งานกับเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์จะมีความซับซ้อนและมูลค่าสูงมาก 01 08-Marหากหน่วยงานรัฐและเอกชนของไทยไม่เตรียมตัวและมีแผนพัฒนาตลอดจนการใช้งานอย่างถูกต้อง ผมจึงอดเป็นห่วงไม่ได้ว่าประเทศไทยจะต้องเสียงบประมาณไปนำเข้าอุปกรณ์และระบบจากต่างประเทศ  ตัวอย่างที่เราพบเห็นอย่างชัดเจนคือระบบ Computer Core Banking ที่แต่ละธนาคารต้องลงทุนเป็นเงินนับพันล้านบาทเพราะต่างต้องการมีระบบเป็นของตนเองไม่ยอมใช้ร่วมกับธนาคารอื่น ท่านผู้อ่านคงคำนวนเองได้ว่าประเทศเราต้องสูญเสียเงินทองให้ฝรั่งไปมากเท่าใดจากจำนวนธนาคารที่มีอยู่  เมื่อได้มีโอกาสประชุมร่วมกับผู้ที่รับผิดชอบพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ของประเทศไทย ผมจึงเสนอว่า หน่วยงานรัฐ เช่น เนคเทค ต้องกล้าหาญที่ต้องอาสาเข้าไปพัฒนาระบบเครื่อข่ายดังกล่าวหรืออื่นๆที่มีลักษณะการใช้งานแบบเครื่อข่าย ที่ว่าต้องกล้าหาญเพราะถ้าพลาดก็เจ็บตัวเสียชื่อเสียง ในขณะที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ของไทยหากทำโครงการสำเร็จได้ดี

กลับมาที่อาร์เอฟไอดี ความตื่นตัวเป็นไปอย่างอย่างรวดเร็ว ที่ประชุมรัฐมนตรีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียน 10 ชาติ ได้มีข้อตกลงร่วมมือกันพัฒนาและสร้างมาตรฐานอาร์เอฟไอดีระหว่างประเทศร่วมกัน  จากการศึกษาของเนคเทคพบว่าในประเทศไทยมีการใช้งานเทคโนโลยีนี้ครอบคลุมจากห่วงโซ่อุปทานและลอจิสติกส์ ไปถึงการควบคุมการเข้า-ออก การปศุสัตว์ และการเงิน การขยายตัวของธุรกิจเริ่มจากลุ่มไมโครชิปและป้ายอิเลกทรอนิกส์ แต่ต้องใช้การลงทุนค่อนข้างมากและความเสี่ยงสูงเนื่องจากมูลค่าของผลิตภัณฑ์ลดลงอย่างรวดเร็วตาม Moore’s Law. เราจึงควรหันมาพัฒนาเครือข่ายซอฟท์แวร์ด้วยอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะสร้างผลกำไรได้มากกว่า

กลยุทธ์ที่สำคัญยิ่ง คือการกำหนดนโยบายภาครัฐและโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นรูปธรรม  ต้องมีการกำหนดมาตรฐานที่สำคัญสำหรับอุปกรณ์และการเชื่อมต่อในลักษณะมาตรฐานเปิด (Open Standards) อีกทั้งต้องกำหนดนโยบายด้านการจัดสรรคลื่นความถี่และกำลังส่ง (Power Limits) ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่โดยตรงของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช) ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 มาตรฐานความถี่เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการออกแบบและพัฒนาระบบอาร์เอฟไอดี ด้านเทคนิคต้องคำนึงถึงความสามารถในการทำงานข้ามระบบ (Interoperability) ตามมาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันระหว่างประเทศได้ อีกทั้งยังช่วยให้ต้นทุนป้ายและเครื่องอ่านที่สูงอยู่ให้มีราคาลดลงจากการที่ใช้จำนวนมากๆ (Economy of Scale)

02 08-Mar          นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมอุตสาหกกรรม กระทรวงพาณิชย์ ควรเป็นผู้นำส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆนำร่องในการเลือกใช้อุปกรณ์ ระบบ ซอฟท์แวร์ ที่ผลิตในประเทศไทยเพื่อเป็นการ Jump Start อุตสาหกรรมอาร์เอฟไอดีของไทย ประเทศใหญ่ๆเช่น จีน ต่างใช้กลยุทธ์นี้กับอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์และโทรคมนาคมของเขา จนเติบโตเข็มแข็งออกไปแข่งขันในตลาดโลกรวมทั้งมาขายทำรายได้เป็นกอบเป็นกำในประเทศไทยเราด้วย  สนับสนุนบริษัทคนไทยกันให้เต็มที่เถิดครับ ผมมั่นใจว่าสายพันธ์ “สมจุก” ไทย ไม่พ่ายแพ้ต่อ “บ๊วย”จีน และ “แอปเปิล”ฝรั่ง อย่างแน่นอนครับ

เมื่อเครื่อข่ายอาร์เอฟไอดีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ได้รับการส่งเสริมขึ้นเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งในไทย เรื่องเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นก็จะตามมา เราคงได้เห็นเทคโนโลยีนี้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการผลิตไวน์คุณภาพสูงที่อำเภอปากช่อง การควบคุมสารอาหารและปริมาณออกซิเจนขณะหลับของโคขุนไทย จนคุณภาพเนื้อย่างไทยสูงกว่าเนื้อจากออสเตรเลียและญี่ปุ่น คุณหมอไทยที่ดังระดับโลกอยู่แล้วคงเริ่มมีการใช้ อาร์เอฟไอดีฝังเข้าไปที่ต้นแขนคนไข้ เพื่อเก็นข้อมูลสุขภาพแล้วสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สาย ด้วย 16 digit code ความถี่ 134.2 กิโลเฮิร์ตต่ำกว่าสัณญานคลื่นวิทยุเอเอ็มไปที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล คุณหมอจะทราบถึงภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพได้ทันท่วงทีจากระบบดังกล่าว

การฝังชิปอาร์เอฟไอดี บางครั้งยุ่งยากและบางกระแสลือว่าอาจก่อให้เกิดมะเร็ง (Malignant Tumors) เพื่อนผมที่เอ็มไอทีส่งอีเมล์แจ้งมาว่าตอนนี้มีการพัฒนาอาร์เอฟไอดีเหลว (Liquid RFID) สำหรับฉีด ซึ่งน่าสนใจไม่น้อยเลยครับ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา