สมองหุ่นยนต์ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

สมองหุ่นยนต์

logo robot brain


สมองหุ่นยนต์

           นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ประโยชน์จากคลื่นสมอง 01 2010-03-15(Electroencephalography:EEG) ของมนุษย์ที่มีขนาด(Amplitude) และความถี(Frequency) แปรผันตามแกนเวลา ไปควบคุมอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์หรือแม้กระทั่งกลไกหุ่นยนต์ แม้วิทยาการสาขานี้ยังอยู่ในขั้นทดลองในห้องปฏิบัติการแต่ก็มีศักยภาพสูงมาก คาดว่าในอนาคตจะเป็นเทคโนโลยีสำคัญในการสร้างแอนดรอยด์ (Android) ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างหุ่นยนต์โครงสร้างมนุษย์ (Humanoid) กับการสั่งการจากสมองมนุษย์ นักวิชาการค่ายตะวันตกหลายท่านมั่นใจว่า ขบวนการทำงานการเรียนรู้ของแอนดรอยด์จะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของสมองมนุษย์ ที่ปัจจุบันมนุษยชาติมีความรู้ความเข้าใจอยู่น้อยมาก

02 2010-03-15           นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า สมองของเราประกอบด้วยเส้นใยสมองที่เรียกว่านิวรอนมากมายและมีกระแสไฟฟ้าน้อยๆที่วิ่งไปมาระหว่างระหว่างประจุบวกและลบบนนิวโรนเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับขบวนความคิดและความรู้สึกตัวของเรา  ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดรู้จริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและคุณภาพของข้อมูลต่อปริมาณกระแสไฟฟ้าเหล่านี้ แต่สำหรับบุคคลที่มีสมาธิดี หรือบางทีมักนิยมเรียกว่า “พลังจิต” นั้นจักสามารถจัดกระบวนการคิดได้เป็นเรื่องเป็นราว จนผลรวมของกระแสไฟฟ้าดังกล่าวจะมีความชัดเจนส่งผลให้สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นมีความเข้มขึ้นตามกันไป ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากคลื่นสมองจึงต้องมีการฝึกให้ผู้ใช้งานรู้จักขบวนการสร้างกิจกรรมจากความนึกคิดของตน

ในโลกของปัญญาประดิษฐ์ กลไกการตีความ (Cognition) เช่น นิวโรฟัสซี่ (Neuro-Fuzzy)ทำงานโดยอาศัย บิทค่าศุนย์และหนึ่งของข้อมูล ผลลัพท์การตีความก็เกิดจากผลรวม ของค่าเหล่านี้ในแต่ละจุด ที่ผ่านมาเราใช้ผลลัพท์เหล่านี้มาควบคุมมอเตอร์หรือตัวขับเคลื่อนกลไกอื่นๆ ในทางทฤษฎี เราสามารถพัฒนาสมรรถนะการคิดของคอมพิวเตอร์ให้ใกล้เคียงกับมนุษย์ได้ สมองมนุษย์นั้นมีเซลนิวรอนประมาณ 1010 นิวรอนเหล่านี้สามารถสถานะ ปิด-เปิด: หนึ่งบิท ได้ด้วยความถี่ 1,000 ครั้งต่อวินาทีหรือเฮริตส์ ดังนั้นถ้าทุกนิรอนทำงานพร้อมด้วยความถี่สูงสุดนี้ กำลังการคำนวณรวมคือ 1013 สถานะต่อวินาที  เมื่อเปรียบเทียบกับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดย่อมๆมี ทรานซิสเตอร์อยู่ประมาณ 109 ตัว เปลี่ยนสถานะปิด-เปิดได้เร็วกว่านิวรอน 106 เท่า ซึ่งก็คือ 109 เฮริตส์นั่นเอง นั่นคือความเร็วรวมทั้งระบบสูงถึง 1018  เฮริตส์ ซึ่งสูงกว่าสมองมนุษย์ ถึง 105 หรือ แสนเท่า ภาษาทางเทคนิคเรา03 2010-03-15เรียกว่า Five Orders of  Magnitude ถือว่าแตกต่างกันมาก อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์ที่ผมกล่าวถึงนี้ไม่สามารถแสดงพลังสมรรถนะทั้งมวลนี้ออกมาได้ เพราะการทำงานของคอมพิวเตอร์ถูกออกแบบมาทำงานในลักษณะอนุกรม:มิได้ทำงานหลายๆชิ้นพร้อมกัน มีเพียง 1% ของ ทรานซิสเตอร์เท่านั้นทำงานในขณะใดขณะหนึ่ง  ระยะหลังๆจึงมีการศึกษาโปรแกรมด้านการคำนวณเชิงขนาน (Parallel Computing) เพื่อแก้ไขจุดอ่อนนี้ แต่สมรรถนะและความชาญฉลาด (Intelligence) ยังไม่ใกล้เคียงสมองมนุษย์เลยที่สามารถควบคุมการทำงานส่วนต่างๆของร่างกายให้เป็นไปอย่างถูกต้องพร้อมๆ

ความสนใจของนักวิจัยในสาขาของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence:AI) คือความชาญฉลาดสามารถพัฒนาขึ้นมาจาก หน่วยเล็กๆที่ “ไม่มีความชาญฉลาด” แฝงอยู่เลย โดยส่วนใหญ่ปัญญาประดิษฐ์มักถูกตีความรวมๆว่าเป็นผลจากสมองหุ่นยนต์ (Cognitive Module) และมักเน้นผลลัพท์ที่ได้จากการคำนวณ แต่ปรมาจารย์ด้านเอไอของโลกอย่าง Professpr Marvin Minsky ผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการเอไอของสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาซูเซสต์ ได้พูดถึง “สังคมของจิตใจ (Society of Mind)” 04 2010-03-15ท่านได้ไขความลึกลับมหัศจรรย์ของจิตมนุษย์ใน 270 ขบวนการความคิด เงื่อนไขในขบวนการเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องในลักษณะของใยแมงมุม (Web) ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับสมองมนุษย์ที่ได้รับการฝึกฝนให้คิดเป็นขั้นเป็นตอนจะสรุปเป็นทฤษฎีเชิงระบบขึ้นมาได้

          หรือก็มีความเป็นไปได้ว่าสมองมนุษย์ไม่ได้มีขบวนความคิดที่เป็นระบบจากฐานต่อสู่ยอดดังที่เคยเข้าใจในอดีต  การที่เราพยายามสร้าง สมองหุ่นยนต์-ปัญญาประดิษฐ์ เป็นเชิงระบบนั้น คงจะผิดทาง ทำให้สมองหุ่นยนต์ไม่มีทางเทียบชั้นกับสมองมนุษย์ได้เลย

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา