หุ่นยนต์ช่วยลดความอ้วน - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

หุ่นยนต์ช่วยลดความอ้วน

logo robot brain

หุ่นยนต์ช่วยลดความอ้วน

ข้อมูลจาก National Institute of Health รายงานว่าSH 01 2010-04-21 09 47มีคนเอริกัน เสียชีวิตการการเป็นโรคอ้วนปีละ 300,000 กว่าคน ฟังดูแล้วผมรู้สึกถึงความแตกต่างมาก เพราะเรามีคนอดอาหารทั่วโลกกว่า 800 ล้านคน อย่างไรก็ตามภาวะความอ้วนไม่ได้เกิดจากการกินดีอยู่ดีแต่พียงอย่างเดียว ส่วนมากเกิดจากการ “กินไม่เป็นครับ”

กรุณาอย่าตำหนิว่าผมขู่ในเรื่องต่อไปนี้ ผมฟังแพทย์มาอีกทีครับ “โรคอ้วน” ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันสูง เส้นโลหิตในสมองแตก และบางรูปแบบของโรคมะเร็ง ทั้งๆที่รู้ว่าเกิดแล้วต้องตาย ดังคำสอน อุปปชิตวา นิรุตชันติ ก็อย่ารีบตายเร็วเกินไป เราควรมีชีวิตต่อไปตามสังขารจะอำนวยเพื่อทำประโยชน์ตามที่ควรครับ

ตัวผมเองมีส่วนสูง 173 ซม. ตามหลักทางการแพทย์บ่งชี้ว่าผู้ชายควรมีน้ำหนัก เท่ากับความสูงลบด้วย 100 (ผู้หญิงต้องลบด้วย 110 ครับ) นั่นคือน้ำหนักที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 73 กิโลกรัม ผมหนัก 82 กิโลกรัม เกินมาประมาณ 9 กิโลกรัม ผู้รู้แนะนำให้ออกกำลังกาย ผมไม่คิดเช่นนั้น เนื่องจากเป็นนักวิทยาศาสตร์จึงคิดว่ายิ่งออกกำลังกายมากยิ่งจะรับประทานมาก แทนที่จะออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวจึงลดอาหารด้วย ปรากฎว่าสามารถลดเหลื่อเพียง 75 กิโลกรัมเพียงหนึ่งเดือน อีกสองกกิโลกรัมที่เหลือผมต้องใช้เวลาอีกเกือบปีจึงสามารถลดลงมาได้เป็น 73 กิโลกรัม ที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างผมเดาว่า ร่างกายต้องปรับตัวมากเพราะเข้าใกล้ limit นั่นเอง

SH 02 2010-04-21 09 47ผมเข้าใจจากการปฎิบัติด้วยตนเองว่าการลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องทางจิตวิทยามากว่าทางกายภาพ ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องการการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยว สมัยที่ผมยังเรียนหนังสืออยู่ที่อเมริกา เคยเห็นโฆษณาเครื่องดี่มประเภท “Soft Drink” เพียงหนึ่งแคลลอรี แต่ผู้โฆษณา (Presenter) ดื่มหลังจากรับประทาน พิซซ่าจานโต ผมว่าคงไม่ช่วยเท่าใดนัก

แม้จะมียาลดน้ำหนักออกมาจำหน่ายในตลาดอเมริกามากมาย สภาวะน้ำหนักเกินยังถูกเรียกว่า “โรคอ้วน” ทำให้ดูน่ากลัวขึ้นไปอีก ล่าสุดผมค่อนข้างประหลาดใจที่ ดร. โครี คิดด์ ผู้ก่อตั้งและมีตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ผู้บริหารบริษัท Intuitive Automata ได้ประดิษฐ์ “หุ่นยนต์ช่วยลดความอ้วน” ขึ้น โดยหุ่นยนต์ตัวนี้ทำหน้าที่เป็นโค๊ชคอยแนะนำวิธีปฏิบัติการลดน้ำหนัก คุณโครีใช้เวลาถึง 18 เดือนในกSH 03 2010-04-21 09 48ารพัฒนาหุ่นยนตํตัวนี้ แน่นอนครับว่าหุ่นยนต์ตัวนี้ตัวมีความสามารถในการปฎิสัมพันธ์กับมนุษย์ โดยคอยสอบถามผู้ที่ต้องการลดความน้ำหนักว่า วันนี้วันนี้ได้รับประทานอะไรไปบ้าง ออกกำลังกายไปนานเท่าใด? การที่หุ่นยนต์มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ (Humanoid)ด้วยมอเตอร์และกล้องทำให้การเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติและดวงตาจับจ้องคู่สนทนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเองมากกว่าและดีกว่าการป้อนข้อมูลไปที่คอมพิวเตอร์แล้วคอยดูผลลัพท์ที่จอมอนิเตอร์ มนุษย์จะรู้สึกว่าได้รับการเอาใจใส่ (Caring) มากกว่า จิตมนุษย์ก็เป็นเช่นนี้ครับ ต้องการการเอาใจอยู่ตลอดเวลา เผลอเมื่อไรเป็นทุกข์เมื่อนั้น ดร.โครี น่าจะเข้าใจจิตวิทยาดีจึงได้ออกแบบหุ่นยนต์ตัวนี้ที่คอยให้กำลังใจแก่คนไข้โรคอ้วน แทนที่จะใช้วิธีการบังคับและการออกคำสั่ง เรื่องเจ้าหน้าที่และนางพยาบาลไม่ดูแลเอาใจใส่คนไข้นั้นน่าจะเกิดขึ้นที่ประเทศโลกตะวันตกมากกว่า บ้านเราดีกว่ามาก ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ผมรู้จักไปเกิดอุบัติเหตุแขนหักที่บอสตัน แม้ท่านมีค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาล แต่ท่านก็ตัดสินใจกลับเมืองไทยให้คุณหมอและพยาบาลไทยดูแล ท่านบอกว่าของเราดีกว่าทางโน้นมาก เทียบกันไม่ได้เลย หลังจากการทดลองช่วงต้น พบว่าหุ่นยนต์ของ ดร.โครี ได้รับการยอมรับและมีคนใช้งานมาก ในรุ่นต่อมา ดร.โครีได้เพิ่มฟังชั่นด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้าไปอีก ทำให้หุ่นยนต์สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานแต่ละท่านแตกต่างกันไปตามข้อมูลที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์กับผู้ใช้งานนั้นๆ

หุ่นยนต์ตัวนี้กำลังเดินเข้าไปอยู่ในบ้านคนอเมริกัน ตามหุ่นยนต์ทำความสะอาดรุ่นพี่ “iRobot” ทีมีจำนวนประชากรกว่า 10 ล้านตัวอยู่ในขณะนี้

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

 

ข้อมูลจำเพาะของผู้เขียน

djitt2ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา

ภายหลังจบการศึกษา ดร.ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูงและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ดร.ชิต ยังผู้รับผิดชอบโครงการ Hard Disk Cluster ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในการประสานงานนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆกับ มืออาชีพจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์เพื่องานวิจัยและพัฒนา การอบรมบุคลากรตลอดจนการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานจนเกิดบริษัทคนไทยที่มีความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีสามารถทำธุรกิจร่วมกับบริษัทข้ามชาติได้

Dr. Laowattana’s research interest is primarily in fundamental areas of robotic dexterity, design for manufacturing / assembly of high precision systems. He was awarded an honor with his B.Eng. from King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT). Under the Monbusho Program, he received a certificate in Precision Mechanics and Robotics at Kyoto University. He subsequently obtained his PhD. in 1994 from Carnegie Mellon University, USA under financial support from the Fulbright Fellowship Program and the AT&T Advanced Research Program. In 1996, he also received a certificate in Management of Technology from Massachusetts Institute of Technology (MIT) USA. He holds two US patents for robotic devices. He is the founding director of the Institute of Field Robotics Development (FIBO) and the first President of Thai Robotics Society (TRS). He served as an executive board member of TOT, the largest telecom public company. Presently, he is director of Hard disk Cluster Program at National Science and Technology Development Agency (NSTDA). His responsibility is to strengthen hard disk industry in Thailand by formulating critical collaborative networks in the areas of R&D, HRD and Supply Chain Development among professionals from 30 national universities/laboratories and four multi-national companies, producing one of the highest annual turnover of 500 billions baht.

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา