ยุคหุ่นยนต์?
ผมมักได้รับคำถามเสมอว่า ตอนนี้โลกเราเข้าสู่ยุคหุ่นยนต์แล้วหรือยัง? ทั้งนี้เนื่องจากสาธารณะชนได้เห็นสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์มากมายทั้งที่มีการประยุกต์ใช้งานจริงและหุ่นยนต์ทดลองที่มีศักยภาพสูง ที่จริงคำถามนี้ตอบค่อนข้างยากขึ้นอยู่กับว่าผู้ตอบคือใคร ผมจึงขออนุญาติให้มุมมองในฐานะเป็นผู้หนึ่งที่สนใจวิจัยในสาขานี้นะครับ เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงที่ผมศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เมื่อ 30 กว่าปีก่อน สมัยนั้นความรู้ความเข้าใจศาสตร์ทางด้านหุ่นยนต์ยังมีน้อยมาก แต่ก็มีกล่มนักวิจัยไม่น้อยเลยที่ต้องการสร้างหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ (Humanoid) เราเชื่อว่าหุ่นยนต์ที่จะมาอยู่กับเรา จำเป็นต้องมีรูปร่างเหมือนกับเราบ้างเพื่อความสบายใจ หรือเป็นเพราะเราดูภาพยนต์ไซไฟมากเกินไป แม้กระทั่งเราอาจลืมไปว่ามีพื้นฐานหลายอย่างของสิ่งที่มีชีวิตอันประกอบไปด้วยอนุมูลไฮโดรคาร์บอนนั้นแตกต่างจากชิ้นส่วนโลหะและพลาสติก ผสมผสานกับการควบคุมการทำงานของสองคอมพิวเตอร์ที่ทำมาจากซิลิกอน แต่ ณ.วันนี้ สหวิทยาการได้ถูกพัฒนาขึ้น จนทำให้หุ่นยนต์มีสมรรถนะและพฤติกรรมใกล้เคียงกับมนุษย์ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ที่นักวิชาการรุ่นแรกๆคิดว่าเป็นเพียงเทคนิค “Induction”: การสรุปจากข้อมูลที่มีอยู่ เช่นเดียวกับการทำ “Curve Fitting” ทางคณิตศาสตร์เพื่อหาความสัมพันธ์ของพารามิเตอร์ในระบบพลศาสตร์ที่ยังไม่มีทฤษฎีทางฟิสิกส์อธิบายอย่างชัดเจน ปัจจุบันแนวคิดของ Prof. Minsky จาก MIT’s AI Laboratory ทั้ง 270 อย่างนั้นได้เปิดศักราชปัญญาประดิษฐ์ ในแนวทาง “Deduction” คือค้นหาความรู้ “ใหม่” จากความรู้เดิม แม้ไม่มีใครบอกได้ว่าวิธีการที่ ปัญญาประดิษฐ์ใช้นั้น เหมือนกับสมองมนุษย์หรือไม่? เพราะยังไม่มีใครรู้จริงว่าสมองมนุษย์ทำงานอย่างไร แต่อย่างน้อยประชากรหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่ “คิดเป็น” ได้เกิดขึ้นแล้ว ภายใน 100 ปีข้างหน้า อาจเป็นไปได้ว่าสมองหุ่นยนต์เหล่านี้จะมาช่วยอธิบายว่าสมองมนุษย์มีกลไกทำงานสร้างความฉลาดเช่นไร
หลายคนประหลาดใจว่าทำไมนักวิจัยหุ่นยนต์ถึงได้ตื่นเต้นนักหนาเมื่อได้เห็น หุ่นยนต์อัตโนมัติเตะฟุตบอลแข่งกันได้โดยผ่านการตัดสินใจของตัวเองที่มนุษย์มิได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเลย ผมขอตอบแทนว่า นี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญอันจะนำไปสู่สิ่งที่ผมกล่าวถึงข้างต้น ซึ่งมิได้แตกต่างจากความรู้สึกที่ได้เห็นการบินเที่ยวแรกเพียง 50 เมตร ของเครื่องบินพี่น้องตระกูลไรท์ ผมเชื่อว่าโลกเราเข้าสู่ยุคหุ่นยนต์แล้วในปี 2010 นี้แล้วครับ หากแต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ยังต้องอาศัยการพัฒนาอีกมากมาย กว่าประชากรหุ่นยนต์จะมาอยู่ร่วมกับลูกหลานของเราได้
ในมิติของการผลิตอุตสาหกกรม เทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติ/หุ่นยนต์ และการสื่อสารผ่านอินเตอร์เนต ได้รับการยอมรับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ทำให้ได้ผลิตภัณท์ที่มีคุณภาพสูงราคาถูกลง คนงานไม่ต้องเผชิญกับงานอันตรายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่นละออง สารเคมี หรือกัมมันตภาพรังสี คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หุ่นยนต์ยังมีบทบาทสำคัญในอุปกรณ์แพทย์ด้าน Minimal Invasive Surgery ซึ่งเป็นงานผ่าตัดที่ต้องการความถูกต้องสูงและต้องสัมผัสโดยตรงกับเนื้อเยื่อและอวัยวะมนุษย์ ลงมีดผ่าตัดพลาดไปแล้วจะโยนชิ้นงานทิ้งไปเช่นเดียวกันกับงานอุตสาหกรรมคงไม่ได้ การเปิดแผลเพียงเล็กน้อยนี้นี่เองที่ให้คุณประโยชน์สูงกล่าวคือ ความเจ็บปวดของคนไข้ลดน้อยลง การสูญเสียโลหิตไม่มาก การฟื้นตัวสามารถกลับไปดำรงชีพเหมือนปกติก็เร็วขึ้นด้วย หุ่นยนต์ช่วยเพื่ม “Clinical Capability” เทคนิคการผ่าตัดแบบ Laparoscopic ด้วยมือ นอกจากนี้ Dexterity ของปลายแขนกลและมือหุ่นยนต์ช่วยให้แพทย์สามารถกำหนดเส้นทางการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ผ่าตัดที่ซับซ้อนมากๆได้โดยง่าย อีกทั้งหากต้องให้ทำซ้ำเส้นทางเดิมก็ง่ายมากเพราะข้อมูลการเคลื่อนที่ต่างๆถูกบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์อยู่ทุกขณะ หุ่นยนต์ประเภทนี้สามารถเปิดแผลได้เล็กสุดเพียง 1-2 ซ.ม เท่านั้น ตัวอย่างเช่นการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากที่กำลังแพร่หลายในชายไทยอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็น “ทีมงาน” ร่วมกับมืออาชีพทางการแพทย์ อุปกรณ์ประเภท Human-Machine Interface เช่น Voice Controlled, Hand-Eye และ Head Mounted Device กำลังได้รับความสนใจอย่างยิ่งในหุ่นยนต์ทางการแพทย์ครับ
ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
—————————————————————————————–
ข้อมูลจำเพาะของผู้เขียน
ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา
ภายหลังจบการศึกษา ดร.ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูงและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ดร.ชิต ยังผู้รับผิดชอบโครงการ Hard Disk Cluster ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในการประสานงานนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆกับ มืออาชีพจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์เพื่องานวิจัยและพัฒนา การอบรมบุคลากรตลอดจนการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานจนเกิดบริษัทคนไทยที่มีความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีสามารถทำธุรกิจร่วมกับบริษัทข้ามชาติได้
Dr. Laowattana’s research interest is primarily in fundamental areas of robotic dexterity, design for manufacturing / assembly of high precision systems. He was awarded an honor with his B.Eng. from King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT). Under the Monbusho Program, he received a certificate in Precision Mechanics and Robotics at Kyoto University. He subsequently obtained his PhD. in 1994 from Carnegie Mellon University, USA under financial support from the Fulbright Fellowship Program and the AT&T Advanced Research Program. In 1996, he also received a certificate in Management of Technology from Massachusetts Institute of Technology (MIT) USA. He holds two US patents for robotic devices. He is the founding director of the Institute of Field Robotics Development (FIBO) and the first President of Thai Robotics Society (TRS). He served as an executive board member of TOT, the largest telecom public company. Presently, he is director of Hard disk Cluster Program at National Science and Technology Development Agency (NSTDA). His responsibility is to strengthen hard disk industry in Thailand by formulating critical collaborative networks in the areas of R&D, HRD and Supply Chain Development among professionals from 30 national universities/laboratories and four multi-national companies, producing one of the highest annual turnover of 500 billions baht.