เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ระยะสอง - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ระยะสอง

logo robot brain

เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ระยะ 2

article001

 

สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) คิดโครงการ “พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน-อีเอ็มเอส” (Emergency Medical System: EMS) ขึ้นมาก็เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยในสภาวะฉุกเฉินที่ครอบคลุมมากไปกว่าเรื่องผู้บาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุที่เราคนไทยคุ้นเคยกันดีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อรักษาชีวิตให้ได้ระบบอีเอ็มเอ็สจึงต้องใช้เวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะป็นไปได้ ระบบเทคโนโลยีในเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่ผมกล่าวถึงอยู่นี้ ทางสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) กำลังพัฒนาและสร้างต้นแบบ ให้แก่ ทางสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมี 6 จังหวัดนำร่อง คือ นครราชสีมา ขอนแก่น ลำปาง ภูเก็ต อุดร และนครสวรรค์ ปัจจุบันทดสอบอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อทดสอบจนประสบความสำเร็จแล้ว จึงจะทำการขยายผลครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ผมขออนุโมทนาอาสาสมัครกู้ภัยทุกหน่วยที่ทำงานหนักเพื่อรักษาชีวิตคนไทยด้วยกัน ทุกท่านได้รับบุญกุศลอันสูงยิ่ง

เทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้นถูกนำมาสร้างระบบย่อยต่างๆดังนี้ 1. ระบบรับแจ้งเหตุของศูนย์รับแจ้ง เป็นระบบที่ช่วยถามตอบและบันทึกการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในศูนย์รับแจ้ง ซึ่งระบบนี้จะเชื่อมเข้ากับแม่ข่าย มีหน้าที่ดังนี้
a. บันทึกหมายเลขโทร.เข้า โดยระบบจะต้องรองรับการเรียกเข้าทั้งโทรศัพท์แบบ Analog และ Digital (การออกแบบระบบขึ้นอยู่กับการประมาณการเรียกเข้ามาจากโทรศัพท์ทั้งสองแบบนี้)
b. บันทึกข้อมูลของเหตุการณ์ ได้แก่ อาการผู้ป่วย เวลาที่รับแจ้ง การส่งรถฉุกเฉินหรือรถในโครงการไปรับ
c. แจ้งสถานะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในโครงการ เพื่อให้ทราบว่าการส่งต่องานไปถึงขั้นตอนใดแล้ว เช่น เจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุได้แจ้งให้ออกรถไปเรียบร้อยแล้วหรือไม่ เจ้าหน้าที่ขับรถฉุกเฉินได้ไปถึงตัวผู้ป่วย หรือส่งต่อผู้ป่วยเรียบร้อยแล้วหรือไม่ เป็นต้น โดยเจ้าหน้ารับแจ้งที่จะเป็นผู้พิมพ์ข้อมูลเข้าระบบเอง
d. มีระบบช่วยถาม ในการส่งรถและการหาตำแหน่งผู้ป่วย
e. มีระบบการเงิน แจ้งสถานะและจำนวนเงินที่เบิกจ่ายแก่เจ้าหน้าที่ของโครงการ
2. ระบบจัดการแผนที่ เป็นระบบจัดการแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็นเลเยอร์ต่างๆ ได้แก่
a. แผนที่ราสเตอร์
b. เลเยอร์ของเส้นทางหรือถนน
c. เลเยอร์ของการกำหนดพื้นที่ หรือเขตรับผิดชอบ : Zoning
d. เลเยอร์ของสัญลักษณ์สถานที่ หรือ landmark ต่างๆ
e. เลเยอร์ของชื่อสถานที่ หรือชื่อจุดสังเกตบนเส้นทาง
f. เลเยอร์ของจุดเกิดเหตุ
g. เลเยอร์ของตำแหน่งรถในโครงการ โดยตำแหน่งจะเคลื่อนที่บนแผนที่เป็น Real Time
3. ระบบ GPRS ใช้ในการสื่อสารข้อมูลไร้สายในรูปแบบของข้อมูลตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
4. ระบบ GPS ใช้ในการระบุตำแหน่งของรถฉุกเฉิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์ทราบตำแหน่งปัจจุบันของรถ และตัดสินใจส่งรถคันที่เหมาะสมไปรับผู้ป่วย
5. ระบบจัดการฐานข้อมูล มีฐานข้อมูลที่ใช้ในโครงการได้แก่
a. ระบบฐานข้อมูลโครงการ
b. ระบบฐานข้อมูลแผนที่
c. ระบบฐานข้อมูลโทรศัพท์
โครงการนี้ได้รับความสนใจจากสาธาระณะพอสมควร ผมเองก็ได้รับการสอบถามโดยตรงมามาก ผมจึงขอรายงานสถานะปัจจุบันว่าทางฟีโบ้ได้ดำเนินการอะไรอยู่บ้างดังต่อไปนี้ครับ 1. Optimize การเขียนโปรแกรมใหม่ให้เร็วขึ้น
ทีมพัฒนาของฟีโบ้ได้ทำการ Reconstruction software ใหม่ทั้งระบบ โดยจัดทำเป็น Data hierarchy ซึ่งส่วนต่าง ๆ ของ software จะมีการเรียกใช้งานข้อมูลมาที่ข้อมูลชุดเดียวกันทั้งหมด เพื่อลดการซ้ำซ้อนของการเข้าถึงข้อมูล ทั้งการ load และการ save จึงทำให้การทำงานในภาพรวมของ software ทั้งหมดเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โครงสร้างใหม่ของ software สามารถแสดงได้ดังแผนผังความคิด 2.จัดทำ Business rules module
การสร้างชุดคำถาม ในการสร้างชุดคำถามสามารถสร้างได้โดยใช้โปรแกรม Mind Manager ซึ่งคำถามที่สร้างขึ้นนั้นให้ใส่เครื่องหมาย เพื่อบอกโปรแกรมให้ทราบว่าเป็นคำถาม และในคำตอบที่ต้องการให้ออกรหัสนั้นให้ใส่เครื่องหมาย ในกรณีต้องการให้ออกรหัสสีแดง
ในกรณีที่ต้องการให้ออกรหัสสีเหลือง
ในกรณีที่ต้องการให้ออกรหัสสีเขียว
ในกรณีที่ต้องการให้ออกรหัสสีขาว

article-2

ตัวอย่างการสร้างชุดคำถามใน Mind Manager เป็นดังรูปข้างล่างนี้

เนื่องจากคำถามบางคำถามนั้นต้องการให้สามารถเลือกคำตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ ดังนั้น คำถามดังกล่าวจึงต้องใส่เครื่องหมาย เพื่อบอกโปรแกรมว่าเป็นคำถามแบบเลือกคำตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ และ สามารถกำหนดได้ว่าหากคำตอบมากกว่า หรือเท่ากับ 2 คำตอบนั้นให้ออกรหัส หรือแสดงคำถามต่อไปอย่างไรได้ โดยใส่เครื่องหมาย เพื่อบอกข้อกำหนดการเลือกคำตอบ

article-3

3.ปรับปรุงข้อมูลของศูนย์นเรนทรในข้อมูลผู้ป่วยให้เหมาะสมกับการคัดกรอง
ปรับปรุงฟอร์มการบันทึกออกเป็น 3 ระดับตามระดับของ หน่วยปฏิบัติการซึ่งได้แก่ FR, BLS และ ALS เพื่อทำการบันทึกการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติการ

article-4

แบบบันทึกการปฏิบัติงานหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น

article-5

แบบบันทึกการปฏิบัติงานหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน

แบบบันทึกการปฏิบัติงานหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง

article006

การเพิ่มแบบฟอร์มทั้ง 3 ระดับลงไปจะทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติการลดลง เนื่องจากการบันทึกข้อมูลเหล่านี้จะถูกโอนมาไว้ที่เจ้าหน้าที่ Dispatch ทำการบันทึกการรักษาในขณะออกคำสั่งไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นข้อมูลที่ถูกบันทึกผ่านทางแบบฟอร์มเมื่อภาวะฉุกเฉินสิ้นสุดลงและระบบอยู่ในโหมด online ข้อมูลทั้งหมดก็จะถูกส่งขึ้นไปยัง server กลางเพื่อทำการเบิกจ่ายได้ในทันที

4.ปรับปรุงระบบค้นหาและเลือกโรงพยาบาล
เมี่อทำการกำหนดพิกัดผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมรับแจ้งจะทำการร้องขอโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดจากโปรแกรมแผนที่ โดยอาศัยความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องการหาระยะทางจากจุด 2 จุด มาใช้เพื่อหาระยะห่างในพิกัด Latitude และ longtitude ดังสมการ

article008

โปรแกรมรับแจ้งจะทำการสร้างรายชื่อโรงพยาบาลเรียงลำดับจากระยะห่างน้อยที่สุดไปยังมากที่สุด แต่ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดในการค้นหา โปรแกรมรับแจ้งจะแสดงรายชื่อโรงพยาบาลทั้งหมดขึ้นมาให้เลือก

article009

5.ปรับปรุงระบบค้นหาและเลือกหน่วยช่วยเหลือ
เมี่อทำการกำหนดพิกัดผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมรับแจ้งจะทำการร้องขอหน่วยปฏิบัติการที่อยู่ใกล้ที่สุดจากโปรแกรมแผนที่ โดยอาศัยความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องการหาระยะทางจากจุด 2 จุด มาใช้เพื่อหาระยะห่างในพิกัด Latitude และ longtitudeดังสมการ

 

article010

โปรแกรมรับแจ้งจะทำการสร้างรายชื่อหน่วยปฏิบัติการเรียงลำดับจากระยะห่างน้อยที่สุดไปยังมากที่สุด แต่ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดในการค้นหา โปรแกรมรับแจ้งจะแสดงรายชื่อหน่วยปฏิบัติการทั้งหมดขึ้นมาให้เลือก

article011

12.สร้างการ Request การเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Revision)
สร้างการ Request การเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Revision) เพื่อลดจำนวนข้อมูลที่ต้องถ่ายโอน ซึ่งจะทำให้การทำงานลดความซ้ำซ้อนและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
article012

13.การปักหมุดจุดรับแจ้งและที่อยู่ผู้ป่วย
– ปักหมุดพิกัดผู้แจ้ง
การปักหมุดรับแจ้ง คือ การกำหนดจุดที่ผู้แจ้งแจ้งเข้ามา โดยในทันทีที่ผู้แจ้งโทรเข้ามา ถ้าเป็นหมายเลขเดิมหรือเป็นสมาชิกโปรแกรมจะค้นหาที่อยู่ผู้แจ้งให้โดยอัตโนมัติตามข้อมูลที่มีอยู่ก่อนหน้า แต่ถ้าไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบ เจ้าหน้าที่จำเป็นจะต้องทำการสอบถามสถานที่พิกัดผู้แจ้ง และยืนยันการปักหมุดเพื่อ Request ให้โปรแกรมแผนที่ทำการปักหมุดลงบนแผนที่ถัดไป
– ปักหมุดพิกัดผู้ป่วย
การปักพิกัดผู้ป่วย คือ การกำหนดจุดที่ผู้ป่วยอยู่ขณะนั้น ซึ่งได้จากการสอบถามผู้แจ้งและยืนยันการปักหมุดเพื่อ Request ให้โปรแกรมแผนที่ทำการปักหมุดลงบนแผนที่ถัดไป
article-11

6.ปรับปรุงระบบควบคุมสิทธิการใช้งานในแต่ละ Function
การควบคุมการใช้งานจะถูกกำหนดมาจากทางโปรแกรมรับแจ้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ควบคุมศูนย์นั้น จะเป็นคนกำหนดสิทธิการใช้งานว่าให้สามารถใช้งานส่วนใดของโปรแกรมรับแจ้งได้บ้างลงไปในไฟล์ 0-0-Permissions-0.xml ดังนั้นทุกครั้งเมื่อผู้ใช้ login เข้าใช้งานโปรแกรมรับแจ้ง โปรแกรมจะทำการตรวจสอบสิทธิการใช้งานของผู้ใช้นั้นจากไฟล์ 0-0-Permissions-0.xml ให้ตรงตามกับสิทธิ์ที่ได้ระบุไว้โดยเจ้าหน้าที่ที่ทำการควบคุมศูนย์นั้น ๆ
article-12

7.จัดทำระบบค้นหาข้อมูลจากเหตุการณ์ก่อนหน้า
โดยปกติข้อมูลการรับแจ้งจะถูกบันทึกอยู่ภายใน Client แต่ละเครื่องเป็นระยะเวลาหนึ่งดังนั้นเราจึงสามารถนำเอาข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้เหล่านั้นมาใช้งานได้ โดยในที่นี้ได้นำมาสร้างเป็นระบบค้นหาภาวะฉุกเฉินย้อนก่อนหน้าที่เคยรับแจ้งไว้แล้ว ซึ่งสามารถค้นหาได้ใน 6 รูปแบบด้วยกันคือ ค้นหาตามชื่อผู้ป่วย ค้นหาตามพิกัดผู้ป่วย ค้นหาตามวันเวลา ค้นหาตามอาการเจ็บป่วย ค้นหาตามปฏิบัติการ และค้นหาแบบ Advance
8.ปรับปรุงรายละเอียดการค้นหาลงไประดับหมู่บ้าน
ทำการเพิ่มระดับการค้นหาจากเดิมสามารถระบุการค้นหาลงไปได้เพียงระดับตำบลให้สามารถระบุการค้นหาลงไปได้ลึกถึงระดับหมู่บ้าน โดยอ้างอิงข้อมูลรายชื่อหมู่บ้านจากข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

Article015

9.การจัดทำระบบ Auto complete
Auto complete เป็นเทคนิคในการป้อนข้อมูล โดยอาศัยการพิมพ์ตัวอักษรใด ๆ ลงไปใน Text Box แล้วโปรแกรมรับแจ้งจะไปทำการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดออกมาแสดงในลักษณะของ List Box ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นที่จะต้องทราบถึงรูปประโยคหรือข้อความที่ต้องการป้อนทั้งหมด แต่สามารถเลือกจากข้อมูลที่ปรากฏบน List Box มาเติมได้ทันที

article-14

10.ปรับปรุงระบบแผนที่ของ Point Asia
เนื่องจากการตอบสนองการทำงานของโปรแกรมแผนที่ที่อาศัยการทำงานของ Point Asia เป็นหลักนั้น ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที และในระยะต่อไปจะได้มีการเปลี่ยนการทำงานของระบบแผนที่ไปใช้การทำงานของ google maps ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรในการพัฒนา แต่เนื่องจากระหว่างการพัฒนา software เพื่อให้ใช้งานกับ google maps นั้น ระบบในภาพรวมยังต้องทำการทดสอบต่อไป จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานของโปรแกรมฝั่ง point asia เพื่อให้สามารถใช้งานต่อไปได้ด้วยเช่นกัน จึงได้ทำการจัดการโดยการสร้างส่วนควบคุมการทำงานแผนที่ขึ้นมาใหม่แทนส่วนควบคุมการทำงานเดิม ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้คือ
ส่วนของแผนที่
– สร้างไฟล์ Point , line , zone ในรูปแบบของ Point Asia แล้ว Load เข้าไปยัง Point Asia
– สร้าง Module เพื่อรอรับการ request คำสั่งควบคุมการเคลื่อนที่ (Fly to)
– สร้าง Module เพื่อรอรับการ request เพิ่มจุดเกิดเหตุ (Add Event Point)
ส่วนของCall Center
– สร้าง Module เพื่อรอรับการ request คำสั่งควบคุมการเคลื่อนที่ (Fly to)
– สร้าง Module เพื่อรอรับการ request เพิ่มจุดเกิดเหตุ (Add Event Point)
11.สร้างระบบ Local ID จากการทำงานฝั่ง Client
เป็นการสร้างหมายเลข ID แบบใหม่ที่อาศัยการอ้างอิงจาก UNIX Timestamp รวมกับ ชื่อผู้ใช้งาน ซึ่งทำให้การสร้างหมายเลข ID ไม่มีโอกาสซ้ำกันได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
——————————————————————————————

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา