สถานภาพเปรียบเทียบ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

สถานภาพเปรียบเทียบ

logo robot brain

สถานภาพเปรียบเทียบ

ผมได้รับมอบหมายให้เปรียบเทียบสถานภาพวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศไทยกับต่างประเทศ หากพิจารณาการประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศไทย เราสามารถแบ่งตามสาขาการประยุกต์ใช้งานได้คร่าวๆคือ

  1. หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
  2. หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับใช้ทางการแพทย์
  3. หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับใช้ทางการทหาร
  4. หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับใช้ทางการศึกษา

สำหรับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศไทย 01 02-Augมีอุตสาหกรรมหลักที่มีความต้องการใช้สูงคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีแนวโน้มความต้องการสูงขึ้นทุกปีตามลำดับ แสดงไว้ในตารางที่เปรียบเทียบจำนวนการติดตั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมและจำนวนระบบในคลังของประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยในปี 2003 ถึงปี 2005 จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีความต้องการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2004 มีความต้องการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นถึง 4.9 เท่าของปี 2003 และในปี 2005 มีความต้องการเพิ่มขึ้น 1.9 เท่าของปี 2004 และหากเทียบความต้องการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นได้ว่าตลาดหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของไทยมีการเจริญเติบโตสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ดังแสดงในรูป

ตารางเปรียบเทียบจำนวนการติดตั้งหุ่นยนต์และจำนวนหุ่นยนต์ในคลังของประเทศต่างๆ

02 02-Aug

ที่มา :World Robot Market 2005 Statistics, International Federation of Robotics และ
World Robot Market 2006 Statistics, International Federation of Robotics

03 02-Aug

รูปเปรียบเทียบจำนวนการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมรายปีของประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส่วนในด้านของเครื่องจักรกล กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้แบ่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลเป็นสามชนิด คือ

  1. เครื่องจักรอุตสาหกรรม (Industrial Machinery) เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งเครื่องจักรประเภทนี้ยังต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ เพราะผลิตได้เองในประเทศน้อยมาก
  2. เครื่องมือกล (Machine Tools) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ผลิตเครื่องจักรต่างๆ เช่น เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องไส และเครื่องจักรซีเอ็นซี ปัจจุบันในประเทศไทยยังมีผู้ผลิตไม่มากเพราะเทคโนโลยียังด้อยกว่าต่างประเทศ
  3. เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tooling and Accessories) เป็นประเภทอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ในประเทศไทยมีผู้ประกอบการจำนวนมาก และส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนการลงทุนจาก BOI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ระบุว่าอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการผลิตและเครื่องมือกลเป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการสูงมากในประเทศ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่สนับสนุนอุตสาหกรรมอื่นทุกประเภท แต่เนื่องจากผู้ประกอบการภายในประเทศยังไม่สามารถผลิตเครื่องจักรที่ทันสมัยได้ตามความต้องการของลูกค้า จึงยังต้องอาศัยการนำเข้าเป็นหลัก เป็นที่น่าตระหนกว่าแต่ละปีประเทศไทยมีการนำเข้าเครื่องจักรกลมูลค่ากว่าแสนล้านบาท และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลในประเทศไทยอย่างจริงจัง เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนด้านการส่งออกเครื่องจักรกลของประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงมาก โดยตลาดส่งออกที่สำคัญคือ เวียดนาม จีน และลาว โปรดดูรูปแสดงสัดส่วนการนำเข้าและการส่งออกเครื่องจักรกลของประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนจากประเทศที่สาม

06 02-Aug

 ที่มา : โครงการศึกษาผลกระทบและการกำหนดท่าทีไทยต่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
รูปแสดงสัดส่วนการนำเข้าเครื่องจักรกลของกลุ่มประเทศอาเซียนจากประเทศที่สาม

07 02-Aug

ที่มา : โครงการศึกษาผลกระทบและการกำหนดท่าทีไทยต่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
รูปแสดงสัดส่วนการส่งออกเครื่องจักรกลของกลุ่มประเทศอาเซียนไปยังประเทศที่สาม

เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญทางด้านงานเชื่อมโลหะและการผลิตเครื่องมือกลเป็นพิเศษ แต่ยังขาดความเชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องจักรกลอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการของไทยมีขนาดเล็กไม่มีแรงจูงใจในการวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตของตน นอกจากนี้ยังขาดนโยบายสนับสนุนจากทางภาครัฐที่ชัดเจน ทั้งนี้ภาครัฐของไทยมักจะเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมปลายน้ำมากกว่า โปรดดูตารางสรุปภาพรวมวิเคราะห์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของประเทศไทย

ตารางสรุปภาพรวมการวิเคราะห์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของประเทศไทย

08 02-Aug

ที่มา : โครงการศึกษาผลกระทบและการกำหนดท่าทีไทยต่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล

09 02-Augมีความพยายามของ โปรแกรมฮาร์ดดิสค์ (HDDI) ศูนย์เทคโนโลยีอิเลกทรอนิคส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ “เนคเทค” ที่สนับสนุนให้ เอกชน SME ไทยออกแบบ ผลิต และจำหน่าย เครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ความละเอียดสูงให้ ผู้ประกอบการฮาร์ดดิสค์ในไทย (Multinationals) ทั้งนี้เพื่อแข่งขันกับ SME ของสิงคโปร์และมาเลเซีย ที่เข้ามารับงานปีละหลายพันล้านบาทจากอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์ในประเทศไทย บริษัทเหล่านี้แข็งแกร่งกว่าบริษัทคนไทยมากเพราะได้รับการสนับสนุนจากรั้ฐบาลของประเทศทั้งสองมาช้านาน ผมเองเชื่อมั่นความสามารถทางเทคนิคของบริษัทไทยอย่างมากจากการติดตามผลงานจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ทาง HDDI ได้สนับสนุนมีตั้งแต่ ค่าใช้จ่ายในการการออกแบบ การสร้างเตรื่องต้นแบบเฉพาะส่วน Non-Commercial Parts จนถึงขั้นตอนการลดต้นทุนในการผลิตมากชิ้น (Replication) หากมีโอกาสภายหน้าผมจะนำรายละเอียดเรื่องนี้มารายงานเพื่อเป็นตัวอย่างแก่อุตสาหกรรมอื่นๆครับ

ส่วนทางด้านการประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆ ได้แก่ ด้านการแพทย์ ด้านการทหาร และด้านการศึกษา ประเทศไทยมีแนวโน้มความต้องการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในด้านต่างๆเหล่านี้มากขึ้น โดยในปัจจุบันประเทศไทยยังมีความสามารถในการผลิตระบบเองในประเทศได้น้อยและมีมูลค่าการนำเข้าระบบจากต่างประเทศสูงมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา