สมองไทยช่วยประหยัด
โปรแกรมฮาร์ดดิสค์ไดรฟ์ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติได้ประสานงานนักวิจัยไทยจากมหาวิทยาลัยต่างๆกว่า 28 มหาวิทยาลัยให้มาทำงานร่วมกับ อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์ในประเทศไทย ทางโปรแกรมได้รวบรวมผลงานไว้เพื่อรายงานต่อรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านผลกระทบการประหยัดงบประมาณในอุตสาหกรรม ผมขอยกตัวอย่างที่เด่นๆ เนื่องจากมีพื้นที่จำกัดดังนี้ครับ
บริษัท เวสเทิร์นดิจิตัล (ประเทศไทย) จำกัด และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โครงการ MHO Space Optimization
ประหยัด 8,100 ล้านบาท
จากการที่โครงการ ได้นาเทคโนโลยีที่ได้จากโครงการไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ของบริษัท เวสเทิร์นดิจิตัล (ประเทศไทย) จากัด สามารถสร้างผลกระทบได้ดังนี้ 1. สามารถเพิ่มผลผลิตรวมของโรงงานโดยใช้พื้นที่เท่าเดิม ได้ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ (ซึ่งเป็นผลจากกาลังการผลิตของหน่วยผลิต HGA เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 17 เปอร์เซ็นต์) 2. ลดการลงทุนในการสร้างอาคารสาหรับการผลิตเพิ่มขึ้น สามารถปรับปรุงสถานที่มีอยู่และปรับสายการผลิตก็สามารถดาเนินการได้ 3. ได้กระบวนการผลิตใหม่ โดยใช้องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการนามาประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิตของโรงงาน 4. รับนักศึกษาปริญญาโทที่ร่วมในโครงการเข้ามาเป็นพนักงานของบริษัทฯ ผลกระทบในภาพรวมของโครงการรวมกันทั้งสิ้นไม่ต่ากว่าปีละ 232.8 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งผลกระทบดังกล่าวได้หักค่าการลงทุนเป็นจานวน 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีแล้ว ทั้งนี้ ผลกระทบดังกล่าวบริษัท เวสเทิร์นดิจิตัล (ประเทศไทย) จากัด
บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จากัด และ มหาวิทยาลัยของรัฐ
โครงการ HSA Process Development
ประหยัด 88.16 ล้านบาท
ปัจจุบันความต้องการของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านความจุ และ คุณภาพในการใช้งาน ดังนั้นบริษัทจึงจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทาการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในอุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟจะพบว่าการวิจัยและพัฒนาเทคนิค และกระบวนการ ผลิตใหม่ ๆ จะดาเนินการในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก จากนั้นจะดาเนินการผลิตในประเทศไทย จึงทาให้หน่วยผลิตในประเทศไทยต้องเสียเวลาไปกับการเรียนรู้ เพื่อให้คุ้นเคยกับเทคนิคใหม่ก่อน ที่จะสามารถดาเนินการผลิตในจานวนมากได้ และเมื่อพบแนวทางที่ดีกว่า ก็จะต้องดาเนินการเปลียนแปลงผ่านทางสหรัฐอเมริกา ทาให้เกิดความล่าช้า ไม่สามารถรองรับกับปริมาณการผลิตเป็นจานวนมากได้ทัน ทาให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดล่าช้าไม่ทัน ต่อความต้องการ ดังนั้นเพื่อให้เพื่อให้การวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จึงสมควรย้ายกิจกรรมการพัฒนาและวิจัยเทคนิค และกระบวนการผลิตมาใกล้ฐานการผลิตในเมืองไทย เมื่อ จาเป็นต้องมีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ ของกระบวนการก็จะสามารถดาเนินการได้รวดเร็ว ซึ่งจะทาให้ได้ ผลิตภัณฑ์ ที่สมบูรณ์ตรงความต้องการของตลาดโลกได้ทันเวลา สวทช.โดยโปรแกรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ จึงร่วมมือกับบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จากัด จึงได้ดาเนินการโครงการฝึกอบรมทางเทคนิคและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงในต่างประเทศสาหรับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้1.จัดตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคนิคและกระบวนการผลิต HSA ( HSA Process Development ) ในประเทศไทย2.พัฒนาวิศวกร และช่างเทคนิคให้มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ชั้นสูงโดยการปฎิบิติงานจริง3.ถ่ายทอดงานและองค์ความรู้ด้านเทคนิค และกระบวนการผลิต รวมถึงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สู่ประเทศไทย ผลกระทบที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 25521. การลงทุนเพิ่ม : มีการจัดตั้งหน่วยงาน HSA Process Development ขึ้นในประเทศไทย ณ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จากัด โดยมีการขนย้านเครื่องมือและอุปกรณ์จากบริษัทซีเกท ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเมินมูลค่าไม่ได้ พร้อมทั้งมีการจ้างงานเพิ่มในประเทศไทย มีมูลค่างานจ้างเท่ากับ 55 ล้านบาท ซึ่งได้จ้างในปี 2552 เท่ากับ 34.5 ล้านบาท 2. การลดอัตราสูญเสียในกระบวนการผลิต : ในปี 2552 โปรแกรมได้ส่งวิศวกรจาก บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จากัด จานวน 34 คน และบุคลากรจากภาครัฐ จานวน 8 คน ไปฝึกอบรมด้าน HSA Processing ณ บริษัท ซีเกท ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งหมด 9 กระบวนการและ 4 เทคโนโลยี หลังจากฝึกอบรมแล้วบุคลากรดังกล่าวได้นาความรู้ที่ได้เข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต ณ โรงงาน บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จากัด สามารถลดอัตราการสูญเสียในกระบวนการผลิตได้มากกว่า 4.2 ล้าน USD ในช่วงปี 2552-2554 ซึ่เป็นของช่วงปี 2552 เท่ากับ 1.67 ล้าน USD หรือ 53.66 ล้านบาท 3. มีการฝึกอบรมให้กับบุคลากรในประเทศด้าน HSA Processing โดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ มีผู้เข้าอบรมรวม 3,592 คน ซึ่งเป็นบุคลากรของ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จากัด จานวน 3,344 คนและเป็นบุคลากรทั่วไปจานวน 248 คน ผลงานในส่วนนี้ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบได้ ณ ปัจจุบัน
บริษัทฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จากัด และ มหาวิทยาลัยของรัฐ
โครงการ โครงการปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อการผลิต HDD ให้กับ Hitachi GST (TT)
ประหยัด 140 ล้านบาท
โครงการนี้เป็นการส่งนักวิจัยจากภาครัฐจานวน 4 คนและวิศวกรจากบริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จากัด ไปฝึกอบรม ณ บริษัท ฮิตาชิ ประเทศญี่ปึ่น เรื่อง1. ฮาร์ดแวร์และขั้นตอนการใช้งานของ Automation Tester และการติดตั้งเครื่องจักรและการติดตั้งโปรแกรมของ Automation Tester2. การออกแบบและตรวจวิเคราะห์แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องทดสอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เมื่อนักวิจัยและวิศวกรกลุ่มนี้เดินทางกลับมาแล้ว บริษัทฯ จะใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมของกลุ่มดังกล่าว มาปรับปรุงกระบวนการผลิตของบริษัทฯ ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบได้ดังนี้ 1. ลด WIP (work in process) ในกระบวนการทดสอบ 2. เพิ่มกาลังการผลิต 15 % 3. ลดการลงทุนด้านอาคาร โดยจานวน cell ต่อพื้นที่ดีขึ้น 40%4. เกิดการ transfer เทคโนโลยีจากญี่ปุ่นสู่ไทย รวมผลกระทบในปี 2552 เท่ากับ 140 ล้านบาท
ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th