นวัตกรรมหุ่นยนต์ เพื่อการต้อนรับและการบริการ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

นวัตกรรมหุ่นยนต์ เพื่อการต้อนรับและการบริการ

logo robot brain

นวัตกรรมหุ่นยนต์ เพื่อการต้อนรับและการบริการ

“นะโม” (NAMO : Novel Articulated MObile platform) เป็นหุ่นยนต์ที่ท่อนบนมีลักษณะเป็น humanoid2010-09-27 01 ส่วนฐานล่างเคลื่อนที่ด้วยล้อ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและเสถียรภาพในการเคลื่อนที่  นะโมได้รับเชิญไปหลายงานเพื่อช่วยงานต้อนรับ และนำเยี่ยมชมสถานที่ ซึ่งต่อไปอาจปรับเปลี่ยนไปใช้ในการแสดงแนะนำสินค้า นำชมสถานที่ต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ เป็นต้น

นะโมมีความสูงประมาณ 130 cm ประกอบด้วยมอเตอร์ที่ข้อต่อต่างๆในร่างกายท่อนบน 16 ตัวด้วยกัน และท่อนล่างเป็นฐานสามล้อที่สามารถเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทาง (Three-wheeled Omnidirectional Mobile Base)  นะโมสามารถทำท่าทางต่างๆจากการใช้เทคนิคการรู้จำท่าทาง หันศีรษะติดตามวัตถุที่สนใจได้โดยอัตโนมัติ โดยอาศัยเทคนิคการประมวลผล ภาพจะได้จากกล้องที่ติดอยู่ภายในศีรษะ นะโมพูดประโยคง่ายๆในภาษาไทยได้ นะโมบังคับการทำงานของส่วนต่างๆของเขาได้โดยการควบคุมแบบไร้สาย

ดร. ถวิดา มณีวรรณ์ ผู้ให้กำเนิด “นะโม” ได้เสนอโครงการต่อยอดเพิ่มกำลังแขนเพื่อให้หยิบจับสิ่งของต่างได้มากขึ้น ปรับปรุงการแสดงท่าทางให้คล้ายมนุษย์มากขึ้น เพิ่มความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ให้สามารถที่จะรับรู้ และตอบสนองในคำสั่งได้พัฒนาซอฟท์แวร์ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น และปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานได้ง่ายจนสามารถช่วยงานประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น  ในขณะนี้มีบริษัทได้ติดต่อขอให้นะโมไปเป็นพีอาร์ส่งเสริมการขาย เพื่อดึงดูดลูกค้า

ผมเองสังเกตในหลายโอกาสที่นะโมไปโชว์ตัวในงานแสดงเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พบว่าเยาวชนให้ความสนใจนะโมมาก ผมคิดว่านะโมได้แสดงบทบาทที่มีคุณค่ายิ่งในการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของเด็กๆไทยตัวน้อยๆ เยาวเรศ (Young Generation) เหล่านี้คืออนาคตสำคัญของชาติเรา ผมอยากเห็นว่าส่วนหนึ่งของเขาเหล่านั้นเติบโตขึ้นเป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร ที่สามารถสร้างสรรเทคโนโลยีของตนเองให้ประเทศไทยเข็มแข็งและไม่ต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาติตลอดไป

2010-09-27 02นอกจากนี้ นะโมยังเป็นตัวอย่างของการประหยัดงบประมาณของประเทศทดแทนการนำหุ่นยนต์ราคาแพงจากต่างประเทศมาแสดงได้ นำเข้าหุ่นยนต์เหล่านั้นมาแสดงอย่างเดียวแต่ไม่รู้ว่าหุ่นยนต์เหล่านั้นทำงานอย่างไร? ไม่คุ้มค่าเลยครับ นะโมได้เพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก่อให้เกิดการสร้างธุรกิจด้านหุ่นยนต์เพื่อการบริการ ประชาสัมพันธ์และการตลาดขึ้นในประเทศไทย

ผมจึงขอเรียนเชิญชวน ท่านผู้อ่านและบริษัทไทยมามีส่วนร่วมกับการพัฒนา “นะโม” เพื่อเป้าหมายข้างต้น ท่านสามารถติดต่อให้การสนับสนุนและสร้างความร่วมมือนี้ได้ที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ครับ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา