นะโมบรรเลงสมู
ณ. สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ทีมพัฒนาหุ่นยนต์ “นะโม” (NAMO: Novel Articulated MoOile platform) ได้เพิ่มความสามารถให้แก่นะโมขึ้นอีกระดับหนึ่ง ในการบรรเลงดนตรีสมู (SMu: Sonar based Musicla instrument) ท่านผู้อ่านสามารถรับฟังเพลง ค้างคาวกินกล้วย ช้าง และลอยกระทงได้จาก เว็ปไซด์ฟีโบ้ครับ (www.fibo.kmutt.ac.th)
สำหรับเครื่องดนตรีสมู เป็นผลงานของ รศ.ดร. สยาม เจริญเสียง เป็นเครื่องดนตรีที่สามารถเล่นเสียงตัวโน้ตของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆได้มากกว่า100 ชนิด โดยที่ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับเครื่องดนตรีโดยตรง เพียงแค่เคลื่อนมือผ่านด้านหน้าของอุปกรณ์วัดของสมู อุปกรณ์วัดจะทำการแปลงระยะทางของมือไปเป็นเสียงตัวโน้ตและระดับความดังเบาของเครื่องดนตรีให้ตามที่ผู้เล่นต้องการ สมูประกอบด้วยอุปกรณ์วัดประเภทอุลตร้า โซนิคซึ่งใช้สำหรับวัดระยะทางโดยใช้การส่งคลื่นเสียงออกไป เมื่อคลื่นเสียงตกกระทบกับวัตถุแล้ว จะเกิดการสะท้อนกลับของคลื่นมายังอุปกรณ์วัดอุลตร้าโซนิค เวลาที่วัดได้จากการส่งและรับคลื่นเสียงจะนำมาคำนวณหาระยะห่างระหว่างวัตถุกับอุปกรณ์วัดอุลตร้าโซนิค แล้วจึงนำค่าระยะทางที่คำนวณได้มาแปลงเป็นตัวโน้ตหรือระดับความดังเบาของดนตรี
ผู้ใช้สามารถเลือกเสียงของเครื่องดนตรีที่ต้องการเล่น และกำหนดระยะทางการเปลี่ยนแปลงของตัวโน้ตดนตรีหรือความดังเบาให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคนได้โดยผ่านทางโปรแกรมที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยป้อนค่าระยะทางของตำแหน่งมือที่อยู่ห่างจากอุปกรณ์วัดอุลตร้าโซนิคตามตัวโน้ตหรือระดับความดังเบาที่ต้องการ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกอัพเดทโดยทันที ทำให้ผู้ใช้สามารถเล่นดนตรีโดยการเคลื่อนมือผ่านด้านหน้าอุปกรณ์วัด ซึ่งเสียงดนตรีหรือระดับความดังเบาจะเปลี่ยนไปตามระยะทางที่มือผ่าน
น้องๆที่สนใจ สามารถชวนคุณพ่อคุณแม่ มาเล่นดนตรีสมูร่วมกับหุ่นยนต์นะโมได้ที่ สถาบันวิมยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ครับ
ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
http://th.wikipedia.org/wiki/ชิต_เหล่าวัฒนา