ระบบการออกแบบและผลิตเบ้าขาเทียมและแผ่นรองรองเท้าโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

ระบบการออกแบบและผลิตเบ้าขาเทียมและแผ่นรองรองเท้าโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

logo robot brain
ระบบการออกแบบและผลิตเบ้าขาเทียมและแผ่นรองรองเท้าโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

ปัจจุบันมีผู้พิการขาจำนวนมากขึ้นไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุหรือโรคต่าง ๆ ที่ทำให้ต้อง
ตัดขาทิ้งไป ซึ่งทำให้ต้องมีการออกแบบขาเทียมให้มีคุณสมบัติเฉพาะเหมาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน
เพื่อให้สวมใส่และใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะการทำ
เบ้าขาเทียมนั้นมีความสำคัญมากเพราะเบ้าจะต้องรับน้ำหนักตัวของผู้พิการจากตอขาลงมาสู่เบ้า
และจากเบ้าลงสู่พื้นโลกซึ่งเบ้านั้นต้องกระชับพอดีกับทุกส่วนกับตอขา ไม่มีจุดกดเจ็บ และสามารถเดิน
ได้เหมือนธรรมชาติ ดังนั้นการทำเบ้าขาเทียมจึงเป็นงานที่ต้องการความละเอียดและการออกแบบที่
เหมาะสำหรับผู้พิการแต่ละบุคคลเพื่อให้มีรูปร่างและขนาดพอดีกับตอขา

เท้าเป็นอวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย จากกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น การเดิน การวิ่ง
เป็นต้น เท้าจึงต้องรับแรงกระแทกต่าง ๆ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับเท้านั้นมีอยู่ด้วยกันหลายอย่างทั้งจากการ
ใช้งานที่ไม่ถูกวิธี หรือการไม่ดูแลรักษาเท้าให้ดูต้อง หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของตัวกระดูกเท้าเอง
เพราะฉะนั้นการวินิจฉัยอาการเจ็บเท้านั้นจึงต้องพิจารณาจากหลายๆ สาเหตุด้วยกัน ตัวอย่างปัญหาที่เกิด
กับเท้าเช่น อาการเท้าพอง โรคตาปลา โรครองช้ำ อาการเจ็บเอ็นร้อยหวาย และอื่นๆ อุปกรณ์เสริมเท้า
(Foot Orthosis)เป็นอุปกรณ์เสริมอย่างหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับรับน้ำหนักบริเวณฝ่าเท้า
ดังนั้นการผลิตแผ่นรองรองเท้าจึงเข้ามามีบทบาทในวงการกายอุปกรณ์มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการการผลิตเบ้าขาเทียมและแผ่นรองรองเท้ามีขั้นตอนหลายขั้นตอนซึ่งสามารถ
ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดเวลาในการผลิตและเป็นอุปกรณ์เสริมการทำงานของนักกายอุปกรณ์ โดยงานวิจัยนี้
นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้าน CAD CAM เพื่อสร้างระบบที่สามารถช่วยในกระบวนการผลิต
ทั้งเบ้าขาเทียมและทำแผ่นรองรองเท้า ดังนั้นจึงได้มีการทำงานร่วมกันกับศูนย์สิรินธรในในการพัฒนาระบบ
ดังที่กล่าวมา เนื่องจากทางศูนย์สิริธรมีการนำเทคโนโลยี CAD CAM มาใช้ในการทำเบ้าขาเทียมแต่
ประสบกับปัญหาการบำรุงรักษาที่ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาจากต่างประเทศจึงไม่สามารถใช้งานได้ในปัจจุบัน
อีกทั้งระบบที่ช่วยในการทำแผ่นรองรองเท้าด้วยเทคโนโลยี CAD CAM ของทางศูนย์สิรินธรมีเพียงระบบ
ที่ใช้ในการวิเคราะห์ฝ่าเท้าของผู้ป่วยเท่านั้นจึงได้มีความร่วมมือกัน เพื่อนำระบบดังกล่าวมาแก้ไขและปรับปรุง
ให้สามารถใช้งานได้ทั้งการทำเบ้าขาเทียมและแผ่นรองรองเท้าในระบบเดียวกัน

ดร.อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ แห่งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ได้ออกแบบและพัฒนาระบบ CAD/CAE/CAM และเครื่อง Carver เพื่อช่วย
ในการออกแบบและผลิตเบ้าขาเทียมและแผ่นรองรองเท้า ระบบนี้จะช่วยลดขั้นตอนในการผลิตและการทำงาน
ของนักกายอุปกรณ์ ทีมงานฟีโบ้ทำงานร่วมกับศูนย์สิรินธรเพื่อที่จะปรับปรุงระบบการทำงานเก่าที่มีอยู่แล้วที่
ศูนย์สิรินธร ให้สามารถเพิ่มหน้าที่การทำงานของเครื่องทำเบ้าขาเทียมเพียงอย่างเดียวเป็นสามารถทำแผ่น
รองของรองเท้าได้ด้วย

กรอบแนวความคิดของโครงงานวิจัยจะประกอบไปด้วย (1) คอมพิวเตอร์ จะมีหน้าที่รับข้อมูลจาก Digitizer
และ DigiPad จากนั้น นักกายอุปกรณ์จะใช้โปรแกรม shapeMaker ทำการตรวจสอบและออกแบบเบ้า
ตอขาและโปรแกรม RothBaller สำหรับแผ่นรองรองเท้า โดยนำวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มาช่วยในการวิเคราะห์
แบบเบ้าตอขา จากนั้นจึงส่งข้อมูลแบบเบ้าตอขาและแบบแผ่นรองรองเท้าไปยังเครื่อง Carver ต่อไป
(2) Digitizer ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลของเฝือกที่ใช้ในการหล่อตอขาของผู้พิการ (3) DigiPad
ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลฝ่าเท้าของผู้ป่วย (4) Carver เป็นเครื่อง CNC ที่ใช้ในการสร้างตอขาผู้พิการ
(Positive Mold) และสร้างแผ่นรองรองเท้า (Foot Orthosis

2011 02 2101

2011 02 2102
รายละเอียดและขั้นตอนการทำงานของระบบโดยรวม
ขั้นตอนการทำเบ้าขาเทียม
1. หล่อเฝือกจากตอขาผู้ป่วยเพื่อให้ได้ลักษณะตอขา
2. เก็บข้อมูลลักษณะตอขาจากเฝือกด้วยเครื่อง Digitizer
3. สร้างแบบจำลองตอขาเทียม (Positive mold) ด้วยโปรแกรม shapeMaker
4. วิเคราะห์ลักษณะตอขาและปรับแบบจำลองตอขาเทียมด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
5. ขึ้นรูปตอขา (Positive mold) ด้วยเครื่อง Carver

ขั้นตอนการทำแผ่นรองรองเท้า
1. เก็บข้อมูลฝ่าเท้าของผู้ป่วยด้วย DigiPad
2. ออกแบบแผ่นรองรองเท้าด้วยโปรแกรม RothBaller
3. ประกอบชุดสำหรับทำแผ่นรองรองเท้า
4. ส่งข้อมูลไปที่เครื่อง Carver เพื่อผลิต

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
http://th.wikipedia.org/wiki/ชิต_เหล่าวัฒนา

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา