วิชาการหุ่นยนต์ไทย - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

วิชาการหุ่นยนต์ไทย

logo robot brain

วิชาการหุ่นยนต์ไทย

     สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย(Thai Robotics Society) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยกลุ่มนักวิชาการด้านวิทยาการหุ่นยนต์จากหลายมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน สมาคมฯมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนันสนุนให้เกิดร่วมมือทางด้านวิชาการ การพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ความรู้ และสนับสนุนกิจกรรมด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ให้แพร่หลายในสังคม ปัจจุบัน มี ดร.ถวิดา มณีวรรณ์ เป็นนายกสมาคมฯ

2011-05-2301

     ปีนี้ครอบรอบสิบปี ทางสมาคมจึงได้จัดการประชุมวิชาการทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์ ขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2554 นี้ ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. อาคารจัตุรัสจามจุรี กรุงเทพฯ [ข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.trs.or.th] ถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งในการเผยแพร่ผลงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์ อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่นักวิจัยจากสถาบันต่างๆทั่วประเทศตลอดจนนักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ วิศวกร และผู้ที่สนใจ ได้ใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์อย่างกว้างขวาง จนถึงมุมมองด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์ในอนาคต ซึ่งผลลัพท์ที่ได้ย่อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทย หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ได้

2011-05-2302

     หัวข้อในงานประชุมวิชาการทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์ ๒๕๕๔ นี้มีความหลากหลายครอบคลุมด้าน Robotics and Automation, Modeling and Identification, Industrial Technology, และ Control Theory and Intelligent Systems

 

นอกจากนี้ยังมีการจัด สัมนาพิเศษ จากกลุ่มวิทยากรที่มีความรู้เฉพาะทางด้านหุ่นยนต์ดังนี้ หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ จาก สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หุ่นยนต์กู้ภัยและจักรยานหุ่นยนต์:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หุ่นยนต์เพื่อนอัจฉริยะ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หุ่นยนต์เตะฟุตบอล:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 

นอกจากนี้ ทางสมาคมยังได้รับเกียรติจากคุณเฉลิมพล ปุณโณทก ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทซีที เอเชีย โรโบติกส์ จำกัด มาบรรยายใน หัวข้อ การพัฒนาหุ่นยนต์จากห้องวิจัยสู่ตลาดโลก อีกด้วยครับ

 

 

วันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขัน TPA Robot Contest ชิงแชมป์ระดับอุดมศึกษา จึงมีโอกาสหารือกับกรรมการของสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยหลายท่าน พวกเราวางแผนว่าจะจัด มหกรรมหุ่นยนต์โลกในไทย: “World RoboCup 2013” ซึ่งเหลือเวลาเตรียมการอีกสองปี คงต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนอย่างมากเพื่อจัดงานครั้งยิ่งใหญ่นี้ให้สำเร็จครับ

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา