ทฤษฎีใหม่:
บทวิเคราะห์ในแง่อุทกศาสตร์
ศาสตราจารย์เดนนิส แมคคลัฟลิน อาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาซูเซส (เอ็มไอที) ได้รับการแต่งตั้งเป็น H.M. King Bhumibol Professor of Water Resource Management. ลูกศิษย์คนหนึ่งของศาสตราจารย์แมคคลัฟลินคือ ดร. สุธาภา อมรวิวัฒน์ ได้ทำงานวิจัยระดับปริญญาเอกเกียวกับทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังปรากฎในรายงานน้อมเกล้าถวาย ฉบับเต็มสามารถดูได้จาก เว็ป https://fibo.kmutt.ac.th ส่วนหนึ่งของรายงานมีดังต่อไปนี้ครับ
ทฤษฏีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวคิดและวิธีการพัฒนาชนบทที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการขุดสระในที่ดินของเกษตรกรเพื่อกักเก็บน้ำฝนสำรองไว้สำหรับการเกษตรในช่วงแห้งแล้ง การขยายผลโครงารการพัฒนาการเกษตรตามแนวคิดทฤษฏีใหม่ได้มีการรับไปปฏิบัตในหลายพื้นที่ รายงานฉบับนี้ได้เลือกโครงการ ณ วัดมงคลชัยพัฒนาจังหวัดสระบุรี ซึ่งประกอบด้วยสระน้ำขนาดเล็กในแปลงของเกษตรกรโดยรวมกว่า ๒๐ สระ แต่ละสระได้รับน้ำเสริมจากอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวตามหลักการบ่อใหญ่เติมบ่อเล็ก รายงานฉบับนี้สำรวจความเป็นไปได้ในการกักเก็บน้ำฝนและน้ำผิวดินภายในที่ดินของเกษตรกรโดยปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะแก่การไหลเวียนของน้ำไปยังสระ และร่องน้ำในแปลงนาเพื่อสำรองใช้ต่อไปในช่วงที่ขาดแคลน ที้งนี้ปริมาณน้ำที่มีจะต้องเพียงพอสำรับการปลูกข้าวนาปี รายงานฉบับนี้ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ water balance analysis ซึ่งพิจารณาปริมาณน้ำที่กักเก็บในชั้นผิวดินและชั้นใต้ดิน รวมทั้งปริมาณน้ำที่ไหลผ่านขั้นเก็บน้ำดังกล่าว คณะศึกษาสร้างแบบจำลองของแปลงการเกษตรที่ติดกับเขตศูนย์ศึกษาโครงการตามพระราชดำริ วัดมงคลชัยพัฒนา ประกอบด้วยสระน้ำ ๑ สระ ขนาด ๑.๕ ไร่ ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น ๑๙ ไร่ เกษตรกรปลูกข้าว มะลิ และผลไม้แบบจำลองอาศัยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ธรณีวิทยา และการเกษตรเป็นหลักในการคำนวณปริมาณน้ำในแต่ละวันที่กักเก็บในชั้นผิวดิน ได้แก่ น้ำบริวเณสระน้ำและนาข้าว และปริมาณความชื้นในชั้นใต้ดินของพืชแต่ละชนิดผลการวิเคราะห์จากแบบจำลองซึ่งใช้ข้อมูลของปีพ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๔๑ พบว่ามีปริมาณน้ำเพียงพอแก่การปลูกข้าวแม้แต่ในปีที่แห้งแล้ง ปริมาณน้ำในสระอยู่ในระดับสูงในฤดูการปลูกข้าว และโดยปกติสระสามารถเก็บน้ำไว้ได้ตลอดปี ยกเว้นในปีที่แห้งแล้งมากสระน้ำอาจแห้งขอดแต่จะเกิดขึ้นหลังฤดูปลูกข้าวนาปีดังนั้นจึงไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตของข้าวในปีนั้นๆ และปริมาณความชื้นใต้ผิวดินของพืชทั้ง ๓ ชนิดอยู่ในระดับที่พอเพียงแก่การอยู่รอดของพืชตลอดปี โดยสรุป ผลการวิเคราะห์เสนอว่าการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตพอเพียงในจังหวัดสระบุรีไม่จำเป็นต้องรับน้ำเพิ่มเติมจากแหล่งน้ำภายนอก เช่น อ่างเก็บน้ำ
รายงานฉบับนี้นำเสนอโครงสร้างการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการจัดระบบกักเก็บน้ำในแปลงการเกษตร (water havesting) ในจังหวัดสระบุรี ทั้งนี้หลักการพื้นฐานยังสามารถนำไปใช้ได้ในพื้นที่อื่นๆโดยปรับข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ธรณีวิทยา และการเกษตรให้เป็นของพื้นที่นั้น หลักการ water havestingน่าจะทำให้เกิดประโยชน์ในการนำทฤษฏีใหม่มาประยุกต์ใช้ แม้ว่าในแต่ละพื้นที่อาจจะมีความแตกต่างทางปัจจัยที่เอิ้อให้เกิดความสำเร็จอนึ่ง ประสิทธิผลของการศึกษาข้างต้นขึ้นอยู่กับความถูกต้องของข้อมูลที่นำมาใช้ในแบบจำลองดังนั้นรายงานฉบับนี้ได้เสนอแนะให้มีการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม อาทิ ลักษณะทางกายภาพของดิน ระดับน้ำใต้ดิน และอัตราการไหลของลำน้ำ รวามทั้งการจัดตั้งสถานีจัดเก็บข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาในบริเวณศูนย์ศึกษาของโครงการตามพระราชดำริ การศึกษาทางอุทกศาสตร์ในชั้นต่อไปควรพิจารณาการจัดสรรน้ำในพื้นที่ที่กว้างกว่าแปลงเกษตร เช่น พื้นที่ในขอบเขตสันปันน้ำ (watershed) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรควรศึกษาควบคู่กันไปทั้งทางด้านกายภาพและลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้สามารถนำหลักการไปปฏิบัติได้จริงและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสูด ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาตามทฤษฏีใหม่ทั้ง ๓ ขั้น ซึ่งจะช่วยให้ภาคเกษตรกรรมของประเทศก้าวจากระดับครัวเรือนสู่ระดับชุมชนที่แข็งแกร่งขึ้น สมดั่งพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว