สวนอุตสาหกรรม
สวนอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ).ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐทั้งในส่วนของการพัฒนาพื้นที่และการจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน ตั้งแต่ปี 2543-2554 ในงบประมาณทั้งสิ้น 2,393 ล้านบาท ผลการดำเนินงานของสวนอุตสาหกรรม มจธ.ในการพัฒนาเทคโนดลยีให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้จริงเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2543-2554 เริ่มจากการทำวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการในโครงการวิจัยจำนวน 775 โครงการและสามารถพัฒนาเป็นเทคโนโลยีได้ 76เทคโนโลยี(9.81 %)และได้ทำการขยายขนาดพร้อมประเมินความเป็นไปได้ในการผลิตเชิงพาณิชย์ซึ่งทำให้ได้เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่สามารถนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้ 38 เทคโนโลยีคิดเป็นการนำโครงการวิจัยพัฒนาไปสู่ผลงานวิจัยพร้อมใช้เป็น4.90 %และจากผลงานวิจัยพร้อมใช้ 38 เทคโนโลยีในปัจจุบันได้นำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ให้เกิดการใช้งานจริงจำนวน 20 เทคโนโลยีหรือคิดเป็นผลงานที่นำไปสู่การใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ 2.58 %เมื่อเปรียบเทียบจากโครงการวิจัยย่อยเริ่มต้น และคิดเป็น 26.32 %เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น(76เทคโนโลยี)และคิดเป็น 52.63% ของเทคโนโลยีพร้อมใช้ที่พัฒนาขึ้น(38เทคโนโลยี) ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงการพัฒนาจากโครงการวิจัยไปสู่เทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริงเชิงพาณิชย์ของสำนักสวนอุตสาหกรรม
สามารถสรุปผลงานของสวนอุตสาหกรรม มจธ.ที่นำไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์เป็นดังนี้
- ได้เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่สวนอุตสาหกรรม มจธ.พัฒนาขึ้นและประสบความสำเร็จในการนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จำนวน 20 เทคโนโลยีในด้านอาหาร อาหารสัตว์ เชื้อเพลิงพลังงานและสิ่งแวดล้อม และอาหารเสริมสุขภาพ
- ได้เทคโนโลยีที่เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงโดยมีอุตสาหกรรมนำไปใช้ประโยชน์ทั้งสิ้นจำนวน 112 ราย
- ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านการสร้างงาน สร้างรายได้และการใช้วัตถุดิบในประเทศประเมินออกมาเป็น Outcome ที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 9,790 ล้านบาท ดังแสดงให้เห็นใน ตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงเทคโนโลยีพร้อมใช้ที่พัฒนาขึ้นของสวนอุตสาหกรรม มจธ.และถูกนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้กับอุตสาหกรรมSMEจำนวน 137 ราย และ การประมาณค่าOutcome ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ 2543-2554) ซึ่งมีมูลค่าประมาณการ ผลลัพธ์ (Outcome) 9,790 ล้านบาท
มจธ.เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวที่สร้างขีดความสามารถในด้านการจัดสร้างโรงงานต้นแบบในกระบวนการผลิตวัคซีน ยา และสารมูลค่าสูงเพื่อใช้ในการขยายขนาดการผลิต (Scale Up) จากระดับห้องปฏิบัติการสู่ระดับต้นแบบ ใช้ในการทดลองผลิตเพื่อทดสอบในคน (Clinical Trial Phase I& II )และผลิตเพื่อทดลองตลาดก่อนนำไปผลิตจริงเชิงพาณิชย์ (Pre-Commercial ) โดยอาศัยความเชี่ยวชาญจากวิศวกรและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ให้การสนับสนุนในงานระบบและกระบวนการผลิต และได้พัฒนาโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุระดับชาติ (National Biopharmaceutical Facility ,NBF)ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยโดยความร่วมมือระหว่าง มจธ.และ สวทช.เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองของประเทศด้านกระบวนการผลิตยา/วัคซีนและสารมูลค่าสูงทางการแพทย์และรองรับAsian Harmonizationตามเป้าหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมเพื่อสร้างความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ และมุ่งเน้นในการพัฒนาด้านยาชีวภาพหรือสารชีวภาพมูลค่าสูง (BioPharmaceutical)ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เน้นการพึ่งพาตนเองของประเทศในการผลิตยารักษาโรคขึ้นใช้เองในประเทศ ซึ่งการพัฒนาโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุระดับชาติ (National Biopharmaceutical Facility ,NBF)นี้จะช่วยในขั้นตอนการพัฒนากระบวนการผลิตยาชีวภาพ/วัคซีนจากระดับห้องปฏิบัติการสู่การผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตยาขึ้นใช้เองในประเทศ อันเป็นขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นในการพัฒนากระบวนการผลิตวัคซีน ยา และสารมูลค่าสูงทางการแพทย์ซึ่งเป็นผลงานวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการให้ขึ้นสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง
ปัจจุบันนี้มีหน่วยงานจากมหาวิทยาลัยอื่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่งได้มีความสนใจเพื่อขอใช้โรงงานต้นแบบเหล่านี้ในการดำเนินการขยายขนาดการผลิตจากผลงานวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการสู่ระดับต้นแบบ และใช้ในการ ทดลองทดสอบในคนและและใช้ในการผลิตเพื่อทดลองตลาดก่อนที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนนำไปผลิตจริงเชิงพาณิชย์ (Pre-Commercial ) ซึ่งได้สรุปให้เห็นถึงเครือข่ายความร่วมมือ ลูกค้า/ผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี ตัวอย่างเทคโนโลยี/ความสำเร็จ มูลค่าเทคโนโลยี/ค่าบริการ และประมาณการมูลค่าoutcomeที่เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 21,300ล้านบาท ในภาพรวมของการใช้ประโยชน์จากโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุระดับชาติ (National Biopharmaceutical Facility ,NBF)ที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้งานของภาครัฐและเอกชน