ช่วยกันต่อยอดหุ่นยนต์ไทย - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

ช่วยกันต่อยอดหุ่นยนต์ไทย

logo robot brain

ช่วยกันต่อยอดหุ่นยนต์ไทย


brain 2011 09 04 01หลังจากเยาวชนไทยสร้างชื่อเสียง เป็นแชมป์โลกหุ่นยนต์อีกครั้งหนึ่ง คำวิพากษ์วิจารณ์รียกร้องให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือช่วยกันต่อยอดให้เด็กไทยมีโอกาสได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เกิดประโยชน์ก็เริ่มดังกระหึ่มขึ้นมาอีกครังหนึ่งอันที่จริงเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาทุกปีครับแต่จะพุดกันอยู่ไม่เกินสองสัปดาห์ก่อนที่จางหายไป และน้องๆที่เป็นแชมป์เหล่านี้ก็ได้รับโอกาสนำหุ่นยนต์ไทยของตนไปโชว์ความสามารถต่อหน้า พณฯนายกรัฐมนตรีเกือบทุกท่านด้วยครับ

ผมเชื่อว่าความสามาถของคนไทยด้านเทคโนโลยีไม่แพ้ใคร แต่เรื่องนี้เป็นเพียงต้นทางของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระหว่างเส้นทางของพัฒนายังคงต้องการแรงสนับสนุนจากรัฐบาลและคนไทยด้วยกันเองเรื่องนี้ขอให้เลียนแบบญี่ปุ่นนะครับรถยนต์ญี่ปุ่นเมื่อผลิตออกมาใหม่ๆ 50 ปีก่อนนั้นกระป๋องกระแป๋งเหลือเกิน วิ่งด้วยได้ด้วยความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คนญี่ปุ่นช่วยกันซื้อใช้กันเองก่อนเพื่อให้บริษัทรถยนต์มีทุนรอนในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไปอีก จนกระทั่งปัจจุบันรถยนต์ญี่ปุ่นไปลงสนามแข่งฟอร์มูล่าได้อย่างสบาย

หุ่นยนต์ไทยในระดับเชิงพาณิชย์ก็เช่นเดียวกัน วันแรกๆของเขาคงยืนหยัดเทียบชั้นกับรุ่นพี่ที่อเมริกา ญี่ปุ่น ไม่ได้หรอกครับ แม้ว่าลงสนามแข่งขันกันในระยะเวลาสั้นๆ หุ่นยนต์ไทยชนะขาด แต่ทว่าหุ่นยนต์ใช้งานจริงนั้นยังต้องเชื่อถือได้ (Reliability) ในขณะที่ต้องทำงานนานๆได้ดีด้วยหลายๆครั้งที่อุปกรณ์เครื่องมือที่เรานำเข้าจากต่างประเทศ set up อย่างไรก็ไม่ทำงานสักที เรากลับไปคิดเข้าข้างเขา โดยตำหนิตนเองว่าเราอาจจะอ่านคู่มือของเขาไม่เข้าใจแต่พออุปกรณ์ไทยประดิษฐ์ไม่ทำงานก็กล่าวโทษทันทีว่าของมันห่วยไม่ได้มาตรฐานวัฒนธรรมความเชื่อจนเป็นนิสัยเช่นนี้เราควรเลิกเสียให้ได้ หากเราต้องการเห็นประเทศไทยพัฒนาขึ้นเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีอีกประเทศหนึ่งในโลก

แน่นอนครับผมไม่ได้มีความคิดว่าต้องใช้อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ไทยทั้งหมดในสายการผลิตอุตสาหกรรมนัน้ ไมมีใครกล้าเสี่ยงให้มี down time จากเหตุเคริ่องจักรเสียได้บ่อยหรอกครับแต่คนไทยควรมีใจใช้ของไทยประดิษฐ์บ้าง สัก 20%-30% ของจำนวนนำเข้าจากประเทศ ก็จะช่วยให้บริษัทคนไทยเริ่มต้นยืนขึ้นมาได้ทั้งนี้รัฐบาลไทยควรมีมาตรการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทย พร้อมทั้ง subsidy และลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้เกิดแรงจูงใจให้ใช้ของไทยขึ้น

brain 2011 09 04 02

ผมเคยเชิญ ดร. ดาเนียล วิทนีย์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาซูเซสต์(MIT) มาบรรยายเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรีท่านอาจารย์วิทนีย์ สั่งสอนผมว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มิใช่ทำไปเลิกไปแบบไฟไหม้ฟาง ที่สำคัญคือลูกค้านั้นจะผูกพันกับความคิคสร้างสรรของบริษัทมากกว่าของผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่งดังนั้นในบริษัทต้องมีกลยุทธ์ระยะยาวในการบริหารจัดการเทคโนโลยีโดยต้องประสานจุดแข็ง (Core Competency) ของตน กับการพึ่งพาคนอื่น (Outsourcing) และ การทำวิศวกรรมย้อนรอย (Reverse Engineering) แนวโน้มในอนาคตนั้นผลิตภัณฑ์จะมีความซับซ้อนและบูรณาการด้วยเทคโนโลยีหลายอย่าง ซึ่งน้องๆที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์นั้นจะคุ้นเคยกับการประยุกต์ใช้ สหวิทยาการ (Multidisciplinary)อย่างไรก็ตามผมขอเชิญชวนให้พี่ๆนักธุรกิจไทยที่เชียวชาญการตลาดแวะกลับไปเยียมเยียนมหาวิทยาลัยที่จบมาช่วยกันถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องของตลาด ข้อบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขอื่นๆที่สำคัญ เช่นการรักษาสิ่งแวดล้อมและจะดีมากเลยครับหากรับเป็นพี่เลี้ยงหรือร่วมกันก่อตั้ง Angel-Venture Capital Fund ในภาคเอกชน สนับสนุนให้น้องๆที่เก่งเรื่องเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถสานฝันเป็นผู้ประกอบการเทคโนโลยีขึ้นมาได้

ผมมั่นใจว่า ในอุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆเมื่อมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้าไปแล้ว แนวความคิดหลักการทำงาน (Core Concepts) ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก (Overturned) และหากความสัมพันธ์ระหว่างหลักการทำงานและอุปกรณ์ภายในเปลียนแปลงไปอีกด้วย เราจะได้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Properties) ที่มูลค่าสูงเกิดขึ้น

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปฝ่ายวิจัยของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) จักทำงานร่วมกันโปรแกรมบัณฑิตศึกษาด้านผู้ประกอบการเทคโนโลยี (FIBO’s Technopernure Graduate Program) ในการสรรสร้างทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อเป็นบันไดสำคัญสู่เศรษฐกิจบนฐานความรู้ที่รัฐบาลไทยประกาศไว้เป็นนโยบายครับ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

http://th.wikipedia.org/wiki/ชิต_เหล่าวัฒนา

Twitter: @Dr_Djitt

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา