ยุคทองอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

ยุคทองอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์

logo robot brain

ยุคทองอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์

269 1

วันนี้ผมไปงานสัมมนา DST-Con 2011 ในงาน บีโอไอแฟร์ เพื่อฟังdkiบรรยายของเพื่อนเก่าร่วมมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน คือ Dr. Mark Re ปัจจุบันเป็นผู้บริหารระดับสูงด้านงานวิจัยและพัฒนาของบริษัทซีเกทเทคโนโลยีMark ได้ย้ำให้เห็นอีกครั้งว่า ความต้องการฮาร์ดดิสค์ของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังคงไร้คู่แข่งขัน แม้ผลิตภัณฑ์ด้านแฟลชเมมมอรี (SSD) จะได้รับการพัฒนาขึ้นมามากแล้วก็ตาม แต่สมรรถนะต่อราคายังเป็นรองฮาร์ดดิสค์อยู่มาก อีกทั้งการเกิดขึ้นมาของแฟลชที่ทำหน้าที่เป็น Mobile Storage (สำหรับมือถือ กล้องถ่ายรูป ไอแพด ฯลฯ) นั้นกลับทำให้ความต้องการ Permanent Storage มากขึ้น มีการคาดการณ์ว่าภายใน ปี 2015 อัตราส่วนถึงสองในสามของอุปกรณ์คิดคำนวณวางแผนได้ที่พวกเราจะใช้กันอย่างแพรหลายคือมือถือและแทปเล็ตแน่นอนครับว่าอุปกรณ์เหล่านี้ย่อมทำให้ปริมาณความต้องการฮาร์ดดิสค์และแฟลชเพิ่มขึ้นไปอีกมากผลผลิตในปี 2011 ที่ผ่านมามีถึง 700 ล้านยูนิตแล้ว ผมคิดว่าไม่นานคงจะเกิน 1,000 ล้านยูนิตต่อปีตลาดหลักคือ Consumer Electronics, Client Computing, Cloud Computing และ Tablet-Smart Phone ปีที่แล้ว 62% ของผลผลิตเข้าสู่ตลาด Client Computing ปรากฎการณ์มาแรงของ Cloud Computing ที่น่าจับตามองคือส่วนแบ่งจะเพิ่มจาก 25% เป็น 61% ในปี 2020 ผมเองก็เพิ่งแนะนำลูกศิษย์ที่เป็นนักธุรกิจด้านไอทีไปเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าควรหาช่องทางทำธุรกิจด้านนี้ทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงสถาบันการเงิน โทรคมนาคมและสือสารเอนเตอร์เทนเมนต์ต่างๆ

ความสามารถในการบรรจุข้อมูล (Areal Densoty) คือเรืองหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดดิสค์เข้าสู่อนาคตอีกห้าปีข้างหน้า ความหวังที่จะได้เห็นความจุ 10 TB/sq.inch (20 เท่าเทียบกับปัจจุบัน) ดูจะมีความสดใสขึ้นหลังจากมีการก่อตั้ง Advanced Storage Technology Consortium (ATSC) ขึ้น โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่อาทิ เวสเทอร์นดิจิตอล ซีเกทเทคโนโลยี ฮิตาชิ มาร่วมมือกันเป็นแกนหลัก ทั้งนี้ยังมี Suppliers มาเสริมขบวนการด้วยเพื่อให้แน่ใจว่ามีการพัฒนา Supply Value Chain ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกันในฐานะที่ประเทศไทยคือฐานการผลิตฮาร์ดดิสค์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก และเราต้องพัฒนา Local SMEs ไทยทให้ทำงานให้กับบริษัทนานาชาติเหล่านี้เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่บริษัทคนไทยใน Tier2 และ Tier3 มีความแข่งแกร่งมาก ผมขอเรียนเสนอรัฐบาลไทยให้ สถาบันฮาร์ดดิสค์ไทย (HDDI)ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนยี เป็นตัวแทนเข้าเป็นสมาชิกของ ATSC ฐานกิจกรรมที่ HDDI กระทำมาตลอดห้าปีด้านการพัฒนาบุคคลากรงานวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาบริษัทคนไทยจึงจักมีความเข้มข้นขึ้นมากเนื่องจากเราต้องบินสูงไปกระทบไหล่ดาราใหญ่ๆระดับนานาชาติหลายองค์กรผมเชื่อว่าคู่แข่งเราในอุตสาหกรรมนี้คือ สิงคโปร์และมาเลเซียคงไม่รอช้าแน่นอนครับ

269 2

Mr. Dave Rauch ผู้บริหารระดับสูงของเวสเทอร์นดิจิตอลด้านการผลิต บรรยายกล่าวชมเชยผลงานของ HDDI ที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนและประสานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลมหาวิทยาลัยอุตสากรรม อย่างเป็นรูปธรรม ซึงกลายเป็นต้นแบบให้กับคู่แข่งเราทำตามนอกจากนี้ไทยเรายังมีจุดแข็งด้านต้นทุนการขนส่งที่ต่ำ คนงานไทยมีฝีมือทำงานด้วยความละเอียดรอบคอบอย่างไรก็ตามผลลัพท์จากภาวะวิกฤตน้ำท่วมที่ผ่านมาMr. Rauch ได้พูดจากใจในเรื่องสำคัญที่รัฐบาลไทยต้องรับฟังอย่างยิ่งคือ บริษัทเวสเทอร์นดิจิตอล ยังคงปักหลักฐานการผลิตในประเทศไทยแม้ผลกระทบจากน้ำกล่าวมีมากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต่อบริษัทคู่ค้าใน Supply Chain ที่เกือบทั้งหมดจมน้ำเหมือนกับเวสเทอร์นดิจิตอล สิ่งที่เขาอยากเห็นรัฐบาลไทยดำเนินการมีดังต่อไปรี้ครับ

1.แผนระยะสั้นและยาวในการจัดการเรื่องน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม

2.สนับสนุนให้แต่ละนิคมอุตสาหกรรมมีการปฎิบัติการ ข้อ 1 อย่างมีประสิทธิผล

3.ออกแรงช่วยอุตสาหกรรมเรื่อง Claims ครั้งนี้ และ เบี้ยประกันในอนาคต

4.ควรช่วยค่าใช้จ่ายบางส่วน (Subsidy) สำหรับแรงงานไทยที่มีฝีมือ และ

5.ละเว้นภาษีสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้ามาทดแทนชุดที่โดนน้ำท่วมไปและของ Tax Holidays เพื่อการลงทุนใหม่

ผมขอขอบคุณที่บริษัทเวสเทอร์นดิจิตอลไม่ละทิ้งฐานการผลิตในไทยผมเชื่อว่าทุกข้อรัฐบาลกำลังดำเนินการอย่างเต็มที่โดยเฉพาะข้อ (1) และ (5) ผมไม่มีข้อมูลข้อ (3) ครับ

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา