กลไกแสดงอารมณ์สำหรับหุ่นยนต์แสดงสีหน้า - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

กลไกแสดงอารมณ์สำหรับหุ่นยนต์แสดงสีหน้า

ผู้วิจัย : นายตฤณ วีระศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร. ชิต เหล่าวัฒนา
บทนำ

งานวิจัยนี้พยายามหาคำตอบว่าการผสมผสานอารมณ์ของนั้นสามารถหาทฤษฎีมารองรับได้หรือไม่
? ในกรณี
ของมนุษย์นั้นเราสามารถรับรู้ได้ว่าบางเวลาอารมณ์ของผู้ที่ทำการปฏิสัมพันธ์ด้วยนั้น มีหลากหลายอารมณ์ใน
ขณะเดียวกัน ในเบื้องต้นงานวิจัยจะเสนอการผสมผสานอารมณ์โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาผล
และทำความเข้าใจ เนื่องจากพฤติกรรมของมนุษย์นั้นซับซ้อน งานวิจัยนี้จึงสนใจการผสมผสานอารมณ์ใน
หุ่นยนต์
ปัญหา
ไม่มีทฤษฎีที่รองรับการผสมผสานอารมณ์
แนวทางการวิจัย
เนื่องจากการแสดงสีหน้าของมนุษย์มีความซับซ้อน ถ้าจะทำให้หุ่นยนต์สามารถแสดงสีหน้าได้เหมือนมนุษย์
นั้นต้องใช้
actuator จำนวนมาก งานวิจัยนี้จึงเลือกที่จะทดลองกับหุ่นยนต์ “Yano” เพื่อลดความซับซ้อน
และทำการทดลองเบื้องต้น โดยทำการดัดแปลงกลไกการแสดงสีหน้าโดยใช้
servo motor จำนวน 4 ตัว
ทำหน้าที่ขยับ คิ้ว เปลือกตา แก้ม และปาก แสดงสีหน้าตามอารมณ์พื้นฐาน
6 ชนิด นอกจากตัวหุ่นยนต์ งาน
วิจัยนี้ยังได้พัฒนาโปรแกรมจำลองการผสมผสานอารมณ์บนใบหน้ามนุษย์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถทดลองใส่สม
การทางคณิตศาสตร์ เพื่อดูว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นมีความสมจริงหรือไม่ วิธีการนี้จะทำให้เราได้สมการทางคณิต
ศาสตร์
สำหรับการผสมผสานทางอารมณ์ เพื่อนำไปใช้กับหุ่นยนต์แสดงสีหน้าที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต
ผลที่คาดหมาย
สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษากับหุ่นยนต์ “Yano” ไปออกแบบหุ่นยนต์ที่สามารถแสดงสีหน้าได้
หลากหลายมากยิ่งขึ้น และนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาทดลองใช้กับหุ่นยนต์ดังกล่าว เพื่อให้
หุ่นยนต์มีการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

Categories: ไม่ทราบหมวดหมู่