ผู้วิจัย : ดร.ถวิดา มณีวรรณ์, นางสาวรับขวัญ จิตต์ภักดี,นางสาวอมรศรี แซ่ก๊วย และ ร้อยโทประสพชัย ศิลาอ่อน
บทนำ
งาน วิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษา ออกแบบ และสร้างรถอัจฉริยะ เพื่อให้รถสามารถวิ่งอยู่บนถนนได้ตามเส้นทางที่ต้องการ สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางและปฏิบัติตามกฏจราจรได้โดยไร้คนขับเพิ่อใช้ในการ แข่งขันการสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ ประเทศไทย 2008
ปัญหา
ใน ปัจจุบันนี้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ขับรถขณะอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่ออันตราย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอนตาพร่ามัว หรือมึนเมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้นจึงได้สร้างรถอัจฉริยะที่สามารถวิ่งบนถนนได้เองโดยมีระบบการตัดสินใจ ที่แม่นยำ เพื่อลดปัญหาและการสูญเสียที่เกิดจากอันตรายดังกล่าว
รถอัจฉริยะที่ใช้ในการแข่งขันชื่อ “Dark horse”
วิธีการ
รถ ที่ใช้เป็นรถที่เครื่องยนต์ถูกดัดแปลงมาจากเครื่องยนต์ของมอเตอร์ไซค์ระบบ เกียร์อัตโนมัติขับเคลื่อนล้อหลัง โดยเซ็นเซอร์ที่ใช้มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ Encoder เพื่อใช้วัดระยะทางและวัดมุมในการหมุนของพวงมาลัย, Gyro และ Accelerometer เพื่อใช้วัดความเร่งและความเร็วเชิงมุมของรถ, Ultrasonic เพื่อใช้ตรวจจับสิ่งกีดขวาง, GPS เพื่อระบุตำแหน่งของรถว่าอยู่ ณ ตำแหน่งใดของพื้นโลก และ กล้องเพื่อใช้ตรวจจับสิ่งกีดขวางสัญญาณไฟจราจรและป้ ายจราจร
การควบ คุมให้รถสามารถวิ่งได้เองบนท้องถนนนั้น ทำได้โดยการใช้เทคนิค Teaching – Playback ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้สร้างระบบนำทางสำหรับรถอัตโนมัติโดยออกแบบให้ทำ การสอนด้วยการควบคุมคันเร่งและมุมเลี้ยวของพวงมาลัยเพื่อให้รถรู้เส้นทาง จากนั้นนำข้อมูลที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์ มาทำการวิเคราะห์เพื่อประมาณตำแหน่งของรถ ณ แต่ละเวลาเพื่อกำหนดเส้นทางในการควบคุมให้รถเคลื่อนที่อัตโนมัติ โดยขณะที่รถเคลื่อนที่ไปจะใช้ข้อมูลจาเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อตรวจสอบให้ตำแหน่งปัจจุบันของรถลู่เข้าสู่เส้นทางที่สอนอยู่เสมอ
ผลที่คาดหมาย
รถ สามารถวิ่งได้เองบนท้องถนนตามเส้นทางที่ต้องการได้โดยไร้คนขับ และนอกจากนี้ยังสามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง และปฏิบัติตามกฏจราจรได้อีกด้วย
การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศ ไทย (Thailand Intelligent Vehicle Challenge)
จัด โดยสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย โดยการสนับสนุนจากบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด(Website หลักของการแข่งขัน : http://tivc.ait.ac.th/ )
2007: FIBO ได้สร้างรถอัจฉริยะและส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันเป็นปีแรกในชื่อทีม Dark horse โดยใช้รถโกคาร์ทเป็นโครงสร้างของรถและใช้มอเตอร์กระแสตรงเป็นตัวขับเคลื่อน หลัก สามารถเข้าเส้นชัยได้คะแนนเป็นลำดับที่สามและได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม
2008 : Dark horse ได้เข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้งหนึ่งโดยพัฒนารถขึ้นมาใหม่โดยใช้เครื่องยนต์ ของรถจักรยานยนต์ระบบเกียร์อัตโนมัติขับเคลื่อนล้อหลัง ได้ทำการแข่งขันรอบคัดเลือกเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 ได้ผ่านการคัดเลือกเป็นลำดับที่สาม(จาก 16 ทีม)เข้าไปแข่งรอบชิงชนะเลิศต่อไปในวันที่ 4 มิถุนายน 2551
ติดตามคราวคราวการพัฒนารถอัจฉริยะ Darkhorse ได้ที่ Blog ของ Darkhorse