รายวิชาที่เปิดสอน สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

รายวิชาที่เปิดสอน สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

หมวดวิชาบังคับ

FRA 630 พลศาสตร์ของระบบและการควบคุมสำหรับวิทยาการหุ่นยนต์ 3(3-0-9)
  ทบทวนทฤษฎีระบบเบื้องต้น วิธีการคลาสสิคและปริภูมิสเตต ศึกษาถึงการตอบสนองต่อเวลาโดยใช้การวิเคราะห์ทางทฤษฎี และการจำลองโดยวิธีการคำนวณ การวิเคราะห์จากผลตอบสนองต่อความถี่ แนวคิดและการใช้การวิเคราะห์ทางด้านอิมพีแดนซ์ การสร้างแบบจำลองและวิเคราะห์ระบบที่มีส่วนประกอบทั้งทางกลและทางไฟฟ้า การควบคุมระบบพลวัต
FRA 631 พื้นฐานวิทยาการหุ่นยนต์     3(3-0-9)
  พื้นฐานของการจำลองและการควบคุมหุ่นยนต์ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของแขนหุ่นยนต์ ไคเนมาติกส์ตรง และไคเนมาติกส์ผกผัน จาโคเบียนเมตริกซ์ แบบจำลองทางพลศาสตร์ของนิวตัน-ออยเลอร์ และลากรองจ์ การวางแผนวิถี ไคเนมาติกส์ซ้ำซ้อน การควบคุมตำแหน่งและการควบคุมแรงของหุ่นยนต์ 
FRA 640 คณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับวิทยาการหุ่นยนต์            3(3-0-9)
  ทบทวนทฤษฎีพื้นฐานของเมตริกซ์ ปริภูมิมิติจำกัด การทำให้เป็นเมตริกซ์เฉียง รูปแบบจอร์แดน สมการเชิงอนุพันธ์แบบธรรมดา การใช้การแปลงฟูเรียร์และลาปลาซ แนะนำแคลคูลัสแปรผัน แนะนำฟังก์ชันเชิงซ้อน ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข
FRA 641 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาการหุ่นยนต์       3(3-0-9)
  ผังงาน โครงสร้างของการเขียนโปรแกรม  ชนิดของข้อมูลและตัวแปร  การดำเนินการทาง เลขคณิตและตรรกศาสตร์   การตัดสินใจ โครงสร้างการควบคุม การรับข้อมูลและแสดงผลลัพธ์  ระบบแฟ้มข้อมูล   การเขียนโปรแกรมแบบอิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อินพุท/ เอาท์พุท
FRA 660 สัมมนาและระเบียบวิธีวิจัย      3(0-6-9)
  การนำเสนอและอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อทางวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและบุคคลผู้เชี่ยวชาญภายนอก ทักษะเบื้องต้นของการวิจัยและการสื่อสาร คำจำกัดความและประเภทของงานวิจัย การตั้งโจทย์งานวิจัย การสืบค้นเอกสารอ้างอิง การอ้างอิงที่มาของข้อมูล การเขียนข้อเสนอโครงการ กระบวนการทำวิจัย การเขียนบทคัดย่อ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การตีความข้อมูล   การนำเสนอผลงานวิจัย การเขียนเชิงเทคนิคสำหรับการตีพิมพ์ การเขียนวิทยานิพนธ์ จรรยาบรรณของการวิจัย

หมวดวิชาเลือก

กลุ่มวิชาหัวข้อพิเศษ
FRA 500 หัวข้อพิเศษ 1 3(3-0-9)
     
FRA 501 หัวข้อพิเศษ 2 3(3-0-9)
   
FRA 502 หัวข้อพิเศษ 3 3(3-0-9)
   
FRA 503 หัวข้อพิเศษ 4 3(3-0-9)
  หัวข้อพิเศษซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจในปัจจุบันทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอาจประกอบด้วยโครงงานประจำวิชา
FRA 600 โครงงานพิเศษที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 1 3(0-6-12)
     
FRA 601 โครงงานพิเศษที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 2 3(0-6-12)
  นักศึกษาทำโครงงานพิเศษในหัวข้อปัญหาด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ  ภายใต้การแนะนำและผ่านการยอมรับของคณะกรรมการที่ปรึกษา  ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกและอาจารย์  เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ  และพัฒนาความสามารถในเชิงปฏิบัติ  สำหรับนำไปพัฒนางานวิจัยที่ใช้ความรู้ทางวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ  นักศึกษาต้องนำเสนอข้อเสนอโครงงานพิเศษ  รายงานความก้าวหน้า  นำเสนอสรุปโครงการ  รวมทั้งทำรายงาน

กลุ่มวิชาการเข้าใจ

FRA 610 ระบบอัจฉริยะ 3(3-0-9)
  บทนำของระบบอัจฉริยะ พื้นฐานของระบบฟัซซี่ ระบบควบคุมแบบฟัซซี่ กรณีศึกษาของระบบฟัซซี่  พื้นฐานของระบบเครือข่ายนิวรอล  การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายนิวรอล  กรณีศึกษาของระบบนิวรอล ระบบนิวโรฟัซซี่      
FRA 611 สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์สำหรับวิทยาการหุ่นยนต์      3(3-0-9)
  บทนำ รูปแบบลำดับขั้น รูปแบบโต้ตอบ สถาปัตยกรรมเชิงพฤติกรรม สถาปัตยกรรมแบบซับซัมชั่น รูปแบบผสมระหว่างการคำนวณแบบอิงเหตุผลและการโต้ตอบ ระบบที่ประกอบด้วยหลายเอเจนต์
FRA 612 ปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิทยาการหุ่นยนต์         3(3-0-9)
  การแก้ปัญหา เทคนิคการค้นหาแบบอิงความรู้ รูปแบบการแสดงความรู้ การใช้เหตุผลในทางสัญลักษณ์ และทางสถิติ การวางแผน การทำความเข้าใจ การประมวลภาษาธรรมชาติ ปัญญาประดิษฐ์แบบขนานและแบบกระจาย การเรียนรู้และการสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ    
FRA 613 การเรียนรู้สำหรับคอมพิวเตอร์    3(3-0-9)
  เครือข่ายเบยาเซียน การเรียนรู้โดยใช้ต้นไม้การตัดสินใจ การประเมินสมมุติฐาน ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการคำนวณ การเรียนรู้เฉพาะหน้า วิธีเชิงพันธุกรรม การเรียนรู้แบบวิเคราะห์ การประสานการเรียนรู้แบบอุปนัยและแบบวิเคราะห์ การเรียนรู้แบบเสริมบังคับ
กลุ่มวิชาการรับรู้
FRA 620 การประมวลผลภาพ 3(3-0-9)
  พื้นฐานของการประมวลผลภาพดิจิทัล ตัวแทนแสดงภาพและมาตรฐานภาพ การรับภาพ และปริภูมิสี การกรองและการเสริมแต่งสัญญาณภาพเชิงระยะ การบูรณะภาพ การแปลงภาพ การเสริมแต่งภาพเชิงความถี่ การเข้ารหัสภาพนิ่งและภาพวีดิทัศน์ การสร้างแบบจำลองของภาพและกล้อง ภาพรวมของคอมพิวเตอร์วิชั่น  ความสัมพันธ์ระหว่างการประมวลผลภาพและปัญญาประดิษฐ์ การสร้างภาพ ตัวแทนแสดงขอบเขตและเนื้อที่ การจับคู่ งานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบวิชั่นในปัจจุบัน
FRA 621 การรับภาพของหุ่นยนต์  3(3-0-9)
  การรับภาพของเครื่องจักรในรูปฐานสอง การวิเคราะห์แบบตัดระดับและแบบตัดส่วนพื้นที่ โฟโตเมตริก- สเตอริโอ รูปร่างจากแสงเงา สนามการเคลื่อนที่และการไหลเชิงแสง โฟโตแกรมเมทรีและสเตอริโอ การจำแนกรูปแบบ การรู้จำรูปแบบทางสถิติ วัตถุหลายด้าน ภาพเกาส์เซียนแบบขยาย การแปลงรูปเชิงคณิตศาสตร์ การนำร่องแบบแพสซีฟจากการเคลื่อนที่
FRA 622 อุปกรณ์ตรวจจับและตัวขับสำหรับหุ่นยนต์    3(3-0-9)
  ดีซีเซอร์โวมอเตอร์ สเตปเปอร์มอเตอร์ ตัวขับไฮดรอลิกและนิวเมติก อุปกรณ์วัดความเร่ง โพเทนชิออมิเตอร์ เอนโคดเดอร์ รีโซล์ฟเวอร์ อุปกรณ์ตรวจจับระยะ อุปกรณ์ตรวจจับแสง อุปกรณ์ตรวจจับการชน อุปกรณ์สำหรับวัดแรง วัสดุเพียโซเซรามิก ไจโรสโคป อุปกรณ์ตรวจวัดความดัน การหาคุณสมบัติและแบบจำลองของอุปกรณ์จากการทดลอง
FRA 624 การประมวลและการสังเคราะห์เสียง     3(3-0-9)
  พื้นฐานของวิทยาการทางด้านเสียง การจำลองการสร้างเสียง การเข้ารหัสเสียงและการวิเคราะห์เสียง การปรับปรุงเสียง การวิเคราะห์โดยการคาดเดาเชิงเส้น การรับรู้เสียง พลศาสตร์การวาร์ปเชิงเวลา แบบจำลองมาร์คอฟซ่อนเร้น การจำลองภาษา
FRA 625 การติดต่อระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์   3(3-0-9)
  บทนำของการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของมนุษย์ ความจริงเสมือน เทคโนโลยีของส่วนรับข้อมูล เทคโนโลยีของส่วนแสดงข้อมูล พื้นฐานของการเขียนโปรแกรมสำหรับ การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ พื้นฐานของคอมพิวเตอร์กราฟฟิก และอัลกอริทึม  การจำลองเชิงกายภาพ

กลุ่มวิชาการควบคุม

FRA 632 กลศาสตร์ของการควบคุม 3(3-0-9)
  ไคเนมาติกส์การควบคุม ตัวแทนทางไคเนมาติกส์ พลศาสตร์ของวัตถุแข็งเกร็ง แรงเสียดทาน อเนกสัมผัส  การควบคุมแบบควอไซสแตติกส์ การบีบและการผลัก การอ่อนตัวแบบตั้งฉาก ทฤษฎีสกรู
FRA 633 พลศาสตร์และการควบคุมหุ่นยนต์ขั้นสูง   3(3-0-9)
  การพิจารณาไคเนมาติกส์ของหุ่นยนต์ แคลคูลัสของการผันแปร การประยุกต์ของสมการออยเลอร์-ลากรองจ์ในหุ่นยนต์ การแก้สมการเชิงอนุพันธ์แบบเชิงเส้นและแบบไม่เชิงเส้น การควบคุมหุ่นยนต์การควบคุมระบบเชิงเส้นแบบคลาสสิคและแบบใหม่ การควบคุมแบบดิจิทัลของหุ่นยนต์ การหาคุณลักษณะของระบบหุ่นยนต์
FRA 636 การจำลองและออกแบบหุ่นยนต์    3(3-0-9)
  คุณลักษณะต่างๆ ของหุ่นยนต์ กรรมวิธีในการออกแบบ กลไกในการส่งถ่ายกำลังและข้อต่อ กลไก รูปร่าง และการเคลื่อนไหวของมือจับ ทฤษฎีการวิเคราะห์ทางพลศาสตร์ของหุ่นยนต์ การวางแผนการเคลื่อนที่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ และการสร้างต้นแบบหุ่นยนต์
FRA 638 วิทยาการหุ่นยนต์เคลื่อนที่  3(3-0-9)
  การออกแบบ และสร้างฐานของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ พื้นฐานการออกแบบระบบ และโปรแกรมของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ อุปกรณ์ตรวจจับและตัวขับเคลื่อนของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ การโปรแกรมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ การวางแผนการเดินทาง หลบหลีกสิ่งกีดขวาง อัลกอริทึมเชิงพฤติกรรม การใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในงานจริง 
FRA 639 วิทยาการหุ่นยนต์ชีวภาพ 3(3-0-9)
  แนะนำเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่สร้างเลียนแบบสิ่งมีชีวิต การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์แบบต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการเคลื่อนที่ของคน และสัตว์ หลักการของการเดิน พลศาสตร์ของวัตถุแข็งเกร็ง พลศาสตร์ของระบบหลายจุดเชื่อมต่อ การควบคุมการเคลื่อนที่ของระบบหลายจุดเชื่อมต่อ การสร้างท่าทางการเดิน การควบคุมการทรงตัว การออกแบบทางกลของหุ่นยนต์ที่มีขา
กลุ่มวิชาการคำนวณ
FRA 643 การออกแบบการเชื่อมต่อระบบ 3(3-0-9)
  บทนำของการเชื่อมต่อระบบ สถาปัตยกรรมของไมโครคอนโทรลเลอร์ ชุดคำสั่งเขียนโปรแกรมสำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ การเชื่อมต่อกับพอร์ต การเชื่อมต่อกับแอลอีดี และสวิทช์ การเชื่อมต่อกับวงจรอนาลอก การเชื่อมต่อกับมอเตอร์ การเชื่อมต่อกับแอลซีดี การติดต่อแบบอนุกรม
FRA 644 การประมวลสัญญาณดิจิทัล 3(3-0-9)
  ตัวแทนสัญญาณดิจิทัลของสัญญาณแอนะล็อก สัญญาณดิจิทัลในโดเมนความถี่และการแปลง Z ของสัญญาณดิจิทัล การออกแบบระบบดิจิทัล เทคนิคการออกแบบตัวกรองสัญญาณ IIR และ FIR การแปลงฟูเรียร์และฟาสต์ฟูเรียร์ ที่มาของความผิดพลาดในระบบดิจิทัล การวิเคราะห์สัญญาณรบกวนในระบบดิจิทัล
กลุ่มวิชาระบบอัตโนมัติ
FRA 650 ทฤษฎีการออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย  3(3-0-9)
  ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ใน CAD ในปัจจุบัน การเชื่อมต่อกับผู้ใช้ ประสิทธิภาพของระบบ การเลือกและการใช้ระบบ CAD ตัวแทนแสดงเส้นโค้ง พื้นผิว และรูปทรงตัน การแปลงเชิงเรขาคณิต การสร้างความสัมพันธ์ การฉาย เทคนิคการทำภาพเคลื่อนไหวทางคอมพิวเตอร์
FRA 651 การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย 3(3-0-9)
  สถาปัตยกรรมของระบบ CAD/CAM ฐานข้อมูลของ CAD/CAM การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง CAD/CAM การคำนวณคุณสมบัติทางเรขาคณิตและมวล แบบจำลองและการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ การสร้างเมช
FRA 652 การผลิตเบ็ดเสร็จด้วยคอมพิวเตอร์ในทางวิศวกรรม   3(3-0-9)
  องค์ประกอบของการผลิตเบ็ดเสร็จด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Integrated Manufacturing: CIM) แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูล การเลือกเครื่องจักร เครื่องมือ และเครื่องจับยึด เทคโนโลยีกลุ่ม การวางแผนเวลา การควบคุมชั้นโรงงาน การวางแผนกระบวนการทำงานในระบบอัตโนมัติ
FRA 653 ระบบอัตโนมัติและระบบการผลิต 3(3-0-9)
  การออกแบบและการวิเคราะห์เส้นสายงานอัตโนมัติ ระบบการประกอบ การสมดุลของสายงาน ระบบการจัดเก็บและการควบคุมวัตถุดิบอัตโนมัติ แนวคิดเกี่ยวกับระบบการควบคุมอุปกรณ์ ด้วยคอมพิวเตอร์เชิงตัวเลข (CNC) เครื่องจักร CNC การโปรแกรมเครื่อง CNC แนวโน้มในปัจจุบันของระบบ CNC
FRA 655 ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น 3(3-0-9)
  บทนำทางด้านการผลิตสมัยใหม่ ขบวนการการผลิต ขั้นตอนในการออกแบบระบบการผลิตและ  การประกอบ การผนวกสายขนส่งวัตถุกับระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น การคำนวณสมรรถนะ ในกรรมวิธีการผลิต การควบคุม กำหนดการผลิตในเวลาจริง การเขียนแบบเสนอระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น การจัดหาและการตรวจรับอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น ผลของความเสียหายเนื่องจากเครื่องจักร การเตรียมการ และการติดขัดที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะของระบบ
หมวดวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ
FRA 661 วิทยานิพนธ์ 12(0-24-48)
  นักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ต้องทำงานด้านการออกแบบ วิจัยและพัฒนาด้วยตนเองภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการ
FRA 662 การค้นคว้าอิสระ 6(0-12-24)
  นักศึกษาที่ทำการศึกษาแบบอิสระต้องวิเคราะห์ และแก้ปัญหาทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ ด้วยตนเองภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการ
หมวดวิชาปรับพื้นภาษาอังกฤษ
LNG 550 วิชาปรับพื้นภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2 (1-2-3)
  รายวิชานี้มุ่งเน้นปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษและทักษะที่จำเป็นของนักศึกษา เพื่อให้อยู่ในระดับที่สามารถเข้าเรียน วิชา LNG 600 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ ในด้านเนื้อหาวิชาไม่ได้กำหนดเนื้อหาที่แน่นอน แต่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา โดยเฉพาะประเด็นที่นักศึกษามีปัญหามากที่สุด นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้ การจัดการการเรียนด้วยตนเอง อันเป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องพึ่งครูผู้สอน
LNG 600 วิชาภาษาอังกฤษระหว่างการเรียนในหลักสูตรสำหรับนักศึกษา 3 (2-2-9)
  รายวิชานี้จัดสอนเพื่อพัฒนาให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการเรียน ในระดับของตนได้อย่างเหมาะสม โดยเน้นทักษะการฝึกปฏิบัติ แม้ไม่เน้นหนักที่เนื้อหาไวยากรณ์โดยตรง แต่วิชานี้มุ่งเน้นการใช้ภาษาอังกฤษ ที่ตรงกับความต้องการ โดยเฉพาะด้านการอ่าน และการเขียนซึ่งนักศึกษา ต้องใช้ในการทำโครงงาน ในรายวิชานักศึกษา จะได้ฝึกปฏิบัติขั้นตอนการทำโครงงาน ตั้งแต่การหาข้อมูลอ้างอิง จนถึงการเขียนรอบสุดท้าย นอกจากนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้กลยุทธ์การเรียน เพื่อฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารที่แท้จริงนอกห้องเรียนต่อไป

Categories: ไม่ทราบหมวดหมู่