โครงการส่งเสริมวิทยาการหุ่นยนต์สำหรับทุกคน และพัฒนานวัตกร/นักวิจัย/วิศวกร/วิสาหกิจเริ่มต้นด้านวิทยาการหุ่นยนต์
ภายใต้แผนงานปัญญาประดิษฐ์สำหรับทุกคน และปัญญาประดิษฐ์/วิทยาการหุ่นยนต์สำหรับทุกคน งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม โครงการริเริ่มสำคัญ (flagship project) ปีงบประมาณ 2563
แหล่งทุนวิจัย: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุน ด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา วิจัยและสร้างนวัตกรรม
หัวหน้าโครงการ: รศ. ดร.สยาม เจริญเสียง สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เป้าหมาย: เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความตระหนัก มีศักยภาพและความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ สามารถทำงานโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเป็นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม:
1) เกิดการพัฒนากำลังคนในและนอกระบบการศึกษาด้านวิทยาการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
2) บุคลากรทุกระดับทั้งนักเรียนนักศึกษา นักวิจัย แรงงานในอุตสาหกรรม และอาจารย์ตระหนักและมีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและ ประโยชน์ของวิทยาการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
3) มีบุคลากรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และปัญญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น
4) ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาลงเนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์ได้ง่ายแม้จะอยูู่ในพื้นที่ห่างไกลผ่านการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource sharing)
5 โครงการกิจกรรม ประกอบด้วย:
1) Advanced Learning Lab/Resource Sharing
2) Premium Training
3) Virtual Classroom for Learning
4) System Integration Demonstration
5) Project Based Learning
กิจกรรมในโครงการ:
21 กรกฎาคม 2563 – กิจกรรมอบรม “การใช้งานระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนการเคลื่อนไหวบนเตียง” ณ บริษัท พาราเมาท์ เบด (ประเทศไทย) จำกัด (กิจกรรมย่อยที่ 5)
Sun | Mon | Tue | Wed | Thu | Fri | Sat |
---|---|---|---|---|---|---|
กุมภาพันธ์ | กุมภาพันธ์ | กุมภาพันธ์ | กุมภาพันธ์ | กุมภาพันธ์ | กุมภาพันธ์ | 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | เมษายน | เมษายน | เมษายน | เมษายน | เมษายน |