ระบบติดตามรถไฟอัตโนมัติ Automatic Train Tracking - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

ระบบติดตามรถไฟอัตโนมัติ Automatic Train Tracking

logo robot brain

ระบบติดตามรถไฟอัตโนมัติ

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ศึกษาแนวทางออกแบบ/พัฒนาระบบสารสนเทศตามดำริของการรถไฟแห่งประเทศไทยในงานซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน(CMMS) ระบบงานบริหารพัสดุ และระบบติดตามรถอัตโนมัติ (Automatic Train Tracking)

2011-06-20 01

สำหรับความต้องการด้านระบบติดตามรถนั้น เราได้ออกแบบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายซ่อมบำรุงทำหน้าที่บันทึกการใช้ข้อมูลของขบวนรถ โดยใช้ระบบ RFID Tag ติดตั้งบนตู้ขบวน บันทึกข้อมูลสำหรับการใช้งานของหัวลากและล้อเลื่อน และเชื่อมต่อกับ CMMS เพื่อนำส่งข้อมูลไปยังศูนข้อมูลหลัก (Data Center) สำหรับการวางแผนการซ่อมบำรุง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นประเภท Real-Time เรายังได้ประโยชน์ในการรับทราบ (Monitoring) เหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที สาเหตุที่เราเลือกใช้เทคโนโลยี RFID คือราคาถูกและมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) สูงกว่าเทคโนโลยีอื่นๆเช่น ดาวเทียม ซึ่งในกรณีทีมีฝนพายุฟ้าคะนอง ข้อมูลจะตกหล่นได้

เจ้าหน้าที่ด้านการเดินรถของการรถไฟฯ สามารถใช้ข้อมูลเดียวกันนี้จาก RFID Tag ที่ตู้ขบวนเพื่อติดตามการเคลื่อนย้ายของรถจักร, รถโดยสาร, รถสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกและให้สอดคล้องกับแผนกการเดินรถ และฝ่ายให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการผ่าน Call center ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้ง RFID Reader เพิ่มเติมที่ตำแหน่งรางจะได้ตรวจสอบการเข้า-ออกสถานีของรถไฟและระบุตำแหน่งแต่ละขบวน ทั้งนี้ที่ CockPit สามารถแจ้งเตือนความเร็วขบวนที่ใช้ความเร็วสูงเกินไปหรือไม่อย่างไร ในระยะต่อไป ทางฟีโบ้สามารถออกแบบ/ติดตั้งระบบแนะนำความเร็ว (Speed Profile) ให้เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศและสภาพใช้งานของรางเพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ “ตกราง”

2011-06-20 02

ข้อมูลสารสนเทศด้านการติดตามขบวนรถไฟชุดนี้นั้นถูกสร้างขึ้นมาเป็น “ชุดเดียวกัน” เพื่อให้แต่ละหน่วยงานในการรถไฟฯ ไม่เกิดความสับสน ตลอดจนความล่าช้าของการไหลหรือการเชื่อมต่อของข้อมูลระหว่างระบบงานที่ต่างกัน ดังนี้คำว่า “รถไฟไทยทำงานเชื่องช้า” จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป ผู้บริหารรถไฟในระดับต่างๆมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ

รายได้ปีของการรถไฟฯจำนวน 1,197 ล้านบาท เกิดจากการให้บริการขนส่งสินค้า:ปูนซีเมนต์ 246 ล้านบาท น้ำมัน 471 ล้านบาท น้ำมันดิบ 340 ล้านบาท แก๊ส แอลพีจี 140 ล้านบาทจากข้อมูลปี 2547-2551 การขนส่งสินค้าปูนและผลิตภัณท์ปิโตรเลียม มีจำนวนการขนส่ง 6,535 ล้านตันกิโลเมตร และสินค้าอื่นๆ 4,155 ล้านต้นกิโลเมตร ดังนั้น รายได้ที่คาดว่าการรถไฟจะได้รับทั้งหมดจาการประมาณการ 2,000 ล้านบาทต่อปี เป็นการขนส่งสินค้าด้านปิโตรเลี่ยม ประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อปี จากข้อมูลการขนส่งทางถนนเปรียบเทียบกับการขนส่งโดยราง มีค่าประมาณ 40 เท่า และทางน้ำ 3.5 เท่า ถ้าเราติดตั้งระบบ Automatic Train tracking และระบบซ่อมบำรุงที่ดีขึ้น ย่อมปรับปรุง Logistic และสามารถทำให้การรถไฟแย่งชิงส่วนแบ่งการขนส่ง มาได้ถึง 4 เท่า การรถไฟก็น่าจะมีรายได้ปีละประมาณ 8,000 ล้านบาท กำไรจากการขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว น่าจะเพียงพอต่อการคืนทุนของระบบนี้ในระยะเวลาไม่นานนัก

 

นอกจากนี้ในรอบปีที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้ให้บริการผู้โดยสารกว่า 46 ล้านคน ระยะการเดินทางสูงถึง 8,200 คน/กม. มีรายได้จากการโดยสารประมาณ 4,200 ล้าน การขนส่งทางรถไฟฯ มีจุดแข็งและข้อได้เปรียบที่สามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าได้ปริมาณมาก ประหยัดพลังงาน ดังนั้นหากการรถไฟฯ ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา การรถไฟฯ จะมีบทบาทด้านการขนส่งสินค้าซึ่งช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงของชาติและการพัฒนาระบบ Logistics เพื่อการลดต้นทุนของประเทศอย่างมาก

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา