16 ปี ฟีโบ้ สถาบันหุ่นยนต์ไทย - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

16 ปี ฟีโบ้ สถาบันหุ่นยนต์ไทย

logo robot brain{tortags,305,1}

16 ปี ฟีโบ้ สถาบันหุ่นยนต์ไทย


สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
(ฟีโบ้) ถูกวางแผนจัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ผมยังเป๋นนักศึกษาปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐเอมริกาจนกระทั่งผมเดินทางกลับประเทศไทยจึงได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการในปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ ในขณะนั้นเทคโนโลยีหุ่นยนต์ยังไม่แพร่หลายเทียบเท่าปัจจุบัน การแข่งขันหุ่นยนต์หลายประเภทในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นนักวิชาการด้านหุ่นยนต์ศาสตร์ได้รวมตัวกันจดทะเบียนกันก่อตั้งสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยในสองสามปีต่อมา

 

265 1

ในวันนี้เทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติได้เพิ่มบทบาทในส่วนที่ทำให้การเป็นอยู่ของคนเราดียิ่งขึ้น โดยไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่ที่โรงงานอุตสาหกรรมเหมือนสมัยก่อนเท่านั้น เพราะเดี๋ยวนี้เราคงได้ยินข่าว
บ่อยครั้งที่หุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตร การประยุกต์ทางด้านการแพทย์ ไอที งานประชาสัมพันธ์ การทหาร การสำรวจบนบก ใต้น้ำ อวกาศ หรือแม้กระทั่งเป็นตัวช่วยดูดฝุ่น ควบคุมเครื่องเสียง หรือเป็นเพื่อนเล่นของเราภายในบ้าน เยาวชนไทยที่สนใจด้านนี้คงทราบว่าวิทยาการหุ่นยนต์นั้นเป็นศาสตร์ที่ต้องนำความรู้หลายสาขามาผสมผสานกันขึ้นทั้งทางด้านไฟฟ้า เครื่องกล คอมพิวเตอร์ อิเลคทรอนิคส์ การควบคุมติดต่อสื่อสาร รวมทั้งไอทีเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ ออกแบบ สร้าง และปรับปรุงแก้ไข ระบบหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์จึงนับได้ว่ามีความล้ำสมัยและเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้นภายในอนาคตอันใกล้นี้

 

ในระดับภูมิภาคอาเซียนนั้น ประเทศไทยมีการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านหุ่นยนต์ในระดับต้นๆ เราคงเคยได้ยินข่าวการแข่งขันหุ่นยนต์กันบ้าง มีตั้งแต่ระดับประถม มัธยมจนไปถึงระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการส่งตัวแทนของประเทศไปคว้ารางวัลชนะเลิศจากต่างประเทศมาก็หลายครั้ง จึงนับได้ว่าเยาวชนไทยมีความรู้ความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่น หากรัฐบาลและเอกชนไทยให้การสนับสนุนและเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยเหล่านี้มีโอกาสต่อยอด ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ทางด้านหุ่นยนต์ให้มีการใช้งานจริงๆ ประเทศเราคงจะมีบุคคลากรที่มีคุณภาพที่ช่วยสร้าง พัฒนาหรือแก้ปัญหาทางด้านหุ่นยนต์และเทคโนโลยีอัตโนมัติ ที่ปัจจุบันเราต้องซื้อหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศนับมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท

265 2

แม้ว่าการทำงานวิจัยและการบริการภาคอุตสาหกรรมเป็นภาระอันสำคัญยิ่งของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม(ฟีโบ้)เราถือว่าการผลิตบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ: “วิศวกรหุ่นยนต์ ของชาติ เป็นภาระหน้าที่หลักของการเป็นครูบาอาจารย์นักศึกษาของฟีโบ้สามารถเลือกสาขาที่ตนเองสนใจเป็นสาขาหลัก เช่น สาขาการสร้างให้ระบบมีความฉลาดสามารถรับข้อมูลแล้วประมูลผล เรียนรู้ และตัดสินใจในระดับสูงได้เองโดยอัตโนมัติโดยมีการนำหลักการทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) ตลอดจนฟัซซี่ลอจิก (Fuzzy Logic) มาประยุกต์ใช้สาขาที่สองเน้นการศึกษาที่ทำให้ระบบสามารถการรับรู้ข้อมูลจากภายนอกได้มีประสิทธิภาพโดยใช้เซ็นเซอร์ประเภทต่างๆ เช่น กล้องพร้อมระบบคอมพิวเตอร์วิชั่น (Computer Vision) เซนเซอร์การตรวจจับการเคลื่อนที่ (Motion Tracker) อุปกรณ์ตรวจจับและ ตัวขับสำหรับหุ่นยนต์ ตลอดจนการศึกษาการสร้างระบบการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์เช่นระบบความจริงเสมือน (Virtual Reality) เป็นต้น สาขาที่สามเกี่ยวข้องกับการศึกษาการคำนวณออกแบบ สร้างและควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ นักศึกษาจะได้เรียนรู้พื้นฐานของระบบหุ่นยนต์รวมทั้งรู้จักกับระบบหุ่นยนต์ขั้นสูงเช่นระบบหุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Robotics) วิทยาการหุ่นยนต์ใต้น้ำ (Underwater Robotics) ระบบและการควบคุมอากาศยานไร้นักบิน (UAV System and Control) วิชาการหุ่นยนต์ชีวภาพ ( BioRobotics) สาขาที่สี่จะเน้นในเรื่องการคำนวณ ประมวลผลและการนำอัลกอริทึ่มขั้นสูงมาประยุกต์แก้ไขปัญหา เช่น การวิเคราะห์เวฟเล็ต (Wavelets Analysis) ทฤษฎีของระบบเชิงเส้น (Linear System Theory) ส่วนสาขาสุดท้ายคือสาขาที่เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติทั้งที่อยู่ในโรงงานและไม่อยู่ในโรงงาน เช่นระบบการผลิตและระบบอัตโนมัติ (Automation and Production Systems) การออกแบบระบบความทนความผิดพร่อง (Fault-Tolerant System Design) ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น(Flexible Manufacturing System)เป็นต้น จะเห็นได้ว่าวิชาเรียนมีความหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะ และเมื่อจบการศึกษาแล้วบัณฑิตสามารถทำงานได้หลากหลายสาขาเช่นกัน ทั้งงานวิเคราะห์ ออกแบบ สร้าง ระบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม หรือนักวิจัยและสร้างทางด้านเทคโนโลยีในหน่วยงานของรัฐและเอกชน

 

ผ่านมาแล้ว 16 ปี บัณฑิตศิษย์เก่าจากฟีโบ้ได้คิดค้นระบบอัตโนมัติในขบวนการผลิตฮาร์ดดิสค์ไดรฟ์ ระบบประหยัดพลังงานและทรัพยากรขององค์กรภายในประเทศ ระบบการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ขั้นสูงที่ให้บริการและความสะดวกแก่ลูกค้าของธนาคาร แม้กระทั่งบริษัทออกแบบสร้างบ้านโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality) ตลอดจนเป็นวิศวกรออกแบบ “Movie Effect” หยิบจับวัตถุเสมือนที่เป็นคอมพิวเตอร์กราฟฟิกในภาพยนต์ดังหลายเรื่องของฮอลลีวู้ดผมได้ตระเตรียมระดมพลศิษย์เก่ามาหารือกัน เพื่อสร้างโอกาสให้กับรุ่นน้องๆรุ่นปัจจุบันฟีโบ้มีโปรแกรมที่จะเปิดหลักสูตรในโรงงาน หรือบริษัท ในลักษณะ ทำงานและเรียนรู้ Work Integrated Learning (WIL) นักศึกษาทำงานและเรียนไปพร้อมๆกันโดยนำปัญหาด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่เกิดขึ้นจริงเป็นจุดตั้งต้นของการเรียนรู้คณาจารย์ของฟีโบ้ได้มีการหารือกับอุตสาหกรรมแล้ว วางแผนเตรียมการณ์ว่าปีการศึกษา ๒๕๕๕ จะมีหลักสูตรนี้สำหรับที่ผู้สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรระดับปริญญาโททางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สามารถติดต่อได้ที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เบอร์โทรศัพท์ 02-470-9339 และ 02-470-9691 อีเมล์ study@fibo.kmutt.ac.th อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้ หรือดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซด์ http://study.fibo.kmutt.ac.th/

 

Categories: Post from Dr.Jiit