อาคารอัจฉริยะ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

อาคารอัจฉริยะ

logo robot brain

อาคารอัจฉริยะ
article27-1

 ลังจากใช้เวลาประมาณเกือบสิบปีไปทำวิจัยและศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ผมจึงได้กลับมาเมืองไทยบ้านเกิด มีโอกาสใช้สะพานแขวนครั้งแรก รู้สึกตื่นเต้นมากในความอลังการและยิ่งตื่นเต้นมากขึ้นไปอีกเมื่ออยู่บนยอดสะพานเห็นอาคารสูงมากมาย อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้แผ่นกระจกเป็นผนังด้านนอกอาคารเพื่อความสวยงามตระการตา
article27-2

ท่านผู้อ่านทราบดีว่าอุณหภูมิบรรยากาศของบ้านเราค่อนข้างสูง การแผ่รังสีความร้อนสูง
มีผลให้ปริมาณความร้อนถ่ายเทเข้าสู่อาคารมาก ดังนั้นการจัดการด้านประหยัดพลังงาน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของอาคารนั้น ประมาณ 70% อยู่ที่ระบบปรับอากาศ และ 80 % ของพลังงานส่วนนี้ ใช้ไปเพื่อการทำน้ำเย็น

นอกจากนี้ อาคารสูงนั้นมีระบบต่างๆที่ค่อนข้างซับซ้อน และเป็นที่ตั้งหลายบริษัทหน่วยงาน ที่ๆหลายชีวิตมาพบปะทำงาน:ธุรกรรม/ธุรกิจ จนบางครั้งอาคารเหล่านี้เป็นเป้าหมายของการก่อ “วินาศกรรม” เราจำเป็นต้องมีระบบประมวลผลและบัญชาการส่วนกลาง: “ค๊อกพิท” (Central Processing Cockpit) เพื่อทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของระบบทางวิศวกรรม, กำหนดและตรวจสอบการประหยัดพลังงาน, ระบบรักษาความปลอดภัย ,มาตรการอำนวยความสะดวกสบาย ความสะอาดของอากาศและสุขอนามัยอื่นๆ ฯลฯ ด้วย

  ความซับซ้อนและพารามิเตอร์จำนวนมากของระบบดังกล่าวนี่เอง การออกแบบ Cockpit ได้ใช้ประโยชน์จาก “ระบบเครือข่ายปัญญาประดิษฐ์” (AI NET) ศูนย์บัญชาการกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา (Pentagon DOD) และองค์การสำรวจอวกาศ (NASA) ที่เมืองฮุสตัน ก็มีการติดตั้งเครือข่ายนี้ โดยที่ฟังก์ชันหลักของ AI Net ครอบคลุมการตรวจสอบ , การตีความและประมวลผล จนถึงการส่งสัญญาณปฏิบัติการ

ทั้งสามฟังก์ชันนี้ ถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Infrastructure) เพื่อสนับสนุนการจัดการแก้ไขปัญหาวิกฤตทันทีภายในระบบเองอย่างอัตโนมัติและ/หรือ อาศัยการหารือกับมนุษย์(Human Supervision) สำหรับกรณีที่เป็นปมปัญหาสำคัญเชิงนโยบาย การสื่อสารเพื่อให้ฟังก์ชันทั้งสามติดต่อกันได้มีตั้งแต่ แบบมีสายและแบบไร้สาย มีช่องสัญญาณพื้นฐานจนกระทั่งลับเฉพาะ เพื่อความปลอดภัยด้านข้อมูล

ระบบหุ่นยนต์ควบคุมภายใต้ AI Net นี้ ส่วนใหญ่วิ่งอยู่บนรางเพดาน คล้ายๆกับระบบส่งเอกสาร/ยา ที่เราพบเห็นที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ถูกควบคุมการทำงานโดย AI Net แบบ Real Time เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ / กิจกรรมของแต่ละวัน และระดับความปลอดภัยของแต่ละพื้นที่

article27-3
นอกจากนี้ หุ่นยนต์ “อะซิโม” เวอร์ชัน 1.5 ได้จุดประกายความคิดเรื่องการใช้หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ทำหน้าที่ต้อนรับแขกผู้มาเยือน ตรวจสอบประวัติ และแจ้งบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนำทางไปถึงเป้าหมาย ผ่านเส้นทางเคลื่อนที่ (Navigating Map)ที่สอดประสานกับระบบรักษาความปลอดภัยของ AI Net ในขณะเดียวกันระบบตรวจสอบขั้นสูงจะถูกติดตั้งไว้บนตัวหุ่นยนต์ เพื่อการตรวจสอบ / ตรวจวัดแบบยิ่งยวด ( Super – Dynamic Inspection ) จนสามารถ “ตัดตอน” การก่อการร้าย และวินาศกรรมอย่างทันท่วงที

ระบบการสะสมความรู้ ของ AI Net หลังจากปฏิบัติการ จะเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยอาศัยการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะการคิดแบบมนุษย์ คือ นิวโรฟัสซี่ และ เจนนิติคอัลกอลิซึม (Neuro Fuzzy and Genetic Algorithm) อย่างไรก็ตาม การจัดการความรู้ที่เกิดขึ้น มีอยู่สองระดับคือ ระดับของ AI net และระดับ Human Supervisor

 article27-4

       ในระดับของ AI Net เกิดขึ้นหลังจากได้รับการยืนยันจาก Human Supervisor เสียก่อน ระบบรักษาความปลอดภัยของ AI Net มีทั้ง Fail Safe และ Fail Secured กรณีแรกเมื่อระบบล้มเหลวชีวิตต้องปลอดภัย ล็อกต่างๆของสำนักงานต้องปลดทันทีเพื่อคนวิ่งหนีออกรอดชีวิตมาได้ ในกรณีหลังนั้นเช่นประตูห้องความมั่นคง (Strong Room) ของธนาคารที่เก็บเงินไว้มากๆ ต้องล็อกเมื่อระบบไม่ทำงานเพื่อรักษาสิ่งมีค่ามิให้สูญหายไป

มีหลายครั้งที่บางส่วนหรือระบบย่อยของ AI Net เสียหายไม่สามารถทำงานได้ ระบบควบคุมเฉพาะส่วน จะอาศัยข้อมูลจากการคาดการณ์ ที่ AI Net สร้างขึ้นไว้ในส่วนของความรู้ที่สะสมไว้ก่อนหน้านี้ ทำงานได้อย่างชั่วคราว

เกือบทุกเสาร์อาทิตย์ลูกชายให้ผมพาเที่ยวอาคารสูงในกรุงเทพฯ เป็นประจำเพราะสนใจระบบลิฟต์มาก ผมก็ไม่ทราบเหตุผลหรอกครับ ว่าทำไมสนใจเสียเหลือเกิน ได้เห็นระบบทางวิศวกรรมในอาคารทั้งหลายเหล่านั้น ผมมั่นใจว่าคุณภาพระบบไม่แพ้อาคารในญี่ปุ่นและอเมริกา ทั้งนี้ ต้องขอบคุณวิศวกรที่ปรึกษาและออกแบบของไทยที่มีมาตรฐานสูงในการทำงาน

สิ่งที่เป็นห่วงคือการดูแลบำรุงรักษาของเจ้าของอาคาร ที่บางครั้งอาจจะประหยัดเกินไปและละเลย:บางระบบไม่ทำงานก็ไม่สนใจแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตัวอย่างเช่น ระบบ Fire Alarm เตือนภัยอุบัติเหตุไฟไหม้ เมื่อรวนขึ้นมากริ่งสัญญาณดังบ่อย แทนที่จะหาสาเหตุที่แท้จริง กลับไปปิดระบบดึงฟิวส์ออกเสียเลยเพราะความรำคาญ

เภทภัยที่เสียหายอย่างใหญ่หลวงมักเกิดจากความสะเพร่าเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ปรีชาญาณ(Intellect) อย่างเดียวไม่พอ ต้องใช้ปัญญา (Intuition) เพื่อรู้ถึงเส้นผมบังภูเขาและผลของน้ำผึ้งหยดเดียว

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

——————————————————————————————

ข้อมูลจำเพาะของผู้เขียน

djitt2

     ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา

     ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี  การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูง และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

Categories: Post from Dr.Jiit