ผิวหนังหุ่นยนต์
ปลายนิ้วของมนุษย์มีความหนาแน่นของตัวรับสัญญาณถึง 250 receptors/ตารางเซนติเมตร และสามารถรับรู้ค่าต่างๆได้หลายรูปแบบ เช่น การสั่นสะเทือน ความดัน อุณหภูมิ ความเจ็บปวด ความละมุนละไมของวัตถุที่นิ้วไปสัมผัส นอกจากนี้ผิวหนังของสัตว์บางประเภทยังรับรู้ความเข้มของแสงได้อีกด้วย
เครือข่ายเซ็นเซอร์ที่กล่าวถึงนี้ได้รับการพัฒนากันอย่างกว้างขวางในหมู่ห้องปฏิบัติการวิจัยทั่วโลก ที่ Media Lab ของเอ็มไอที มีโครงการที่ชือว่า “Tribble” ประกอบไปด้วยหน่วยรับรู้ต่างๆที่ต่อถึงกันทั้งด้านกายภายและการสื่อสารเพื่อให้เกิดการทำงานแบบเครือข่าย ขนาดของ Tribble เท่ากับลูกฟุตบอล หน่วยรับรู้ครอบคลุมการวัดค่าต่างๆใกล้เคียงกับค่าที่ผิวหนังมนุษย์รับได้และยังได้เพิ่มเซ็นเซอร์ทางด้านแสงและเสียงเข้าไปด้วย นักวิจัยส่วนใหญ่เรียกขาน Tribble ว่าเป็นผิวอิเลกทรอนิกส์-หุ่นยนต์ (Electronics, robotic skin) และเพื่อความตื่นเต้นตอนเด็กๆมาเล่นด้วย ผู้สร้าง Tribble ได้เพิ่มเติมแสง-สี-เสียง ตอบสนองออกมาเมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบกับผิวของ Tribble โปรไฟล์อาการตอบสนองเหล่านี้เกิดจากการประสานข้อมูลที่หน่วยรับรู้ระดับต่ำสุดรับเข้ามา หลังจากประสานข้อมูลแล้วบางข้อมูลต้องผ่านขบวนการตีความและการคำนวณเพิ่มเติมซึ่งต้องใช้เวลา แต่บางข้อมูลต้องตอบสนองทันทีในลักษณะที่คล้ายๆกับอาการรีเฟลกซ์ของมนุษย์ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลเรื่องความอยู่รอด เหมือนตอนที่คุณหมอเอาค้อนยางเคาะที่หัวเข่าเรา ท่อนขาช่วงล่างจะกระตุกและเคลื่อนไหวทันทีหากเรายัง “ฟิต” อยู่ อาการรีเฟลกซ์น่าจะเป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้โดยเฉพาะกับคนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับศิลปะป้องกันตัว เมื่อเราเข้าไปใกล้โดยที่เขาไม่ทันรู้ตัว อาการรีเฟลกซ์ของเขาอาจทำให้เราบาดเจ็บได้โดยที่เขามิตั้งใจ ปัจจุบัน Tribble มิได้มีไว้แค่โชว์เพื่อจุดประสงค์ด้าน Edutainment เท่านั้น แต่ยังเป็นอุปกรณ์ในการทดลองหลายอย่าง อาทิเช่น การสื่อสารระหว่างหน่วยรับรู้ในแต่ละ Panel ที่ใกล้เคียงกันนั้น นำไป Simulate ขบวนการผลิตสารเคมีให้เรารู้ถึงภาวะ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับสลายไป (Buildup-Stay-Decay) ที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตใช้ทิศทางระดับสารเคมีในการสร้างเครือข่ายระบบควบคุมพฤติกรรม พื้นฐานพฤติกรรมสองอย่างคือการสะกดกลั้นไว้ และ ตื่นเต้นเก็บอาการไม่อยู่ ได้นำมาศึกษาและทดลองบน Tribble เพื่อใช้สร้างอัลการิธึ่ม ควบคุมมิให้ หน่วยรับรู้อ่อนไหว (sensitive) มากเกินไป ดังเช่นในกรณีที่ต้องละความสนใจหรือพัฒนา “ความเคยชิน” กับแสงสว่างอ่อนๆที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักแล้วไปใส่ใจกับสิ่งที่สะดุดตาและเหตุการณ์สำคัญหรือสถานการณ์ที่ต้องมีการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ครั้งหนึ่ง Tribble ไปโชว์ตัวที่งานแสดงเทคโนโนโลยีหุ่นยนต์ เมื่อมีเด็กคนเดียวมาเล่นด้วย การสื่อสารระหว่างหน่วยรับรู้จะกระตุ้นให้ปฎิกริยาตอบสนอง: แสงสีเสียงและการเคลื่อนไหว ของแต่ละ actuator ใกล้เคียงไปยังเด็กคนนั้น แต่ถ้ามีเด็กหลายคนมาเล่นพร้อมๆกัน แต่ละหน่วยรับรู้และ actuator จะทำงานเฉพาะที่ (Localization) เพื่อตอบสนองเด็กแต่ละคน ถึงเวลานั้น ปัญญาประดิษฐ์อาจพัฒนาต่อไปถึง “จิตเทียม” ได้ และเมื่อร่างกายคนเราขาดสมดุลย์ “จิตตชีวะ” ต้องตายลง จิตและกายของเราแยกจากกันแล้ว เราสามารถฝากจิตเทียมๆนี้ไว้กับหุ่นยนต์ก็ได้นะครับ
—————————————————————————————— ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา
|