โอแอลพีซี:สมองกลเพื่อการเรียนรู้
ผมได้เคยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ เกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์ 100 US$ ไว้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2549 ว่าก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจสั่งซื้อ![]() เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาราคา 100 เหรียญนี้จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรชื่อ “หนึ่งเยาวชนหนึ่งแล็ปท็อป (One Laptop per Child หรือ OLPC)” ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐเดลาแวร์ (Delaware) ของสหรัฐอเมริกา องค์กรนี้ถูกจัดตั้งโดยบุคลากรจากห้องวิจัย Media Lab ของ MIT เพื่อออกแบบ ผลิต และแจกจ่ายเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในราคาถูกพอที่จะให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้เข้าถึงความรู้และรูปแบบการศึกษาสมัยใหม่ โครงการนี้สร้างขึ้นบนพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ที่เรียกกันว่า Constructionism ซึ่งริเริ่มโดย Seymour Paper และ ถูกพัฒนาต่อโดย Alan Kay รวมทั้งหลักการในหนังสือ Being Digital ที่ Nicholas Negroponte ได้เขียนไว้ บริษัทผู้ร่วมงานและก่อตั้งโครงการ กุศล นี้เพื่อเด็กทั่วโลก ได้แก่ บริษัท Advanced Micro Devices (AMD), Brightstar, Google, News Corporation, Nortel, Design Continuum และ Red Hat ศาสตราจารย์ Nicholas Negroponte เป็นประธานของโครงการ โดยมี Mary Lou Jepsen เป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี นักวิจัยชั้นนำของโลกที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้แก่ Walter Bender Michail Bletsas Mark Foster และ Jim Gettys |
|
![]() โครงการนี้มิได้มีจุดประสงค์ไปที่การ ขาย คอมพิวเตอร์ราคาถูกอย่างที่หลายท่านเข้าใจ แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่มุ่งให้เด็กทั่วโลกใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการ เรียนรู้ จริงๆ มิใช่มาใช้แทนเครื่องพิมพ์ดีดเช่นปัจจุบัน หากมีการวางแผนและประสานงานที่ดีระหว่าง การสร้างเนื้อหา คุณครูที่ทำหน้าที่เป็น Facilitator และเด็กนักเรียนแล้ว คอมพิวเตอร์นี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เข้าหาแหล่งความรู้ ทดลอง การเปรียบเทียบผลการศึกษาในกลุ่มเพื่อนๆ ตลอดจนการค้นคว้าร่วมกันเป็นทีมได้ผมเคยถาม ศาสตราจารย์ Nicholas Negroponte ทำไมไม่ร่วมคิดโครงการกับ ยักษ์ใหญ่อินเทล และไมโครซอฟท์ ทั้งๆ ที่ก็รู้จัก คุณ Bill Gates อย่างดี ได้รับคำตอบว่าปรัชญาหลายๆ เรื่องไม่ตรงกัน โครงการ โอแอลพีซี มิได้หวังผลทางธุรกิจ จึงไม่เร้าใจในสายตาของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และบางครั้งเป็นตัวเปรียบเทียบที่สำคัญในเรื่องราคา และสมรรถนะในเชิงการเรียนรู้ของเด็ก บริษัทควอนต้าคอมพิวเตอร์ (Quanta Computer Inc.) ในไต้หวันได้รับคัดเลือกให้เป็นบริษัทพัฒนาต้นแบบสินค้า (ODM) ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาราคา 100 เหรียญ ซึ่งคาดว่าจะผลิตและจัดส่งเครื่องได้ภายในเดือนพฤษภาคมปี 2550 เครื่องเหล่านี้จะขายให้กับภาครัฐและแจกจ่ายให้กับนักเรียนตามโรงเรียนโดยยึดหลักหนึ่งเยาวชนต่อหนึ่งเครื่อง ในเบื้องต้นประเทศที่สนใจเจรจาได้แก่ จีน อินเดีย บราซิล อาร์เจนตินา อียิปต์ ไนจีเรีย นอกจากนั้น เครื่องส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้เพื่อวางรากฐาน สร้างกลุ่มผู้พัฒนาขึ้นในประเทศอื่นๆ ที่จะเข้าร่วมโครงการ ภาพรวมของ OLPC |
|
* รายละเอียดเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ สำหรับประเทศไทย ทีมงาน OLPC ได้ทำการพัฒนาส่วนรองรับการทำงานกับระบบภาษาไทยให้สามารถทำงานเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ และมีส่วนของการรับข้อมูล และการวางผังสำหรับคีย์บอร์ดภาษาไทยที่ถูกต้องตรงตามมาตรฐาน TSI 820/2538 ด้วยและสามารถแสดงผลภาษาไทยได้เช่นกัน หัวข้อที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับการใช้งาน OLPC ในประเทศไทย จุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนา OLPC นั้นเพื่อสร้างโอกาสให้เด็กนักเรียนที่ขาดโอกาสในการใช้เครื่องมืออันทันสมัย ได้มีเครื่องมือทางการศึกษาในการแสวงหาความรู้ และสร้างปัญญา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับแนวการเรียนที่ให้เด็กผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนแบบ Constructionism ได้ * ความเหมาะสมทางด้านฮาร์ดแวร์ * ความเหมาะสมทางด้านซอฟท์แวร์ |
|
* ความเหมาะสมทางด้านเนื้อหาและกิจกรรม เราสามารถใช้ OLPC เป็นเครื่องมือทางด้านการศึกษากับการเรียนรู้ในปัจจุบันตามแบบของกระทรวงศึกษาได้ เช่นการใช้ทำเอกสารรายงาน การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การทำรายงาน การส่งอีเมล์ส่งงาน การฝึกเขียนโปรแกรมหรือแม้กระทั่งประพันธ์เพลง นอกจากนี้ความสามารถเกียวกับ Mesh Network ของ OLPC นั้นเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Constructionism ที่เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างถ้าให้เด็กนำแล็ปท็อปออกไปสำรวจสมุนไพรประจำท้องถิ่น พวกเขาสามารถใช้กล้องถ่ายภาพตัวอย่าง จดบันทึกโดยการเขียนหรือวาดไปบนทัชแพด แชร์ข้อมูลถึงกันด้วย Mesh Network สัมภาษณ์ชาวบ้านด้วยไมค์ ร่วมกันทำรายงานนำเสนอ แล้วส่งไฟล์ผ่านทางอีเมล์ เป็นต้น* การกำหนดนโยบายและแผนการจัดการเกี่ยวกับ OLPC OLPC เป็นเพียงเครื่องมือทางด้านการศึกษา และมันจะไม่มีคุณค่าเลยถ้าขาดการวางแผนจัดการที่ดี เพราะก่อนจะจัดซื้อและส่งแจกจ่ายให้โรงเรียนทั่วประเทศก็ควรมีการเตรียมความพร้อมและทดสอบกับโรงเรียนนำร่องเพื่อดูผลกระทบต่างๆทั้งทางด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล ทางด้านสังคม จิตวิทยา กิจกรรมการเรียนรู้ การใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด หัวข้อดังต่อไปนี้เป็นสิ่งที่มีการเตรียมก่อนการจัดซื้อและแจกจ่ายใช้งาน OLPC o การแจกจ่าย รัฐบาลก่อนจะเดินหน้าเรื่องนี้เต็มพิกัดเลย ผมอดเป็นห่วงไม่ได้เกรงว่าเราจะไม่พร้อมเพราะไม่รู้จริง ผมจึงต้ดสินใจตั้งทีมศึกษาและบุกเข้าไปที่ ถ้ำเสือ ถึงเอ็มไอที ไปดูให้ถึงบทที่ 10 ให้ได้ ผมเองโดนหน้าปกหนังสือหลอกอยู่ประจำ แต่เมื่อมาได้ยินว่ารัฐบาลนี้จะยกเลิกโครงการนี้เสียแล้ว ก็รู้สึกเสียดายแทนเด็กไทยที่พลาดโอกาสใช้เครื่องมือนี้เหมือนกับเด็กชาติอื่นทั้งๆที่ศักยภาพเด็กไทยไม่ด้อยกว่าใคร ประเทศไทยไม่ได้ร่ำรวยจะลงทุนอะไรต้องคิดให้ละเอียด ผมจึงเห็นว่าเราควรเข้าร่วมโครงการอย่าง สายกลางเพื่อสร้างโอกาสให้เด็กไทยให้รู้ทันเพื่อนๆเขาชาติอื่นทำอะไรกันอยู่ ช่วงนี้เราจึงควรซุ่มวางแผนเตรียมตัวให้พร้อมทั้งด้าน เนื้อหา การจัดการ ครู นักเรียน การต่อยอดทางเทคโนโลยี แล้วไปเข้าตอนรุ่นสองก็ได้ การรีบกระโดดขึ้นรถเมล์ทันทีโดยขาดการเตรียมตัวที่ดีอาจจะฉุกละหุกเกินไปจนเกิดอันตรายได้ ในขณะเดียวกันการไม่ชำเลืองดูว่ามีรถคันไหนเหมาะสมบ้าง เราอาจจะต้องเดินเท้าตลอดไปตามคนอื่นเขาไม่ทันก็ได้ครับ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา
|