กลยุทธ์การสร้างนักหุ่นยนต์ไทย
บุคลากรเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาในทุกๆด้าน ดังนั้นในการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวางกลยุทธ์ในการยกระดับศักยภาพของบุคลากรของประเทศในสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติควบคู่กันไปด้วย บุคลากรของประเทศในสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัตินี้หมายรวมถึงบุคคลต่างๆ ดังต่อไปนี้
– ครู/อาจารย์ผู้สอนหลักสูตรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
– นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
– นักเรียน นักศึกษา และบัณฑิตในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
– พนักงานและแรงงานที่ทำงานในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
– ผู้บริหารและผู้ประกอบการในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
– ประชาชนทั่วไป
จากการระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสามารถสรุปความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในแต่ละประเภท (Users Requirements) ได้ดังนี้
1. ครู/อาจารย์
1.1 ครู/อาจารย์มีความรู้ความสามารถในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
1.2 ครู/อาจารย์ทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้ และเพื่อนำเอาปัญหาจริงจากผู้ใช้กลับมาปรับปรุงหลักสูตร
1.3 ครู/อาจารย์มีงบประมาณเพียงพอในการวิจัยด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
2. นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ
2.1 นักวิจัยมีความสามารถในการออกแบบและสร้างนวัตกรรมทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับใช้ในการผลิต และสำหรับเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
2.2 นักวิจัยมีความสามารถในการออกแบบและปรับปรุงชิ้นส่วนสำหรับเครื่องจักรและหุ่นยนต์
3. นักศึกษาและบัณฑิต
3.1 บัณฑิตจบออกมาทำงานตรงสาขา
3.2 นักศึกษามีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการของผู้ใช้และพร้อมทำงาน
3.3 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติควรมีมาตรฐานวิชาชีพที่ดี
3.4 นักศึกษามีความสามารถในการวิจัยและพัฒนาได้
3.5 นักเรียนนักศึกษาตั้งแต่ระดับประถมถึงอุดมศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสนใจด้าน วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
3.6 นักศึกษามีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
3.7 นักศึกษามีจิตสำนึกในการใช้ของผลิตในประเทศ
4. ด้านพนักงาน
4.1 พนักงานทุกระดับมีความรู้เพิ่มเติมด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
4.2 พนักงานระดับ Knowledge Base มีความสามารถในการวิเคราะห์และซ่อมปรับปรุงชิ้นส่วนสำหรับเครื่องจักร/หุ่นยนต์
4.3 พนักงานมีวิธีคิดแบบเป็นระบบ มีความสามารถในการสื่อสาร มีจรรยาบรรณ และมีจิตสำนึกที่ดีต่อการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
5. ผู้บริหาร
5.1 ผู้บริหารส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ผลิตในประเทศไทย
5.2 ผู้บริหารเข้าใจ เห็นความสำคัญและพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
6. ประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
จากรายละเอียดความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรข้างต้นที่ผู้เชี่ยวชาญได้ระดมความคิดเห็นมานั้น สามารถสรุปเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรได้ 3 เป้าหมายหลักดังต่อไปนี้
1. พัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากร
2. พัฒนาความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากร
3. สร้างแนวทางความก้าวหน้าทางการประกอบอาชีพให้แก่บัณฑิตในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักทั้ง 3 ข้อข้างต้น ได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อตอบโจทย์ในการพัฒนาบุคลากรดังต่อไปนี้
แผนปฏิบัติการที่ 1 เร่งผลิตบัณฑิตในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
แผนปฏิบัติการที่ 2 จัดทำหลักสูตรในสถาบันการศึกษาเพื่อให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้จ้างงาน
แผนปฏิบัติการที่ 3 จัดการอบรมวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากรของประเทศ
แผนปฏิบัติการที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมกระตุ้นความสนใจของเยาวชนในวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
แผนปฏิบัติการที่ 5 ประชาสัมพันธ์ความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากรในประเทศ
แผนปฏิบัติการที่ 6 สร้างแนวทางความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพให้แก่บัณฑิตในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
แผนปฏิบัติการในการพัฒนาบุคลากรทั้งหกข้อนี้ หากพิจารณาจากการวิเคราะห์สถานภาพของบุคลากรในปัจจุบันของประเทศไทยทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ร่วมกับการพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคอย่างเป็นระบบ ดังแสดงในตารางที่ 1 โดยมีรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละแผนปฏิบัติการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 1 แผนปฏิบัติการในแนวเชิงรุก เชิงรับ ระยะสั้นและระ ยะยาว โดยพิจารณาจาก SWOT
ตารางที่ 2 แสดงรายละเอียดกิจกรรมของแต่ละแผนปฏิบัติการ
ขณะนี้ยุทธศาสตร์หุ่นยนต์ได้จัดพิมพ์-ทำเป็นรูปเล่มเรียบร้อยแล้ว ผู้สนใจ/สถาบันการศึกษาสามารถติดต่อขอรับได้ที่ ศูนย์อิเลกทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) หรือที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยพระจอมเกล้าธนบุรี ครับ
ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
ข้อมูลจำเพาะของผู้เขียน
ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา
ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม ฟีโบ้ (FIBO) เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูง และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนระดับปริญญาโทสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะ