แนวทางส่งเสริมบริษัทคนไทย - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

แนวทางส่งเสริมบริษัทคนไทย

logo robot brain

แนวทางส่งเสริมบริษัทคนไทย

บทความที่แล้ว เราได้วิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่า (value chain) ของอุตสาหกรรมสนับสนุนทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยอาศัยข้อมูลและการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และอุตสาหกรรมสนับสนุนทั้ง 3 กลุ่ม รวมถึงวิเคราะห์ศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) ของไทยใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน  ส่วนเนื้อหาในบทนี้จะเป็นการกำหนดตำแหน่งเป้าหมายของ SMEs ไทยในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมที่ทำการศึกษา หรือการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และพันธกิจ (mission) โดยอาศัยข้อมูลและการศึกษาวิเคราะห์ภาพรวม การเชื่อมโยง และแนวโน้มของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และอุตสาหกรรมสนับสนุนทั้ง 3 กลุ่มจากการวิเคราะห์ในบทที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา และแผนงานโครงการในการส่งเสริมสนับสนุน SMEs ไทยต่อไป

Pic 5 SS04 01 09

อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (automation)

วิสัยทัศน์  – SMEs ไทยมีส่วนแบ่งมูลค่าการตลาดเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 25 หรือ มีมูลค่า 2,500 ล้านบาท ภายในปี 2013

เป้าหมาย
– SMEs ไทยมีความน่าเชื่อถือในสายตาของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟมีความเท่าเทียมคู่แข่งขัน
– SMEs ไทยมีศักยภาพสามารถที่จะพัฒนางานได้ในระดับ turnkey โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
-บุคลากรมีจำนวนเพียงพอและมีคุณภาพ
– พัฒนาสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มขีดสามารถในการแช่งขัน

ยุทธศาสตร์การพัฒนา
-การยกระดับและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมสนับสนุนกลุ่มเครื่องจักรกลอัตโนมัติ
-สร้างมาตรการจูงใจเพื่อให้ SMEs ในอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความเที่ยงตรงสูงเข้าสู่อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ
-การพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการออกแบบ (conceptual design) การผลิตตามแบบ (replicate) การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ (close-loop system) และ การประกอบชิ้นส่วนที่มีความเที่ยงตรงสูง (tolerance stack up) ในระดับความเที่ยงตรงสูง
-การพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอต่อความต้องการในอุตสาหกรรม และมีคุณภาพเทียบเท่ากับระดับภูมิภาค
-การพัฒนาสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
-พัฒนาให้อุตสาหกรรมสนับสนุนกลุ่มเครื่องจักรกลอัตโนมัติเข้าสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงทั้งในและต่างประเทศ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์

กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอัตโนมัติมีเป้าหมายที่สำคัญคือการพัฒนาศักยภาพเพื่อนำไปสู่งานระดับ turnkey ซึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญในมิติของเป็นเรื่องของการพัฒนาในด้านการพัฒนาด้านนโยบาย เป็นเรื่องของการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเครื่องจักร ระบบฐานข้อมูลอุตสาหกรรม ในมิติของการพัฒนาบุคลากรเป็นเรื่องของการพัฒนาความรู้ในองค์รวม (system integration) ซึ่งต้องเชื่อมโยงระหว่างงานด้านเครื่องมือกล (mechanic) ระบบไฟฟ้า (electronic) ซอฟแวร์ (software) ระบบอัตโนมัติ (robotic) และระบบควบคุม (system control) ส่วนในด้านเทคโนโลยี SMEs ไทยต้องการพัฒนาในด้านการสร้างงานจากต้นแบบ (replication) การออกแบบ (conceptual Design) การประกอบชิ้นส่วนที่มีความเที่ยงตรงสูง (tolerance stack-up) และการพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ (close-loop control system) และในมิติการพัฒนาอุตสาหกรรมและเงินทุนจะให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน การเชื่อมโยงและเติมเต็มบทบาทหน้าที่ในแต่ส่วน (business consortium) การพัฒนาต่อยอด SMEs กลุ่ม precision ที่มีความสามารถ การสนับสนุนด้านเงินทุนในระบบ venture และการต่อยอดเพื่อขยายไปสู่อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพต่อไป

ในการจัดทำแผนงานโครงการและตัวชี้วัดต่างๆ ต้องมีความสอดคล้องกับยุทธ์ศาสตร์ที่กำหนดขึ้น จึงใช้เทคนิคการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดของงานในหลักการของบาลานซ์ สกอร์การ์ด (balance Scorecard) และแผนที่กลยุทธ์ (strategy Map) โดยกำหนดให้มีมิติที่สำคัญในการพัฒนา 5 มิติหลักคือ 1) การพัฒนาด้านบุคลากร 2) การด้านเทคโนโลยี 3) การพัฒนาอุตสาหกรรม 4) การพัฒนาด้านเงินทุน และ 5) การพัฒนาด้านนโยบาย โดยให้ความสำคัญในทุกมิติการพัฒนาอย่างสมดุลกัน

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th


 

ข้อมูลจำเพาะของผู้เขียน

ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา

djitt2

ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี  การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูง และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนระดับปริญญาโทสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะ

 

 

 


Categories: Post from Dr.Jiit