เทคโนโลยีเพื่อผู้อาวุโส - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

เทคโนโลยีเพื่อผู้อาวุโส

logo robot brain

เทคโนโลยีเพื่อผู้อาวุโส

article193-1

เนื่องจากผมเป็นศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยเกียวโต จึงได้รับเชิญๆไปบรรยายเรื่องเทคโนโลยีเพื่อผู้อาวุโส วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ นี้ ณ.โรงแรมแมนดาริน ในงาน Kyoto University Southeast Asian Forum โดยมี Theme ของงานนี้คือ Health Crisis!! Business Chances Creation ครับ

ปัจจุบันนักวิจัยทั่วโลกได้ความสนใจเรื่อง Assistive Technology (AT) ซึ่งก็คือเทคโนโลยีที่นำมาผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีความบกพร่องด้านใดด้านหนึ่งให้ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้โดยพึ่งพิงผู้อื่นน้อยที่สุด ทั้งนี้ครอบคลุมถึงการให้บริการ การประยุกต์ใช้ และการนำไปปฏิบัติเพื่อลดอุปสรรคการทำกิจกรรมเหล่านั้น หากอ้างอิงจากสถาบันวิจัยผู้พิการและกายภาพบำบัด (National Institute on Disability and Rehabilitation Research) ของสหรัฐอเมริกา สำหรับระบบประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยีนี้ ประกอบด้วยarticle193-3

article193-21. ระบบสถาปัตยกรรม 2. Sensory Elements 3. Computers 4. Controls 5. Independent Living 6. Mobility 7. Orthotics/Prosthetics 8. Recreation/Leisure/Sports 9. Modified Furniture/Furnishings และ 10. Services การจัดประเภทเหล่านี้ใช้เพื่อความสะดวกในการจำแนก AT เท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีบางอย่างอาจมีการผสมผสานกันหลายๆรูปแบบ
ระบบสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยที่เอื้ออำนวยต่อผผู้สูงอายุ คือ กลไกการเปิด/ปิดประตูหรือหน้าต่างแบบชาญฉลาด เช่น ใช้เสียงหรือรีโมทในการเปิด/ปิดประตู และมีการพิจารณาดัดแปลงส่วนต่างๆ ภายในบ้านให้เหมาะสมกับการใช้งานกับผู้พิกาเฉพาะทาง เช่น บันได, ทางลาด, ห้องน้ำ

อุปกรณ์ที่ช่วยในการมองเห็น (Vision Aids) เช่น ระบบ Haptics แทนการใช้ตาเพื่อช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถรับรู้ถึงพื้นที่จริง อุปกรณ์แปลงตัวอักษรเป็นเสีย อุปกรณ์ขยายภาพ อุปกรณ์ที่ช่วยในการได้ยิน article193-4(Hearing Aids) เช่น เครื่องช่วยฟัง ขยายสัญญาณเสียงจากสิ่งแวดล้อม รวมถึงอาจสามารถตัดเสียงรบกวนที่ไม่จำเป็นได้ โดยการปรับเฟสตรงข้ามไป 180 อาศา เหมือนๆกับหูฟังที่เราใช้บนเครื่องบินนั่นเอง การติดตั้งสัญญาณอื่นๆ แทนสัญญาณเสียงสำหรับคนหูหนวก เช่น ใช้ไฟ Flash เป็นสัญญาญแทนการเคาะประตู, โทรศัพท์ที่สามารถเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นข้อความ

ส่วนอุปกรณ์ที่ช่วยในการรับรู้ (Cognitive Aids) คือ Keyboard ที่มี user interface ใช้งานง่าย เช่น group keys ตามสีและตำแหน่ง, เพิ่มปุ่มพิเศษสำหรับการ launch โปรแกรมเฉพาะทาง และ Text-to-audio-software คนใบ้สามารถใช้ Voice Generator อาศัยหลักการ Text-to-Speech เช่น พิมพ์ Keyboard แล้วให้อุปกรณ์พูดสิ่งที่พิมพ์

article193-5

Hardware หรือ Software ที่ช่วยให้ผู้พิการ/ผู้สูงอายุใช้ computer ได้สะดวกขึ้น เช่น HeadMouse สำหรับคนพิการแขน โดยเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของตา (ทิศทางการมอง) ไปเป็นตำแหน่ง Pointer บนจอ Keyboard ที่แสดงผลเป็นอักษรเบรลล์ และ การสั่งงานด้วยเสียง

article193-6

หุ่นยนต์ทำความสะอาดบ้าน แปรงสีฟันไฟฟ้า Sensor สำหรับฝักบัวและชักโครก อัตโนมัติ อุปกรณ์ช่วยป้อนอาหาร ช่วยเพิ่มความสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ตั้งแต่ การแต่งตัว ทำครัว เข้าห้องน้ำ ทำความสะอาด กินนอน นั่ง เดิน

article193-7

การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่ได้สะดวกขึ้นด้วย เครื่องช่วยเดิน รถเข็นทั้งแบบธรรมดาและไฟฟ้า ไม้เท้า/ไม้คำยันอุปกรณ์ทดแทนร่างกายส่วนที่ขาดหายไปหรือเสริมการทำงานในส่วนที่บกพร่อง เช่น ขาเทียมแบบปรับอัตราหน่วงได้จากงานวิจัยของ FIBO เข่าเทียม เท้าเทียม และอุปกรณ์เสริมการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ
Smart Home เป็นการบูรณาการ AT ทั้งหมดเพื่อใช้เป็นบ้านที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของผู้พิการ/ผู้สูงอายุ ในต่างประเทศมีระบบเฝ้าดูทางไกล (Remote Monitoring) เพื่อเฝ้าระวังและดูแลผู้พิการ/ผู้สูงอายุ ผ่านทาง Internet ในขณะที่ทำงานอยู่ที่ Office โดยที่บ้านจะมีการติด Sensors ตามห้องต่างๆ ไว้ สำหรับหมอในการติดตามผู้ป่วย บางสถานที่มีการติดตั้ง Tele-operation robot เพื่อช่วยดูแลคนที่อยู่ที่บ้าน เช่น ป้อนน้ำและอาหาร หรือเตือนให้รับประทานยาเมื่อถึงเวลา
ขอทิ้งท้ายว่าเทคโนโลยีใดๆก็เปรียบเทียบไม่ได้กับการดูแลเอาใจใส่ผู้อาวุโสของลูกหลานไม่ได้ วัฒนธรรมตะวันตกที่มีบ้านคนชราดูจะไม่เหมาะสมนักกับบ้านเราที่มีความผูกพันกันมาก ผมมีโอกาสได้พบเห็นบางครอบครัวมีอยู่พร้อมหน้าทุกคนถึงสี่รุ่น ปู่ย่าตายาย พ่อแม่ ลูกหลาน และเหลน เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในบทความนี้จึงเป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้นครับ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

——————————————————————————————

Categories: Post from Dr.Jiit