บุคลากรระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาของไทยทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติยังมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการของอุตสาหกรรมภายในประเทศ ส่วนใหญ่กระจายอยู่ตามสาขาต่างๆของวิศวกรรม เช่น วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหกรรม เป็นต้น บางส่วนได้บุกเบิกไปเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี (Technopreneur) ผลงานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยจากฐานข้อมูล Science Citation Index ค.ศ. 1995-2004 ดังแสดงในรูป สอดคล้องกับจำนวนบุคลากรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ แต่มีข้อสังเกตว่าจำนวนบุคลากรและจำนวนผลงานตีพิมพ์สวนทางกับจำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนี้
ที่มา : ผลงานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยในฐานข้อมูล Science Citation Index ค.ศ. 1995-2004
ในขณะที่ภาครัฐมีการเตรียมพร้อมพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ โดยเห็นได้จากโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดประเด็นเชิงนโยบายอุดมศึกษา สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว มีประเด็นชัดเจนในเรื่องการยกระดับคุณภาพศึกษาในระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของสาขาเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ โดยได้กำหนดแนวทางไว้โดยการศึกษาในระดับอุดมศึกษาควรเน้น สหกิจศึกษา (Corporate Education) ให้มากที่สุดอาศัยความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ในประเด็นเรื่องพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอีกทั้งการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยควรเพิ่มเนื้อหาภาคปฏิบัติจากสถานการณ์จริง (Practice School) ตเช่น โปรแกรม ChEPS (Chemical Engineering Practice School) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ สหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการเรียนการสอนนักศึกษาไม่มีการแทรกปรัชญาหรือแนวคิดทางด้านธุรกิจ ทั้งนี้อาจารย์ผู้สอนเองไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้านนี้ จึงควรแสวงหาความร่วมมือจากนักธุรกิจให้มามีส่วนร่วมในการสร้างบัณฑิตด้วย ส่วนมากนักศึกษาถูกอบรมและสั่งสอนมาเพื่อเป็น “ลูกจ้าง” ดังนั้นภาครัฐจึงมีการสนับสนุนโปรแกรมการศึกษา ให้มีหลักสูตรเพื่อการเป็นผู้ประกอบการผนวกกับการวิจัยทางเทคโนโลยี นอกจากนี้สถาบันการศึกษาและอาจารย์ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ยังมีศักยภาพในการรับนักศึกษาได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากทั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ยังมีนักศึกษาเข้ามาศึกษาในแต่ละแห่งได้ไม่เต็มศักยภาพตามที่แต่ละสถาบันการศึกษาสามารถรองรับได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัญหาคือจะต้องมีทุนการศึกษาที่เจาะจงมอบให้เพื่อการศึกษาในสาขาวิชานี้ ซึ่งถ้านักศึกษามีความสนใจในด้านนี้อยู่แล้ว เมื่อได้รับการกระตุ้นจะสิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้มีผลต่อการตัดสินใจในการศึกษาต่อด้านนี้อย่างยิ่ง
การอาชีวศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ด้วยปัจจัยด้านความต้องการแรงงานที่ความชำนาญสูงย่อมส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ จากผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวางแผนการจัดการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนตามความต้องการของประเทศ โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป.ชี้ให้เห็นว่าความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงแผนฯ 10 คือ “เพิ่มจำนวนนักเรียนสายอาชีพให้ใกล้เคียงสายสามัญ เพิ่มกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับ ปวช. ปวส.” และจากผลการศึกษาความต้องการกำลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ยังแสดงให้เห็นว่า การผลิตและพัฒนากำลังคนตามความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ สถานประกอบการที่ใช้กำลังแรงงานเป็นหลัก มีโครงสร้างอัตราส่วนการใช้กำลังคนใน ระดับสูง : ระดับกลาง : ระดับต่ำ เป็นอัตราส่วนประมาณ 10 : 20 : 70 ซึ่งส่งผลต่อปัญหาการขาดแคลนกำลังคนระดับกลางหรือระดับปฏิบัติการทั้งปวช. และปวส. นอกจากนี้จากการศึกษาด้านแรงงานในปจจุบันและคาดการณ์ไปในอนาคตดังแสดงในรูป พบว่า ช่างฝีมือระดับกลางมีแนวโน้มไม่เพียงพอต่อความต้องการของกําลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการ และสวนกระแสความต้องการแรงงานในอนาคตที่ต้องการแรงงานระดับกลางที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องดังแสดงในรูป
ที่มา : อาชีวศึกษากับแนวทางพัฒนาฝีมือแรงงาน ประชากรและสังคม 2548, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ร้อยละของผูเขาเรียนในระดับมัธยมปลาย อาชีวศึกษา อนุปริญญาและปริญญาตรี
นอกจากนี้ จากผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันประจำปี 2549 ของสถาบันนานาชาติเพื่อการจัดการ (Institute for Management Development: IMD) พบว่าประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงด้านการศึกษาโดยรวม ตามหลังประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยควรเร่งพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีความสามารถต่อการแข่งขันทัดเทียมนานาประเทศได้
จากข้อเสนอแนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรม ได้นำเสนอไว้หลายประการคือ ควรทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง (Practice School) และความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี รวมทั้งให้สอดคล้องความต้องการของผู้ใช้กำลังคน (Demand Side) ส่งเสริมให้สถาบันเทคโนโลยีที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคต่างๆ เปิด “โรงเรียนสาธิตวิชาชีพ” เร่งรัดให้มีระบบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ ( TVQ ) ซึ่งสอดคล้องกับ
การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ [9] ที่ได้มีการกำหนดหลักสูตรมาตรฐานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติระดับอาชีวศึกษา (Vocational Technical Education Framework Manufacturing, Engineering, and Technology Cluster Robotics and Automation Technology) เมื่อทำการเปรียบเทียบหลักสูตรมาตรฐานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติระดับอาชีวศึกษาของมลรัฐแมซซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา กับหลักสูตรเมคาทรอนิกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึษา พ.ศ. 2546 พบว่ามีความใกล้เคียงกัน ยกเว้นยังขาดเนื้อหาของเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันคือ การส่งข้อมูลทางท่อนำแสง (Fiber Optics) และเทคโนโลยีภาพ (Vision) ที่ใช้ในการวัดและตรวจสอบชิ้นงานในระบบอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง
ที่มา : อาชีวศึกษากับแนวทางพัฒนาฝีมือแรงงาน ประชากรและสังคม 2548, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
จํานวนผู้ทํางานภาคอุตสาหกรรมและบริการ จําแนกตามระดับการศึกษา
Technology Cluster Robotics and Automation Technology) เมื่อทำการเปรียบเทียบหลักสูตรมาตรฐานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติระดับอาชีวศึกษาของมลรัฐแมซซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา กับหลักสูตรเมคาทรอนิกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึษา พ.ศ. 2546 พบว่ามีความใกล้เคียงกัน ยกเว้นยังขาดเนื้อหาของเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันคือ การส่งข้อมูลทางท่อนำแสง (Fiber Optics) และเทคโนโลยีภาพ (Vision) ที่ใช้ในการวัดและตรวจสอบชิ้นงานในระบบอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง
มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดประเด็นเชิงนโยบายอุดมศึกษา สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว ในประเด็นเรื่องการเพิ่มจำนวนและคุณภาพสายอาชีวศึกษาโดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดแนวทางไว้โดยให้เน้นภาคปฏิบัติจริง (ทวิภาคี) และพัฒนาระบบมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานฝีมือแรงงาน ยกระดับมามาตรฐานวิชาชีพให้เป็นระดับสากล นอกจากนี้ ควรปรับปรุงและเพิ่มสาระการเรียนการสอนทักษะทางอาชีพที่ปฏิบัติได้จริง (Competency-based)
แนวโน้มของกิจกรรมทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมีสูงขึ้นโดยเฉพาะการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับชาติมีกลุ่มผู้ให้ความสนใจเพิ่มขึ้น และเด็กไทยสามารถก้าวเข้าสู่การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติได้ ซึ่งหากมีการส่งเสริมให้เด็กไทยที่ได้ชนะการแข่งขันให้สามารถพัฒนาต่อยอดความรู้และทักษะ ให้ตรงสาขาทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และของประเทศต่อไป ส่วนด้านการอบรมบุคลากรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัตินั้น ประเทศไทยมีหน่วยงานที่รองรับกิจกรรมทางด้านการอบรมซึ่งกระจายตามหน่วยงานของรัฐและเอกชน แต่มีข้อสังเกตว่าจะรวมตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทำให้การเข้าถึงวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติตามภูมิภาคเป็นไปได้ยาก
ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th