แข่งขันหุ่นยนต์ลอยกระทง - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

แข่งขันหุ่นยนต์ลอยกระทง

logo robot brain

แข่งขันหุ่นยนต์ลอยกระทง

2010 10 04 02ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)ประเทศสมาชิก ABU(The Asia-Pacific Broadcasting Union) มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการจัดการ แข่งขันหุ่นยนต์ที่ประดิษฐ์โดยนักศึกษาของ ภูมิภาค ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เป็นประจำทุกๆปี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ และ การพัฒนา ทักษะในการประดิษฐ์นวัตกรรมของเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจ ได้อย่างทัดเทียมกัน ควบคู่ไปกับการเชื่อม ความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน ด้วยเจตนารม์ ที่ดีของ การร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมของภูมิภาค เอเซีย-แปซิฟิก

การแข่งขันการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest (ABU Robocon) เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสมาชิกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี คือ ประเทศไทย (2546/2003) เกาหลี (2547/2004) จีน (2548/2005) มาเลเซีย (2549/2006) เวียดนาม (2550/2007) อินเดีย (2551/2008) ญี่ปุ่น (2552/2009) และอียิปต์ (2553/2010)

ในระยะเวลา 9 ปี ของการแข่งขันที่ผ่านมา เราได้เห็นความร่วมมือกัน เราได้แลกเปลี่ยนทัศนคติต่อกัน เราได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเราได้ช่วยเหลือกัน อาจกล่าวได้ว่า ความสนิทสนมกันนั้นมีความหมายมากกว่าคำว่า “มิตรภาพ (friendship)” แต่เปรียบเสมือนดัง “ครอบครัว (family)” เยาวชนของเรา สร้่างความฝันในแต่ละปี เพื่อโอกาสในการเข้าร่วมแข่งขัน พวกเขาต่างฝึกฝนทักษะ เพิ่มพูนการเรียนรู้ เพื่อแสดงความสามารถผ่านสิ่งประดิษฐ์ที่เราเรียกว่า “หุ่นยนต์” การชิงชัยในแต่ละครั้ง สิ่งที่ทุกคนคาดหวังสูงสุดก็คือ การที่หุ่นยนต์ของตนเอง ได้แสดงสมรรถนะอย่างเต็มที่ตามวัตถุประสงค์ที่ได้สร้างมา หลายคนดีใจ ราวกับได้ชัยชนะ เพียงแค่หุ่นยนต์ของตัวเองทำงานได้อย่างสมบูรณ์ แต่ไม่ลืมที่จะปลอบใจคู่แข่งขัน และหลายคนเสียนำ้ตา ไม่ใช่เพราะว่าทีมของตัวเองพ่ายแพ้ แต่เพราะว่าหุ่นยนต์ของตนเองไม่สามารถทำงานได้ตามจินตนาการและแนวคิดสร้าง สรรค์ของตนเอง

ปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เป็นปีที่ครบรอบทศวรรษของการแข่งขัน ประเทศไทยได้รับเกียรติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการ2010 10 04 03แข่งขันอีกครั้ง เรามีความมุ่งมั่น และหวังที่จะให้เป็น “อีกก้าวย่างสู่อนาคต” ที่สดใส ด้วยการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีไปด้วยกัน ไม่ว่าก้าวนี้จะยาก ลำบากหรือมีอุปสรรคขวางกั้น แต่เราจะเป็นครอบครัวใหญ่ที่รำ่รวย ด้วยมิตรภาพ ร่วมก้าวเดินไปพร้อมกัน ด้วยเจตนารมณ์ ด้วยจิตวิญญาณ ที่มุ่งมั่น วันหนึ่งข้างหน้าอันไม่ไกล เราจะยืนหยัดอย่างแข็งแกร่งและมั่น คงในโลกของการพัฒนา ได้อย่าง เต็มภาคภูมิ

แนวคิดหลักของกติกาการแข่งขัน:

  • ผู้ชมการแข่งขันเข้าใจกติการได้ง่าย
  • การแข่งขันให้ความสนุกและตื่นเต้นต่อผู้ชม
  • หุ่นยนต์มีความฉลาด สามารถทำงานได้ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
  • หุ่นยนต์มีกลไกหยิบจับและวางสิ่งของได้ในแนว 3 มิติ
  • มีการร่วมมือกันระหว่างหุ่นยนต์ทั้งสองฝ่าย ในขณะแข่งขัน
  • นำเรื่องราวจากวัฒนธรรมประเพณีของไทย มาประยุกต์เข้ากับกติกาการแข่งขัน

การออกแบบเกมการแข่งขัน เพื่อให้ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขัน มีความเพลิดเพลินร่วมไปกับการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ในภารกิจสุดท้ายคือการปล่อยเปลวเทียนลงบนยอดสุดของเทียนซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของเกม ได้ถูกออกแบบเพื่อให้หุ่นยนต์ของทีมใดๆก็ตาม ที่สามารถปฏิบัติการได้สำเร็จในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา สมควรได้รับชัยชนะ

ความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง (History of Loy Krathong)

ลอยกระทง เป็นพิธีกรรมร่วมกันของ ผู้คนในชุมชนสุวรรณภูมิ ที่มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำ บรรพ์ เพื่อเป็นการขอขมาต่อธรรมชาติ หรือ “ผีน้ำ” ซึ่งต่อมาเรียกชื่อด้วยความยกย่องว่า “พระแม่คงคา” ผู้คนในยุคนั้นรู้ว่าที่มี ชีวิตอยู่ได้ก็เพราะ น้ำและดิน และนำ้เป็นสิ่ง สำคัญที่สุด ดังนั้นเมื่ออยู่รอดไปได้ปีหนึ่ง จึงทำพิธีขอขมาที่ได้ล่วงลำ้กำ้เกินโดยรู้เท่าไม่ถึงการ ขณะเดียวกันก็กระทำพิธีบูชาพระคุณ ไปพร้อมกัน

ความเป็นมาของประเพณีลอยกระทงของไทยนั้น ในยุคกรุงสุโขทัย ตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง มีแต่ชื่อ “เผาเทียน เล่นไฟ” ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็มีแต่ชื่อ “ชักโคม ลอยโคม แขวนโคม และลดชุดลอยโคมลงน้ำ”จนถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์จึงมีปรากฎชัดเจนในพงศาวดารแผ่นดิน รัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ เรื่องนางนพมาศ ขึ้นมา และคำว่า “ลอยกระทง” เพิ่งปรากฎในต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง ตามจันทรคติที่มีดวงจันทร์เป็นศูนย์กลาง เป็นสิ่งที่มีอำนาจทำให้เกิดนำ้ขึ้น น้ำลง และในวันสิ้นปีนักษัตรเก่า ก็คือ วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๑๒ เป็นช่วงที่น้ำขึ้นสูงสุด และเมื่อพ้นไปจากนี้ก็เริ่มขึ้นปีนักษัตรใหม่ เรียกเดือนอ้าย แปลว่าเดือนหนึ่ง เมื่อเทียบเวลาตามปฏิทินสุริยคติที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ระยะเวลานี้ก็จะอยู่ราวเดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน ซึ่งในปัจจุบัน การลอยกระทงนั้นมีขึ้นในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ คือวันพระจันทร์เต็มดวงช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในช่วงระยะเวลานี้ เป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว แม่นำ้ลำคลองเอ่อล้นไปด้วยนำ้ ท้องฟ้าสดใส อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่ความหนาวเย็นอันสดชื่น และพระจันทร์ก็สว่างสดใสในช่วงเวลานี้เช่นกัน
ก่อนที่จะลอยกระทงผู้คนมักอธิษฐานแสดงความสำนึกในบุญคุณของน้ำที่ได้นำมาดื่มและใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง ขอขมาลาโทษต่อพระแม่คงคาที่ได้กระทำให้แหล่งน้ำนั้นๆ ไม่สะอาด หลังจากนั้นก็ขอพรพระแม่คงคาจงดลบันดาลให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญ การลอยกระทงถือเป็นสัญญลักษณ์หนึ่งของการลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ ปล่อยสิ่งไม่ดีและโชคร้าย ให้ลอยทิ้งไปกับสายนำ้ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่สดใส

2010 10 04 04ในปัจจุบัน ประเพณีลอยกระทงถือได้ว่าเป็นประเพณีหลักอันหนึ่งของไทย ในวันลอยกระทง ช่วงเวลากลางวัน แต่ละชุมชนหรือครอบครัวต่าง ตระเตรียมวัสดุเพื่อประดิษฐ์กระทง บางครั้งก็ไม่ต้องซื้อหรือลงทุนด้วยเงินทอง บ้านใดมีวัสดุอะไร ก็ยินดีมอบให้เพื่อนบ้านไปด้วยมิตรไมตรี ไม่ว่าจะเป็น ต้นกล้วย ใบตอง ธูป เทียน และ ดอกไม้ ในวันนี้แต่ละบ้านแต่ละชุมชนดูคึกคัก เต็มไปด้วย เสียงพูดคุยทักทายและเสียงหัวเราะ เมื่อประดิษฐ์กระทงเสร็จในช่วงบ่าย ก็มีการ ประกวดประขันความสวยงามของกระทงกันก่อนถึงเวลาลอยกระทงในยามค่ำ

เมื่ออาทิตย์ลับฟ้าไป พระจันทร์ดวงกลมโตสดใสค่อยๆลอยขึ้นจากขอบฟ้า สะท้อนผิวนำ้ ดูราวกับเทพวิมาน ผู้คนรู้สึกว่าวันนี้ของปี พระจันทร์ดูดวงใหญ่ ที่สุดและสวยที่สุด แล้วเราก็ออกไปลอยกระทงพร้อมกันอธิษฐานขอขมา พระแม่คงคาที่ได้ล่วงเกินหรือกระทำการใดๆอันไม่สมควรในช่วงรอบปีที่ผ่านมาและขอความสุขมาสู่ชีวิตของเรา ตลอดไป
จากโบราณประเพณีอันงดงามบางส่วนได้ถูกประยุกต์ให้เหมาะสมกับการทำงานของหุ่นยนต์ แต่ละหน้าที่แต่ละส่วนล้วนท้าทาย ต่อสติปัญญาของเยาวชน ที่จะคิด สร้างสรรค์งานออกมาให้บรรลุเป้าหมาย

ขอให้ทุกท่านผู้เข้าร่วมการแข่งขัน แสดงศักยภาพทางปัญญาให้เต็มความสามารถ อย่างเต็มภาคภูมิ ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน “ผู้ใดเอาชนะใจตนเองได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะตลอดกาล” นั่นคือหัวใจของเกมการแข่งขันนี้

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

 

Categories: Post from Dr.Jiit