หลักความปลอดภัยในการออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

หลักความปลอดภัยในการออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

logo robot brain

 

เมื่อวานนี้ ผมไปชมการแข่งขัน Humanoid Robot Contest โดยสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย
เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน และ ทางบริษัทซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย) และเนคเทคร่วมให้การสนับสนุน
หลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้นลง มีนักข่าวมาถามความเห็นผมว่าในอนาคตเทคโนโลยีหุ่นยนต์จะมาเกี่ยวข้อง
กับสถานการณ์ภัยพิบัติอย่างไรบ้าง อดีตเราได้เห็นหุ่นยนต์มุดทะเลทรายไปดับเพลิงรุนแรงของท่อส่งน้ำมัน
ขนาดใหญ่ในสงครามอิรัก ในกรณีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่ Three Miles Island
มลรัฐเพลซิลวาเนีย เมื่อ 40 ปีก่อนนั้น หุ่นยนต์จาก Carnegie Mellon เข้าไปช่วย Clean up
สารกัมมันตรังสี แต่ในกรณีของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นที่ประสบเหตุครั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัยความรู้
และความชำนาญสูง ในการเดินสายไฟฟ้าเข้าไปที่ระบบระบายความร้อนให้ทันท่วงที ความสามารถของ
หุ่นยนต์ยังไม่ถึง เราจึงได้เห็นวีรบุรุษชาวญี่ปุ่นสละชีวิตเข้าไปในสภาวะที่ไปด้วยกัมมันตภาพรังสี
เพื่อแก้ไขปัญหา

2011-03-28-1

 

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีรวมทั้งเรื่องของหุ่นยนต์นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงในการออกแบบเพื่อความ
ปลอดภัยและการดำเนินการ (Operation) สำหรับเตาปฎิกรณ์ปรณูทั้ง ก่อน ระหว่าง และหลังจากเกิด
อุบัติเหตุ แน่นอนครับว่าเราทั้งหลายไม่ต้องการเห็นอุบัติเหตุ แต่ก็ต้องคิดเผื่อไว้ครับ ทางสถาบันวิทยา
การหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จึงได้จัดตั้งทีมนักวิจัย
เตรียมข้อมูล ศึกษา วิจัย เพื่อหาแนวทางและคำตอบด้านเทคโนโลยีหุ่นยต์และระบบอัตโนมัติสำหรับ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คงจะเป็นประโยชน์หากประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานประเภทนี้

2011-03-28-2

ความปลอดภัยด้านกายภาพ: เรื่องเป็นสิ่งที่ผู้นำรัฐบาลทั้งหลายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง
คำนึงถึงเป็นอับดับแรก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะสั้นและ
ระยะยาวให้น้อยที่สุด ซึ่งได้แก่ การเลือกสถานที่ตั้ง ต้องเป็นไปตามข้อบังของ International Atomic
Energy Agency (IAEA) ความมั่นคงทางธรณีวิทยาในเรื่องแผ่นดินไหว ความหนาแน่นประชากร
ในพื้นที่ใกล้เคียง แหล่งน้ำใกล้เคียง เป็นต้น

ความปลอดภัยด้านระบบ: เป็นการออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีระบบป้องกันอุบัติเหตุและ
ความผิดพลาดโดยใช้หลักตาม IAEA ที่เรียกว่า ”Defense in Depth” ซึ่งมีวัตถุประสงค์แรกในการ
ป้องกันอุบัติเหตุ แต่หากไม่สามารถป้องกันได้และมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้ว ก็จะมีการจำกัดความรุนแรง
ไม่ให้ลุกลามมากขึ้น โดยวิธีการนี้จะใช้การป้องกันหลาย ๆ ขั้น ทั้งในเชิงการดำเนินการและเชิง
กายภาพ ตัวอย่างเช่น มีวัสดุหุ้มและปกปิดแท่งเชื้อเพลิงและ Reactor หลายๆชั้น

ความปลอดภัยด้านการดำเนินการของมนุษย์: ต้องมีการวางแผนการดำเนินการและจัดการ
อย่างรอบคอบ การจัดซื้อจัดจ้างต้องโปร่งใสเน้นสมรรถนะเชิงเทคนิค (Technical Performance)
อย่างแท้จริง มีการตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพความปลอดภัยเป็นระยะๆ ในด้านนี้ ความปลอดภัย
จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีลักษณะนิสัยที่นำไปสู่การเกิด
วัฒธรรมการรักษาความปลอดภัย (Safety Culture) วัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงานใน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ กฏหมาย และตัวบุคคล
โดยเฉพาะตัวบุคคล บุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องตระหนักถึงความ
สำคัญของความปลอดภัยเป็นหลักในการทำงาน ซึ่งวัฒนธรรมความปลอดภัยนี้ต้องอาศัยการ
ปลูกฝังเป็นระยะเวลานาน ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่วัน

ดังนั้น ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมีความปลอดภัยสูงด้วยตัวของมันเอง แต่ถ้าหาก
บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่มีวัฒนธรรมความปลอดภัย การใช้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ก็จะมีความปลอดภัย
โดยรวมน้อยลงด้วย สุดท้ายแล้วต้องให้องค์กรณ์อิสระ เช่น IAEA เข้ามาหน้าที่ตรวจสอบโรงไฟฟ้า
นิวเคลียร์เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับ และสามารถดำเนินการและเพิกถอนใบอนุญาติได้ ในกรณีที่มี
การดำเนินการที่ไม่เหมาะสม

ตอนต่อไปในสัปดาห์หน้า ผมจะได้กล่าวถึงประเด็นทางเทคนิคที่สำคัญ “Defense in Depth”
คิดเพื่ออนาคต เพื่อเป็นแนวทางในการหารือรายละเอียดทางวิชาการครับ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
http://th.wikipedia.org/wiki/ชิต_เหล่าวัฒนา

Categories: Post from Dr.Jiit