ระบบหุ่นยนต์เพื่อการกายภาพบำบัด
ประเทศไทยมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งมีข้อจำกัดความสามารถในการพึ่งตนเองในการใช้ชีวิตประจำวัน จากผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า มีคนพิการร้อยละ 10 ของประชากรของประเทศ นั่นหมายถึงว่า ในประเทศไทยมีคนพิการไม่น้อยกว่า 6.6 ล้านคน ทั้งนี้มีคนพิการที่จดทะเบียนไว้ ที่สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ 528,766 คน แต่ก็ยังมีคนพิการอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน นอกจากนี้จากการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2546 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยจำนวน 6.3 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั่วราชอาณาจักร 63.6 ล้านคน นับเป็นร้อยละ 9.2 ซึ่งในปี พ.ศ. 2550 ประมาณการผู้สูงอายุจะขึ้นสูงถึง 7 ล้านคน ซึ่งจากการศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าจะมีประชากรจำนวนมากกว่าร้อยละ 10 ของประเทศ ที่มีข้อจำกัดในความสามารถในการพึ่งตนเองในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่ การทำภารกิจพื้นฐานต่างๆ เช่นการรับประทานอาหารเป็นต้น หากประชากรกลุ่มนี้ต้องอาศัยบุคคลอื่นในการดูแล ช่วยเหลือตลอดเวลาเพื่อดำเนินชีวิตประจำวัน จะต้องอาศัยประชากรในวัยทำงานเป็นจำนวนมากเพื่อดำเนินภารกิจนี้ ดังนี้การใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้พิการและผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในปัจจุบัน
แต่ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือในปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคเส้นเลือดในสมองตีบแตกตันเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นสาเหต่ที่ทำให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้ออ่อนแอ มีอาการอัมพฤกษ์อัมพาตเป็นผู้พิการทางสมองไม่สามารถเดินได้เหมือนคนปกติโดยในปัจจุบันนี้แนวโน้มการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยจะพบในผู้ที่มีอายุน้อยมากขึ้นและยังเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญเป็นต้นเหตุทำให้เกิดความพิการและความสูญเสียทางเศรษฐกิจนับว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของโลกเนื่องจากเป็นภาวะที่พบบ่อย เกิดความพิการได้มากใน ประเทศสหรัฐอเมริกาโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหต่สำคัญอันดับที่ 3 รองจากการบาดเจ็บที่ศีรษะที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการและเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับที่สองของประชากรในซีกโลกตะวันตกรองจากโรคหัวใจและมะเร็งสำหรับประเทศไทยโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหา ในทางการแพทย์และสาธารณสุขเช่นเดียวกัน ผู้ปุวยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงและต้องใช้ระยะเวลาในการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลระยะเวลานานปัจจ่บันนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในประเทศที่พัฒนาแล้วได้วิจัยและสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้ช่วยฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้โดยหุ่นยนต์จะถูกออกแบบมาเพื่อช่วยฝึกการเดินให้กับผู้ป่วยและช่วยในการสร้างมวลกล้ามเนื้อให้แก่ผู้ปุวยที่มีกล้ามเนื้อที่อ่อนแอให้สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้งด้วยท่าเดินที่ถูกต้องหุ่นยนต์เป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยนักกายภาพบำาบัดให้สามารถฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
สำหรับในประเทศไทยมีโรงพยาบาลและศูนย์การบริการทางการแพทย์ได้จัดหาหุ่นยนต์ช่วยผู้ป่วยในการฝึกเดินมาใช้ช่วยในการบำบัดผู้ป่วยจำนวนสองแห่งเท่านั้นคือโรงพยาบาลศิริราชและศูนย์สิรินธรโดยได้จัดหามาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในราคาประมาณ 15 ล้านบาทผู้ป่วยที่ต้องการรับการบำบัดต้องจ่ายเงิน 1,800 บาท/ครึ่งชั่วโมงซึ่งเห็นได้ว่าผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการเข้ารับการบำบัดในแต่ละครั้งและส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้ารับการบำบัดได้ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้ป่วยในการฝึกเดินจึงเป็นสิ่งนักวิจัยไทยในปัจจ่บันควรให้ความสนใจเป็นอยุางยิ่งการสร้างเทคโนโลยีสำหรับการกายภาพบำบัดโดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เป็นแนวทางใหมุที่จะช่วยบำบัดผู้ป่วยได้อยุางมีประสิทธิภาพสูงขึ้นหากมีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาได้เองในประเทศจะทำให้เทคโนโลยี
ดังกล่าวมีราคาถูกลงคือประมาณ 2 ล้านบาทต่อเครื่องและทำใหูโรงพยาบาลมีศักยภาพในการจัดหามาใช้ได้ซึ่งจะเป็นการประหยัดงบประมาณให้รัฐได้ถึง 12-13 ล้านบาทตุอหนึ่งโรงพยาบาลซึ่งโดยประมาณสามารถคิดเป็นงบประมาณที่จะประหยัดไปได้ถึงเกือบพันล้านบาทถ้าต้องการให้โรงพยาบาลทั่วประเทศมีอุปกรณ์กายภาพบำาบัดดังกล่าว
การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์นั้นในอดีตมุ่งเน้นไปในทางด้าน Fixed Robots ที่ใช้ในโรงงานอ่ตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิตในปัจจุบันสถาบันการศึกษาชั้นนำหลายแห่งของโลกหันมาให้ความสนใจวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์เพื่อนำมาประย่กต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการช่วยมน่ษย์ในภารกิจต่างๆมากขึ้นทางสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้มีการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบสองขามาตั้งแตุปี 2543 โดยใช้วิธีขยายผลการวิเคราะห์เชิงพลศาสตร์ของ Thomas R. Kane, ZMP, Gravity Reaction Force, Conservation of Energy นอกจากนี้ยังได้มีการนำความรู้ทางดูานระบบการมองเห็น (Vision System) กระบวนการคำนวณภาพ (Image Processing)และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มาช่วยให้หุ่นยนต์สามารถทำางานได้อยุางชาญฉลาดมากขึ้นตลอดจนการประดิษฐ์ขาเทียมหุ่นยนต์เพื่อช่วยเหลือพี่น้องทหารหาญที่สูญเสียขาจากการปฎิบัติภารกิจสำคัญสามจังหวัดภาคใต้
ฟีโบ้จึงได้ตัดสินใจริเริ่มพัฒนาระบบหุ่นยนต์เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำของไทย ตอนหน้าผมจะได้กล่าวถึงรายละเอียดครับ