ปฏิสัมพันธ์หุ่นยนต์เพื่อนอัจฉริยะ
หุ่นยนต์เพื่อนอัจฉริยะจะมีการใช้งานโมดูลสั่งการด้วยเสียง (Voice Command) ประเภทยึดน้ำเสียงผู้สอนเป็นหลัก (Speaker Dependence) มากขึ้นเพื่อสนับสนุนการปฎิสัมพันธ์กับมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหุ่นยนต์มีความเห็นว่าการทำความรู้จักมักคุ้นกับหุ่นยนต์มิได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากเช่นที่คนทั่วไปคิด นายโคลิน แองเกิล ซีอีโอของ บริษัทไอโรบอทที่เบอร์ลิงตัน มลรัฐแมสซาซูเซสต์ กล่าวว่า เจ้าของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น “รุมบ้า” กว่า 60 เปอร์เซนต์ รู้สึกใกล้ชิดกับหุ่นยนต์จนถึงกับตั้งชื่อให้ ชื่อที่ชอบตั้งกันมากคือ ชีเวส และ โรสซี่ ก็คงคล้ายๆกับนังแจ๋วของบ้านเรานะครับ สำหรับหุ่นยนต์ที่มีความฉลาดในระดับสูงสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้ ผลการศึกษาพบว่าเพียงแค่หุ่นยนต์เลียนบุคลิกเล็กน้อยในการวางตัวตามรูปแบบของสังคมมนุษย์ ก็มีส่วนสำคัญทำให้มนุษย์ให้การยอมรับและสบายใจที่จะอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์แล้วครับ แทนที่จะยื่นแข็งทื่ออย่างเดียว หากมีการเลิกคิ้วเมื่อตื่นเต้นหรือเอียงหัวนิดหน่อยขณะคิด หุ่นยนต์ตัวนั้นก็อาจจะชนะใจมนุษย์ที่คุยด้วยอยู่ข้างๆแล้วละครับ แม้แต่ตัวผมเองเมื่อคุยกับใครแล้วเขาไม่ยอมมองสบตาผม บางครั้งจะฉุกใจสงสัยคิดว่าเขาจริงใจหรือกำลัง “อำ” ผมอยู่หรือเปล่า? แน่นอนว่าเราสามารถบูรณาการบุคลิกจริงจังและจริงใจด้วยการ “มองสบตาคู่สนทนา” เข้าไปในหุ่นยนต์อย่างง่ายดาย เนื่องจากเทคโนโลยีเรื่องกล้องและภาพดิจิตอลก้าวไปใกล้มาก
ลูกศิษย์ที่ฟีโบ้เพิ่งได้ออกแบบระบบ “ตาดิจิตอล” ทำให้หุ่นยนต์สามารถจับชิ้นงานที่มีความคลาดเคลื่อนละเอียดมากๆในขบวนการผลิตหัวอ่านฮาร์ดดิสค์ ดังนั้นตาหุ่นยนต์จึงจับจ้องถึง “เรตินา” ตาของมนุษย์คู่สนทนาได้อย่างรวดเร็วและอย่างต่อเนื่อง อาจสุดโต่งไปอีกทางเพราะอาจจะทำให้มนุษย์อย่างเราๆเกิดอาการกลัวขึ้นมาก็ได้
อาซิโมรุ่นล่าสุดสามารถบันทึกข้อมูลหน้าตาของแขกผู้มาเยือนและจดจำไว้ในสมองดิจิตอลได้ถึง 200 คน การบันทึกนี้อาศัยการคำนวณระยะห่างตำแหน่งสำคัญบนใบหน้า (Feature) หุ่นยนต์ตัวอื่นๆตรวจสอบแม้กระทั่งสีผิวเมื่อปรากฏว่าหน้าตานี้ไม่มีอยู่ในฐานข้อมูล หุ่นยนต์ก็จะถามชื่อเก็บไว้ใช้ในการทักทายครั้งต่อไป
นายฮาร์ทวิก โฮลซาพฟีล นักวิทยาการคอมพิวเตอร์อีกท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยคาร์ลซรูห์ ประเทศเยอรมันนี ได้เพิ่มเติมฟั่งชั่นการโต้ตอบพื้นฐานชื่อ “Armar-3”เข้าในฮิวแมนนอยด์ ขั้นต่อไปที่ท้าทายสำหรับเขาคือการทำให้หุ่นยนต์เข้าใจคำสั่งมนุษย์ขบวนการแปลความหมายเริ่มจากที่ระบบจับคำพูด (Speech Recognition) แล้วนำคำที่ความออกมาไปเปรียบเทียบกับข้อมูลในสมองกล หากค้นหาหรือเทียบแล้วไม่เจอ หุ่นยนต์ก็จะถามซ้ำเพื่อความชัดเจน หากหาคำเจอ ขบวนการจะเข้าสู่แอลกอริทึมที่ได้เขียนไว้ล่วงหน้าเทคนิคที่ใช้นั้นต้องพยายามแตกย่อยแอคชั่นต่างๆลงสู่ระดับพื้นฐาน แล้วใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการประสานแอคชั่นนั้นๆให้สอดคล้องกับคำสั่งที่ได้รับมา
มีการใช้หุ่นยนต์เพื่อรักษาเด็กออทิสติกส์ดร. ชิบาตา ผู้สร้างหุ่นยนต์แมวน้ำ (Paro) แม้จะไม่ใช่ฮิวแมนนอยด์ แต่พาโรสามารถตอบสนองอย่างซับซ้อนต่อการสัมผัสของมนุษย์ ดร. ชิบาตา ใช้แอลกอริทึ่มเรียนรู้ด้วยตนเองแบบ “Reinforcement Learning” ในการกำหนดแอคชั่นต่างๆของพาโร และพาโรก็เป็นหุ่นยนต์ตัวหนึ่งที่ถูกนำมาทดลองกับเด็ดออทิสต์
การเปรียบเทียบคำที่นายฮาร์ทวิกทำอยู่นั้น ไม่น่าจะทำให้หุ่นยนต์พัฒนาการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้ถึงขั้นสูงสุดได้ ดังนั้นกลุ่มนักวิจัยที่มีเดียแลปแห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาซูเซสต์ หรือ เอ็มไอที นำโดยนายเดบ รอยจึงทำการฝึกหุ่นยนต์ของพวกเขาที่ชื่อ ทริสค์ ให้ทราบความหมายของคำมากไปกว่าสิ่งที่ได้บันทึกไว้ล่วงหน้า ตัวอย่างเช่นขณะที่สอนคำว่า “น้ำหนัก” แก่สมองของทริสค์นั้น จะให้กลไกแขนขาในตัวทริสค์ทดลองยกน้ำหนักไปด้วย ทริสค์จึงรู้ซึ้งถึงความหมายของคำนี้จากประสบการณ์ตนเอง