บทเรียนอุทกภัย จ. ลพบุรี - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

บทเรียนอุทกภัย จ. ลพบุรี

logo robot brain

บทเรียนอุทกภัย จ. ลพบุรี

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมมีโอกาสไปรับฟังความคิดเห็นกลุ่มชาวบ้านจากชุมชน ท่าแค ท่าวุ้ง และ บ้านหมี่ที่ประสบอุทกภัย ของจังหวัดลพบุรี โดยทั่วไป จังหวัดลพบุรีไม่เคยมีปัญหาจากปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ แต่ในปี ๒๕๕๔ มีปริมาณน้ำจากต้นน้ำมากเกินคาดหมาย ดันเข้ามาทางรอยแตกของประตูน้ำบางโฉมศรีน้ำในทุ่งสูง ๓๕ เมตร ในขณะที่เขตชุมชนสูงถึง ๒ เมตร เกิดความเสียหายทั้งภาคการเกษตรและที่อยู่อาศัย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังหลายพื้นที่ยังทำการเกษตรไม่ได้ ผู้เสียหายอยู่ในขบวนการรับค่าชดเชยตลอดจนประชาชนเริ่มเกิดความกังวลที่บางพื่นที่ที่มีระดับต่ำอาจถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ ในกรณีทีปีนี้เกิดน้ำท่วมเช่นเดียวกับปีที่แล้ว

274 01

ผมชื่นชมการทำงานของภาครัฐที่สนับสนุนชุมชนให้รวมตัวกันเพื่อระดมความคิดหาทางแก้ไขจากบทเรียนอุทกภัย ปี ๒๕๕๔ ผมเชื่อว่าข้อมูลและความคิดของคนในพื้นที่มีความสำคัญเพราะชาวบ้านย่อมรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นในพื่นที่ของเขา และเมื่อผนวกข้อมูลนี้เข้ากับการแก้ไขปัญหาในระดับประเทศย่อมสัมฤทธิ์ผลอย่างแน่นอน ต่อไปนี้เป็นความเห็นเป็นความเห็นที่สรุปจากเวทีหารือจากทั้งสามชุมชนครับ

อุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำ ด้านสิ่งก่อสร้าง มีการเปลี่ยนแปลงจากลำคลองเป็นถนน ทางระบายน้ำมีน้อย ไม่มีที่ชะลอน้ำ และ คั้นกั้นน้ำชลประทานไม่แข็งแรงด้านภูมิศาสตร์ มีการถมที่เพื่อพัฒนาสู่ภาคอุตสาหกรรมจนไม่สามารถรองรับน้ำได้อย่างที่ควรจะเป็นอีกทั้งยังเป็นการขัดขวางทางเดินของน้ำคลองชัยนาทป่าสักมีลักษณะเป็นคอขวด น้ำไม่สามารถระบายได้คล่องและรวดเร็ว ด้านการบริหารน้ำ การจัดการน้ำในเขื่อนไม่มีการพร่องน้ำเป็นระยะๆและเมื่อมีฝนตกก็ไม่ควรระบายน้ำออกมาสู่พื้นที่อีกการใช้เครื่องสูบน้ำเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องเพราะใช้ได้เฉพาะพื้นที่ เฉพาะเวลา ขาดการบริหารจัดการน้ำอย่างมีระบบขาดการเชื่อมโยงของแต่ละองค์กรที่ต้องมีหน้าที่ในการจัดการน้ำร่วมกันและขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนกับทุกฝ่ายด้วยน้ำไม่ไหลไปตามระบบชลประทานแต่ไปไหลลงลุ่มชุมชนบ้านหมี่อย่างเดียวขาดความจริงใจในการแก้ปัญหา พอน้ำมาก็หมดปัญญาบริหารไม่ได้ ด้านข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ ไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่ละฝ่ายพูดไม่ตรงกัน บางครั้งข้อมูลน้อยไป ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจข้อมูลที่ให้เป็นภาษาที่ชาวบ้านไม่เข้าใจขาดช่องทางสำหรับชาวบ้านที่จักถึงข้อมูลได้

274 02

แนวทางการแก้ปัญหา ลดผลกระทบต้องมีโครงข่ายในการประสานข้อมูล ต้องมีศูนย์ประสานงานประจำตำบล ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์น้ำ สร้างการมีส่วนร่วมในการระบายน้ำ เชื่อมโยงทุกพื้นที่ต้องทำให้ชาวบ้านรู้แผนการรับมือน้ำในปีนี้โดยทั่วกัน เข้าถึงข้อมูลเตือนภัยเข้าใจระบบจัดการการบรรเทาทุกข์ ต้องมีศูนย์บริการอาหารน้ำดื่มประจำทุกอำเภอแต่ละหมู่บ้านควรมีเรือประจำการสามลำ การเตรียมพร้อมรับมือของชุมชน จัดตั้งศูนย์ประสานเชื่อมโยง ระหว่างครอบครัว ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัดรัฐควรให้งบประมาณแก่ชุมชนในการจัดเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติ

274 03

ด้านการเกษตรมาตรการป้องกัน กำหนดเขตรับน้ำอย่างชัดเจนดูแลและป้องกัน เขื่อนและเสริมคันกั้นแม่น้ำต้องมีการจัดการน้ำอย่างเป็นธรรม เฉลี่ยน้ำไปโดยไม่เห็นแก่ตัวชลประทานต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง ต้องมีช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงเพื่อติดตามข้อมูลน้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นต่อการทำเกษตรได้ต้องจัดทำแผนที่ที่มีเส้นทางน้ำพื้นที่ลาดเอียง ระดับความสูงต่ำ ตารางการฟื้นฟู ตารางภัยพิบัติเชื่อมต่อปฎิทินการเกษตรมีการจัดทำแผนการใช้น้ำเพื่อการเกษตรให้สอดคล้องกับระยะเวลาก่อนเกิดอุทกภัยเพื่อลดความสูญเสียเสนอให้มีคณะกรรมการของชุมชนเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารน้ำสำรวจที่สาธารณะที่มีอยู่เพื่อใช้เป็นอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติมการเยียวยาและชดเชย ชดเชยเยียวยาอย่างเป็นธรรมและรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณที่ระบุไว้เป็นพื้นที่รับน้ำมีระเบียบการชดเชยที่ชัดเจน ที่พิจารณารวมไปถึงคนที่รับจ้างทำนา ว่าจะได้รับค่าตอบแทนด้วยหรือไม่? อย่างไร?

ผมได้ถามชาวนาที่มาแสดงความเห็นในเวทีสัมมนาว่าคาดหวังค่าชดเชยเท่าใด?ตัวเลขที่เขาเสนอคือ ๕,๐๐๐ บาทต่อไร่ต่อสี่เดือนครับ

Categories: Post from Dr.Jiit