โครงการศึกษากลไกการส่งเสริมและสร้างผู้ประกอบการรองรับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

โครงการศึกษากลไกการส่งเสริมและสร้างผู้ประกอบการรองรับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์

ผู้ดำเนินการ :  

  •      รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา      
  •      ดร.วรพจน์   อังกสิทธิ์
  •      นายธิติ ตระกลพัฑฒนะ    
  •      นายธนาวัฒน์ วุฒิชัยธนากร 

ดำเนินการให้กับ

  •      ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

hddpic

   จากการศึกษาในเรื่องอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของประเทศไทย โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศอ.) ในปีงบประมาณ 2548 ที่ผ่านมา พบว่าอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นโรงงานลงทุนโดยต่างชาติเกือบทั้งหมด และยังมีความขาดแคลนผู้ประกอบการต้นน้ำภายในประเทศไทยอยู่ ซึ่งทางรัฐบาลก็ยังไม่มีการวางแผนยุทธศาสตร์และแผนแม่บทในการพัฒนาผู้ประกอบการภายในประเทศไทยอย่างชัดเจน ประกอบกับประเทศคู่แข่งได้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องอีกทั้งภาครัฐของประเทศคู่แข่งมีเงื่อนไขการส่งเสริมที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ เป็นผลให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยต้องมีการปรับตัวให้มีศักยภาพการผลิตที่สูงขึ้น ดังนั้น ภาครัฐจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาห่วงโช่อุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อลดความเสี่ยงต่อการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ

        สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม จึงได้รับมอบหมายจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ให้ดำเนินการศึกษากลไกการส่งเสริมและสร้างผู้ประกอบการรองรับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ โดยในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะศึกษาการพัฒนาส่งเสริมและสร้างผู้ประกอบการรองรับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทย ในการศึกษาขั้นต้นนั้น จะคำนึงถึงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ แผนงาน แนวนโยบายและกลไกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องและความเป็นไปได้ในด้านการปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการศึกษาด้วย ดังนั้น ในการดำเนินการศึกษาวิจัยของทางสถาบันฯ จึงได้ศึกษาถึงสถานภาพความต้องการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ โดยครอบคลุมทั้งด้านอุปสงค์ และอุปทาน ตลอดจนศึกษาปัจจัยต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการจูงใจให้เกิดการลงทุนในส่วนอุตสาหกรรมสนับสนุนในกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่ม Precision tooling and Plastic 2.กลุ่ม Automation equipment 3.กลุ่ม Indirect Material และนำผลจากการศึกษามาช่วยในการกำหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไขกลไกส่งเสริมผู้ประกอบการเดิมที่มีอยู่ พร้อมทั้งนำเสนอกลไกและกิจกรรมริเริ่ม เพื่อให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมสนับสนุนชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และให้สอดคล้องกับการส่งเสริมการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมภายในประเทศได้ต่อไป

Download TH

Categories: Stratregic Technology Management