การแพทย์ระยะไกลผ่าน 3.9G - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

การแพทย์ระยะไกลผ่าน 3.9G

logo robot brain

การแพทย์ระยะไกลผ่าน 3.9G

2010-08-2402มได้ยิน ท่านพันเอกนที ศกุลรัตน์ หนึ่งในกรรมการกทช. ผู้รับผิดชอบโครงการ 3.9 แจ้งผ่านทวิตเตอร์ @DrNatee39G ว่า ระบบ 3.9G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยเรานั้น มีความเร็วถึง 42 Mbps ไทยเราเป็นประเทศที่สองในเอเชียที่ประยุกต์ใช้รองจากญี่ปุ่น  ความเร็วการส่งข้อมูลขนาดนี้ทำให้ผมเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์อย่างสูงในเชิงเศรษฐกิจและสังคม  นอกจากนี้พี่น้องคนไทยที่อยู่ต่างจังหวัด ห่างออกไปจากแหล่งความเจริญทางการแพทย์  ก็จะสามารถได้รับโอกาสดูแลจากแพทย์ผู้ชำนาญทั่วประเทศไทย  ผมเคยหารือกับทาง ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับ การแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) ในฐานะผู้สนใจนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาช่วยในการแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบแฮบติกส์ (Haptic Interface with force/moment display under virtual reality) ที่ทำให้แพทย์ที่กรุงเทพ รับรู้ถึงการสัมผัสในการผ่าตัดเสมือนจริง แม้ว่าผู้ได้รับการผ่าตัดจะนอนอยู่หมู่บ้านสามขา จังหวัดลำปางก็ตาม ส่วน  ศ.พญ.นิจศรี ท่านสนใจดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) แบบ Fast Track  จากการหารือผมได้รับทราบข้อมูลที่น่าสนใจมากดังนี้ครับ

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์ อัมพาต ในปัจจุบันที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic) ภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง หลังจากเกิดอาการ อย่างไรก็ตามการรักษานี้จะต้องกระทำโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ และมีความชำนาญ ดังนั้นการใช้ telemedicine จะมีส่วนช่วยให้แพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลห่างไกล มีความมั่นใจในการรักษา โดยสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์รับปรึกษาโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างทันทีทุกเวลา

การจัดระบบ telemedicine ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่

  1. องค์ประกอบด้านการแพทย์ โดยจะได้จัดให้มีศูนย์รับปรึกษาโรคหลอดเลือดสมองในส่วนกลางโดยมีแพทย์ผู้ชำนาญหมุนเวียนกันรับปรึกษาและมีการติดต่อกับแพทย์ในโรงพยาบาลที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ stroke fast track ของ สปสช.และโรงพยาบาลเครือข่าย
  2. องค์ประกอบในด้านเทคนิค ซึ่งเป็นการส่งต่อภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลปลายทางกับศูนย์รับปรึกษาในแบบ real time ซึ่งข้อมูลที่จำเป็นจะต้องมีการส่งต่อประกอบด้วย
    1. ภาพเคลื่อนไหวของผู้ป่วยในแบบ real time ซึ่งศูนย์รับปรึกษาจะสามารถเห็นการตรวจร่างกายทางระบบประสาทของผู้ป่วยได้อย่างชัดเจน รวมทั้งสามารถสื่อสารและพูดคุยกับแพทย์ที่ปลายทางได้ในเวลาเดียวกัน
    2. ข้อมูลของผู้ป่วย เช่น ข้อมูลการรักษา ประวัติ ผลการตรวจสัญญาณชีพ และตรวจเลือดเบื้องต้น สามารถส่งมาทางหน้าจอของศูนย์รับปรึกษาได้
    3. ข้อมูลการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ซึ่งในบางโรงพยาบาลอาจเป็น file ใน PACs system หรือบางโรงพยาบาลอาจใช้เป็นฟิล์มเอกซเรย์ที่ถ่ายออกมา ภาพที่ได้จะต้องมีความละเอียดเพียงพอที่จะวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยที่ถูกต้องตามแนวทางของ ศ.พญ.นิจศรี นี้ ย่อมช่วยให้ผู้ป่วยได้รับ2010-08-2403การดูแลรักษาอย่างถูกต้องยิ่งขึ้น  ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการผ่าตัด ผมได้ดัดแปลงหลักการ WYSIWYF (What You See Is What You Feel)  ของ ศ. โยชิโร โยโกโกจิ คือ ในส่วน Visual Interface นั้นใช้ Head-mounted display หรือ stereoscopic display screen ในการแสดงถาพเสมือนซึ่งทำให้ได้ภาพที่ตรงกับความรู้สึก (Force/Moment) และมุมมองมากที่สุดและไม่มีความเลื่อมล้ำกันระหว่างความรู้สึกและภาพด้วย ตามรูป จะเห็นว่าแพทย์จับมีดผ่าตัดอยู่ที่ปลายแขนหุ่นยนต์และสวม Head-mounted device อยู่โดยกล้องที่ติดอยู่ที่ Head-mounted device ทำหน้าที่รับภาพจริงผ่านระบบ 3.9G คือภาพซึ่งประกอบด้วยมือและปลายแขนหุ่นยนต์แสดงค่าความยืดหยุ่น (Mass-Spring-Damper) ตามข้อมูลที่ส่งมาจากหน้างานอย่างสมบูรณ์ และต้องรวดเร็วพอสมควร  3.9G มีความเร็วถึง 42 Mbps น่าจะเหลือเฟือครับ  จากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการซ้อนภาพคนไข้จริงให้สอดคล้องภาพมือของแพทย์และสภาพแวดล้อมเสมือนที่เราต้องการแสดงผ่านที่ Head-mounted display ในรูปสภาพแวดล้อมเสมือนคือกล่องลูกบาศก์

ตอนนี้มี MVNOs (Mobile Virtual Network Operators) เกิดขึ้นหลายบริษัท  ผมหวังว่า เรื่องการแพทย์ระยะไกล น่าจะเป็น โมเดลทางธุรกิจ (Business Model) ที่สำคัญมากนัยหนึ่งนะครับ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

 

Categories: Post from Dr.Jiit