เล่นๆก็เป็นประโยชน์ได้ Drifting Toy Car - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

เล่นๆก็เป็นประโยชน์ได้ Drifting Toy Car

logo robot brain

 

เล่นๆก็เป็นประโยชน์ได้ Drifting Toy Car

ผมมีลูกศิษย์ระดับปริญญาโทสนใจการทำงานของรถวิทยุบังคับ ผมจึงอนุญาติให้ใช้ทุนวิจัยไปซื้อมาเล่น ทั้งนี้ผมเชื่อว่าคนเราต้องมีความสุขเสียก่อนจึงจะมีสมาธิในการทำงาน (วิจัย) นั่นคือ สุขเป็นเหตุใกล้ของการมีสมาธิ แต่หลายคนยังเชื่อว่าต้องมีสมาธิก่อนจึงจะมีความสุข ก็แล้วแต่นะครับ ต่างคนต่างความเชื่อ ผมเชื่อของผมอย่างนี้ ดังนั้นงานวิจัยส่วนใหญ่ที่ฟีโบ้ล้วนเริ่มต้นจากความสนใจบวกความสนุกของนักวิจัย นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา แน่นอนครับว่าเป้าหมายนั้นมีสำคัญ แต่เส้นทางที่เราเลือกไปถึงเป้าหมายก็มีความสำคัญเท่ากัน จึงต้องมีความ “มันส” และน่าสนใจด้วยครับ

2011-03-14-1

ผมนั้นวาสนาดีที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเมตตาเสมอตั้งแต่ศึกษาอยู่ที่เมืองไทย ไปญี่ปุ่น ถึงอเมริกาที่ Carnegie Mellon จำได้ว่า อาจารย์ของผม Prof. Sturges รับทุนวิจัยจาก Bell Helicopter มาศึกษาการออกแบบชิ้นส่วนทั้งหมดของเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ แม้ผมจะทำวิจัยด้านหุ่นยนต์แต่เนื่องจากจบการศึกษาจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จึง Hand On สูง มักวิ่งเข้า Machine Shops ทำชิ้นส่วนหุ่นยนต์ด้วยตนเองไม่พึ่งช่างเทคนิคของภาควิชาเพราะต้องรอนาน ด้วยเหตุนี้ผมจึงโดนอาจารย์ที่ปรึกษาสั่งให้จัดทำ “Function Logic Diagram” ที่แสดงเหตุและผลของแต่ละกลไก จังหวะนี้ผมได้โอกาสขอเงินอาจารย์ 2,000 $US ไปซื้อ เฮลิคอปเตอร์วิทยุมาศึกษาการทำงานชิ้นส่วนกลไกก่อนเจอของจริง อาจารย์อนุญาติทันทีเหมือนกับรู้ล่วงหน้าผมต้องซื้อมาเล่น สมใจอยากครับเพราะสมัยผมเรียนประถมอยู่ต่างจังหวัดพยายามสร้างเฮลิคอปเตอร์อยู่สองปี มันไม่เคยTake Off บินขึ้นจากพื้นได้เลย

 

2011-03-14-2

 

 

 

ผมเพิ่งได้ความรู้ใหม่จากนักศึกษาที่เล่นรถวิทยุบังคับว่า สุดยอดความมันส์ในการบังคับรถนั้นต้องสร้างปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “Drifting” ซึ่งมิใช่เป็นการสไลด์ที่ก่อให้เกิด Linear Displacement อย่างเดียว หากแต่การหักพวงมาลัยในจังหวะเวลาและตำแหน่งที่เหมาะสมทำให้เกิดการเคลื่อนที่แบบลูกผสมคือ Linear and Rotational Displacement ได้ ในมิติที่เป็นความเข้าใจของคนทั่วไป นี่คือสาเหตุของอุบัติเหตุร้ายแรง เพราะโชเฟอร์ไม่เข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้นเขาจึงบังคับยานพาหนะไปในทิศทางที่ตนต้องการไม่ได้ แต่ในมุมมองของลูกศิษย์ผม (หลังจากมีความสุขในเล่นรถวิทยุบังคับ) เห็นว่าหากเราเข้าใจเงื่อนไขที่มาของปรากฎการณ์ดังกล่าว เราสามารถสร้างระบบควบคุมอัจฉริยะควบคุมการ “Drifting” ของยานพาหนะไปทิศทางที่ปลอดภัยได้ นักศึกษาท่านนี้จึงเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เพื่อสร้าง Intelligently Autonomous Mobile Wheeled Robot ในการเคลื่อนที่แบบพลวัตในพื้นที่ที่คับแคบโดยอาศัยการเคลื่อนที่แบบ Drifting อย่างไรก็ตามผมเห็นว่าผลลัพท์ของวิจัยนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการออกแบบระบบความปลอดภัยของรถยนต์ในปัจจุบัน แม้จะไม่ใช้ประโยชน์จาก Drifting ดังกล่าว ระบบปลอดภัยต้องสามาถหลีกเลี่ยงเงื่อนไขของการเกิด Drifting ได้

2011-03-14-3

 

โดยไม่ต้องกล่าวถึงสมการที่เข้าใจยาก ขอชี้หลักการทางฟิสิกส์ที่สำคัญคือ การควบคุมจุด IC (Instantaneous Center) หรือจุดรวม Linear and AngularVelocity ให้ได้ มีเกมโชว์จากประเทศญี่ปุ่น แข่งขันการขับรถเข้าไปจอดในช่องว่างขนาดใกล้เคียงกับความยาวรถโดยการ “Drifting” เนื่องจาก Parallel Parking เป็นไปไม่ได้เลยครับ

 

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th http://th.wikipedia.org/wiki/ชิต_เหล่าวัฒนา

Categories: Post from Dr.Jiit