หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์เดินสองขา ส้มจุก - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์เดินสองขา ส้มจุก

หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์เดินสองขาส้มจุก

Somjuk

 

ชื่อผลงาน หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์เดินสองขาส้มจุก
Humanoid “Somjook”
ชื่อผู้วิจัย  รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ดร.ณชล ไชยรัตนะ
  นายฐิติศักดิ์ จันทร์พรหม นายไพศาล สุวรรณเทพ นายบัณฑูร ศรีสุวรรณ นายหทัยเทพ วงศ์สุวรรณ
แหล่งให้ทุน     
ปีที่เผยแพร่ผลงาน พ.ศ.2543
คำสำคัญ หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์

 

บทคัดย่อ

การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์นั้น ในอดีตมุ่งเน้นไปในทางด้าน Fixed Robots ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต แต่ยังมีงานอีกหลายประเภทที่ไม่สามารถใช้ Fixed Robots เข้าทำงานได้ เช่น งานสำรวจในที่ที่อันตรายเป็นต้น ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาชั้นนำหลายแห่งของโลก หันมาให้ความสนใจวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robots) ที่ใช้ขาสองขา (Biped) ในการเคลื่อนที่มากขึ้นอาทิเช่น M.I.T, Harvard University, Stanford University และ Waseda University (JAPAN) หรือแม้กระทั่งบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่าง HONDA ยังทุ่มเงินนับพันล้านเยน เพื่อวิจัยและสร้าง ?HONDA HUMANOID ROBOT? ออกมาเป็นที่ประจักษ์สายตาแก่ชาวโลก ทั้งนี้เนื่องจาก Mobile Robot ที่ใช้ขาแบบสองขามีความคล่องตัวสูงและสามารถเคลื่อนที่ไปในที่ซึ่ง Mobile Robot แบบล้อไปได้ยาก

ทางศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่ประเทศไทยสามารถพัฒนาขึ้นจากการทำวิจัยด้าน Humanoid Robot เช่น Real-time Three Dimensional Balancing ทางศูนย์ FIBO ได้มีแผนการวิจัยและสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบสองขาโดยใช้วิธีขยายผลการวิเคราะห์เชิงพลศาสตร์ของ Thomas R. Kane, ZMP, Gravity Reaction Force, Conservation of Energy, อีกทั้งจะนำความรู้ทางด้านระบบการมองเห็น (Vision System) กระบวนการคำนวณภาพ (Image Processing) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มาช่วยให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น นอกจากนี้ได้เตรียมการวิจัยในส่วนของ Mobility เพื่อที่ให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทุกทาง (Omnidirectional) บนพื้นผิวที่ไม่ราบเรียบ ส่งผลให้หุ่นยนต์สามารถเดินได้อย่างมั่นคง โดยในงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยพัฒนาทางทฤษฎีและตรวจสอบความถูกต้องจากหุ่นยนต์ต้นแบบจริงที่มีการเคลื่อนไหวในช่วงขา โดยขาแต่ละข้างประกอบด้วยหกองศาอิสระ

 

เราได้กำหนดแผนดำเนินงานวิจัยดังนี้คือ

  • ศึกษาทฤษฎีทางด้านชีวกล (Biomechanics) เพื่อหาตัวแปรที่เหมาะสมในการออกแบบกลไกทางกลของหุ่นยนต์สองขาต้นแบบ
  • ทำการวิจัยด้าน Mobility และ Dexterity ของหุ่นยนต์สองขาต้นแบบ
  • ออกแบบระบบควบคุมแบบ Passive Real Time และ Active Real Time
  • รวมระบบการมองเห็น (Vision System) เข้ากับหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการปรับท่าทางในการเดินล่วงหน้าโดยใช้ทฤษฎีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
Image127 Image128

เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์แบบจำลองทาง Kinematic และ Dynamic ดังแสดงในรูปที่ 1. ซึ่งเป็นแนวความคิดเริ่มแรกในการวิเคราะห์จากแบบจำลองมวลรวมเป็นก้อน (Lump Mass Model) หุ่นยนต์ฮิวแมนด์นอยด์ต้นแบบจะเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกของประเทศไทยที่ฟีโบ้ได้เป็นผู้เริ่มต้นสร้างและทำการเผยแพร่เทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวโดยผลที่ได้จากการวิจัยจะแสดงให้เห็นถึง ศักยภาพด้านระบบอัตโนมัติที่เกิดจากการวิเคราะห์ทางพื้นฐานเป็นหลัก

ข้อมูลเพิ่มเติม

(Download PDF A4 Link)

 

 

 

Categories: uncat