Photogenic:Cyborg Eye - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

Photogenic:Cyborg Eye

logo robot brain

Photogenic:Cyborg Eye

article178-1

วิทยาการด้าน “ตาหุ่นยนต์” ส่วนใหญ่ยังอยู่ในห้องปฏิบัติการ ไม่มีผลกระทบมากนักในชีวิตประจำวันของมนุษย์เท่าใดนัก แต่เทคโนโลยีพื้นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบตาหุ่นยนต์ เช่น กล้องวงจรปิด: CCTV กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะทางกรุงเทพมหานครมีความตื่นตัวมาก ติดตั้งเป็นจำนวนหลายๆพันกล้องทำหน้าที่เฝ้าระวังเหตุร้าย แต่ก็น่าเสียดายเราต้องเสียดุลการค้าไปมากเพราะต้องนำเข้ากล้องจากต่างประเทศ  ผมเห็นว่ารัฐควรสนับสนุนสินค้าไทยมากกว่านี้ครับ

ที่ผมบอกว่าเป็น “การเฝ้าระวัง” ก็เพราะเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บังคับการสามารถสอดส่องสถานที่เสี่ยงภัยผ่าน “ตาวิเศษ” เหล่านี้โดยสามารถโยกไปดูกล้องที่ตำแหน่งต้องการและใช้การสื่อสารผ่านเครือข่ายสารสนเทศระบบอินเตอร์เนต  มีการเชื่อมโยงโครงข่ายเข้ากับเทคโนโลยีมัลติมีเดียสื่อสารไร้สายความเร็วสูง สามารถต่อการทำงานกับ คอมพิวเตอร์พกพาส่วนตัว (PDA) ได้ และคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง คุณภาพของกล้องค่อนข้างสูงสามารถซูมภาพระยะไกลได้กว่า 30 เมตร เห็นแม้กระทั่งหมายเลขทะเบียนรถยนต์ที่ต้องสงสัย  เมื่อมีระบบนี้แล้วคนร้ายคงต้องระวังตัวมากขึ้นเพราะการกระทำใดๆที่ลับๆล่อๆอาจตกอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่ และจะถูกจับกุมก่อนที่จะลงมือ
article178-2

ระบบดังกล่าวนี้ยังมีประโยชน์หลังจากเหตุร้ายได้เกิดขึ้นแล้วอีกด้วย หากมีการบันทึกเก็บไว้เพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุและผู้กระทำความผิด ในกรณีนี้ต้องเพิ่มเติมเทคนิคด้านการการตรวจจับการเคลื่อนไหวอย่างอัตโนมัติ (Motion Detector) การตรวจสอบค่าบิทของแต่ละอิมเมจ ว่ามีการเปลียนแปลงไปอย่างไรบ้าง หากหน่วยงานใดของไทยสนใจจะใช้ อย่าเพิ่งรีบเสียเงินซื้อจากต่างประเทศนะครับ โปรดติดต่อนักวิจัยหรืออาจารย์วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผมมั่นใจว่าคนไทยออกแบบและทำใช้เองได้ดีครับ  เทคโนโลยีปัจจุบันนั้นได้ผนวกเอาความสามารถทางปัญญาประดิษฐ์เข้าไปด้วยแล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการวางระเบิดจากกระเป๋าพกพา  สนามบินชั้นนำทั่วโลกมีระบบนี้ติดตั้งใช้งาน  ฟั่งชั่นสำคัญคือระบบสามารถจำ (Cognitive Module) จากข้อมูลภาพว่าผู้ใดถือสัมภาระมาด้วย แล้วจงใจทิ้งกระเป๋าเกินระยะที่กำหนดไว้ในระบบ ระบบจะทำการเตือนทันที่ ตำแหน่งของคนร้าย ณ. เวลาต่างๆก็สามารถ Trace ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว หากระบบต่อถึงกันผ่านเครือข่ายดังที่ กล่าวไว้ข้างต้นนอกจากนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอนยังได้พัฒนา ระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) ที่สามารถระบุชื่อแซ่ผู้มาติดต่อได้เลย  และบอกได้แม้กระทั่ง ความเป็นไปได้หรือหน้าตาละหม้ายคล้ายใครบ้างในกรณีที่มีการปลอมตัวมา  ในยุคต้นของระบบ Vision ศาสตราจารย์ ทาเคโอะ คานาเดะ อาจารยที่ถ่ายทอดความรู้ด้านหุ่นยนต์ให้แก่ผมท่านหนึ่ง ได้ริเริ่มพัฒนาโปรแกรม เพื่อที่จะระบุและจดจำหน้าของผู้คน นอกจากเป็นผุ้อำนวยการสถาบันหุ่นยนต์แล้ว ท่านยังช่วยมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอนตั้งบริษัท Pittsburgh Pattern Recognition Inc ที่ spinoff ออกมาทำธุรกิจจากผลงานวิจัยและพัฒนา ที่สหรัฐอเมริกา นิยมการทำประโยชน์จากงานวิจัยโดยการ spinoff ออกมาจากมหาวิทยาลัย ประมาณว่ากว่า 8,500 บริษัท ถูกจัดตั้งขึ้นโดย Massachusetts Institute of Technology (MIT)

งานของท่านอาจารย์คาเนเดะ ได้ขยายต่อมาในสาขาของ Biometrics ซึงเกียวข้องการระบุตัวตนผ่านลักษณะเฉพาะของมนุษย์ เช่น ใบหน้า ตา นิ้ว มือ ลายมือ และเสียง เทคโนโลยีเหล่านี้เราได้พบเห็นในภาพยนต์ เจมส์บอนด์ ไมนอริตี้รีพอร์ต และอื่นๆมาแล้ว  บัดนี้ได้เป็นจริงผ่านงานวิจัยและพัฒนาของ อาจารย์ มาริโอส์ ซาฟวิเดส (Research Professor Marios Savvides) โดยมีพื้นฐานทฤษฎีด้านการใช้ Correlation Filter แปลงข้อมูลภาพให้อยู่ในรูปของ digital wave-like pattern ที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในระบบคอมพิวเตอร์ ระบบกล้อง Photogenic ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถตรวจสอบหาคนร้ายที่แฝงตัวมาในชุมชนแม้ว่าผู้ต้องสงสัยเหล่านั้นจะก้มหัว สวมหมวกหรือใส่แว่นตามาก็ตาม เมื่อเดินผ่าน กล้องจะเฝ้าติดตามแม้ผู้นั้นได้ผ่านไกลออกไป กล้องทำการ Zoom อัตโนมัติเพื่อให้ได้ resolution ที่ละเอียดตลอดเวลา ข้อมูลของคนร้ายได้ถุกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลก่อนหน้านี้ในรูปแบบสองมิติ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้แสกนจากคลิปหนังสือพิมพ์ หรือภาพจากกล้องที่ซ่อนไว้ในตู้เอทีเอ็ม แล้วแปรเปลี่ยนสร้างเป็นเป็นภาพสามมิติโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจนแม้ว่าข้อมูลทางภาพสองมิติจะชัดหรือไม่ชัดก็ตาม  และภาพสามมิตินี้สามารถแปรกลับเป็นภาพสองมิติในมุมมองใดๆก็ได้  จากนั้นยังมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกชุดทำหน้าที่ระบุเพศของเป้าหมายโดยรวมพารามิเตอร์ทรงผม แว่นตา และของประดับต่างๆ  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดที่สาม: facial landmarking  ทำการตรวจสอบถึง 79 ตำแหน่งตามรูปทรงเรขาคณิตของ ใบหน้านั้นๆ จนสามารถ match หน้าตาของคนร้ายในฐานข้อมูลของเอฟบีไอ  อย่างไรก็ตามที่น่าสนใจมากที่สุดคือระบบกล้อง Photogenic คือสามารถจับภาพของดวงตาทั้งคู่ (iris) ของผู้ต้องสงสัยเพียงแค่เดินผ่านเท่านั้น ความไวพอๆกับระบบตรวจสอบโลหะ (Metal Detector) ทางเพนตากอนจึงมีความสนใจมากที่จะใช้ระบบนี้ที่ค่ายทหารอเมริกัน ณ.ประเทศอิรักเพื่อป้องกันเหตุร้ายในกรณี suicide bomb.

อาจารย์ มาริโอส์ ซาฟวิเดส ได้รับทุนจัดตั้งห้องวิจัย Cylab Biometrics ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน จาก U.S. federal agency ถึง 3 ล้านเหรียณสหรัฐ และ อีก 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับงานวิจัยด้าน Photogenic

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

Categories: บทความของ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา