รถอัจฉริยะ แบบไร้คนขับ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

รถอัจฉริยะ แบบไร้คนขับ

ชื่อผลงาน รถอัจฉริยะ แบบไร้คนขับ
Intelligent Vehicle “Dark Horse”
ชื่อผู้วิจัย ดร.ถวิดามณีวรรณ์ นางสาวรับขวัญ จิตต์ภักดี นางสาวอมรศรี แซ่ก๊วย และ ร้อยโทประสพชัย ศิลาอ่อน
แหล่งให้ทุน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
ปีที่เผยแพร่ผลงาน พ.ศ.2550
คำสำคัญ รถอัจฉริยะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษา ออกแบบ และสร้างรถอัจฉริยะ เพื่อให้รถสามารถวิ่งอยู่บนถนนได้ตามเส้นทางที่ต้องการ สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางและปฏิบัติตามกฏจราจรได้โดยไร้คนขับเพิ่อใช้ในการแข่งขันการสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย

ปัญหา: ในปัจจุบันนี้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ขับรถขณะอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่ออันตราย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอนตาพร่ามัว หรือมึนเมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้นจึงได้สร้างรถอัจฉริยะที่สามารถวิ่งบนถนนได้เองโดยมีระบบการตัดสินใจที่แม่นยำ เพื่อลดปัญหาและการสูญเสียที่เกิดจากอันตรายดังกล่าว

วิธีการ: รถที่ใช้เป็นรถที่เครื่องยนต์ถูกดัดแปลงมาจากเครื่องยนต์ของมอเตอร์ไซค์ระบบเกียร์อัตโนมัติขับเคลื่อนล้อหลัง โดยเซ็นเซอร์ที่ใช้มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ Encoder เพื่อใช้วัดระยะทางและวัดมุมในการหมุนของพวงมาลัย, Gyro และ Accelerometer เพื่อใช้วัดความเร่งและความเร็วเชิงมุมของรถ, Ultrasonic เพื่อใช้ตรวจจับสิ่งกีดขวาง, GPS เพื่อระบุตำแหน่งของรถว่าอยู่ ณ ตำแหน่งใดของพื้นโลก และ กล้องเพื่อใช้ตรวจจับสิ่งกีดขวางสัญญาณไฟจราจรและป้ายจราจร การควบคุมให้รถสามารถวิ่งได้เองบนท้องถนนนั้น ทำได้โดยการใช้เทคนิค Teaching – Playback ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้สร้างระบบนำทางสำหรับรถอัตโนมัติโดยออกแบบให้ทำการสอนด้วยการควบคุมคันเร่งและมุมเลี้ยวของพวงมาลัยเพื่อให้รถรู้เส้นทาง จากนั้นนำข้อมูลที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์ มาทำการวิเคราะห์เพื่อประมาณตำแหน่งของรถ ณ แต่ละเวลาเพื่อกำหนดเส้นทางในการควบคุมให้รถเคลื่อนที่อัตโนมัติ โดยขณะที่รถเคลื่อนที่ไปจะใช้ข้อมูลจาเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อตรวจสอบให้ตำแหน่งปัจจุบันของรถลู่เข้าสู่เส้นทางที่สอนอยู่เสมอ

การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย(Thailand Intelligent Vehicle Challenge)
จัดโดยสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย โดยการสนับสนุนจากบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

2007: FIBO ได้สร้างรถอัจฉริยะและส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันเป็นปีแรกในชื่อทีม Dark horse โดยใช้รถโกคาร์ทเป็นโครงสร้างของรถและใช้มอเตอร์กระแสตรงเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สามารถเข้าเส้นชัยได้คะแนนเป็นลำดับที่สามและได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม

 MG 0328  MG 0490

 

2007: FIBO ได้สร้างรถอัจฉริยะและส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันเป็นปีแรกในชื่อทีม Dark horse โดยใช้รถโกคาร์ทเป็นโครงสร้างของรถและใช้มอเตอร์กระแสตรงเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สามารถเข้าเส้นชัยได้คะแนนเป็นลำดับที่สามและได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม

DPP171 DPP205