ความจริงเสมือน (Virtual Reality)
![]() ในช่วงต้นยุค 90 งานวิจัยความจริงเสมือนเป็นเพียงเรื่องน่าสนใจเรื่องหนึ่ง แต่มักถูกกล่าวถึงมากเพราะถูกใช้สร้างความจริงแบบแต่งเติมที่จะทำให้โลกเสมือนจริงกลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกของคุณเลยทีเดียวแน่นอนว่านี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ ฮอลีวูดใช้เทคนิคนี้ในภาพยนตร์มาหลายปีแล้ว แต่ความแตกต่างก็คือ งานที่ต้องใช้เงินเป็นร้อยล้านดอลลาร์กับเวลาเป็นเดือนในการทำงาน สามารถเสร็จได้ด้วยเครื่องพีซีในไม่กี่วินาที ปัจจุบันนี้วิทยาการทางด้านระบบความจริงเสมือน (Virtual Reality) ได้มีการพัฒนา และประยุกต์ใช้งานในหลายสาขา โดยได้นำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการแสดงผลในรูปของภาพและเสียง แต่ระบบส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดในการทำให้ผู้ใช้รู้สึกคล้อยตามและเชื่อว่าตนได้เข้าไปอยู่ในโลกเสมือน (Virtual World) ได้จริง ทางสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจึงได้มีการสร้างระบบความจริงเสมือนโดยใช้หุ่นยนต์เป็นอุปกรณ์ในการสร้าง แรงป้อนกลับ ให้สอดคล้องกับภาพ และเสียงที่ผู้ใช้ได้รับ ระบบดังกล่าวนี้คือ ระบบความจริงเสมือนแบบมีแรงป้อนกลับ (Haptic ระบบความจริงเสมือนแบบมีแรงป้อนกลับ (Haptic Interface in Virtual Reality) มีส่วนประกอบใหญ่สองส่วนคือ ส่วนแฮปติกส์ (Haptic Interface) และ ส่วนแสดงภาพ (Visual Interface) ส่วนแฮปติกส์ (Haptic Interface) เป็นส่วนที่ใช้สร้างแรงป้อนกลับให้กับผู้ใช้ (user) โดยอุปกรณ์ที่ใช้สร้างแรงป้อนกลับหรืออาจเรียกว่าอุปกรณ์แฮปติกส์คือ หุ่นยนต์ยี่ห้อ CRS รุ่น A255 โดยหลักการทำงานคือ อุปกรณ์วัดแรงและแรงบิดแบบหกองศาอิสระ (6-DOF Force/Torque sensor) จะวัดค่าแรงและแรงบิดที่ |
![]() ผมมั่นใจว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยีความจริงเสมือนจะปรากฏอยู่ในระบบไกด์นำเที่ยว ศัลยแพทย์สามารถอัลตร้าซาวนด์อวัยวะของคนไข้ได้ง่ายขึ้น แต่ที่ได้ประโยชน์ไปเต็มๆ เห็นจะเป็นการเรียนรู้ของเด็กๆ หนังสือ ไอ-เมจิค บุ๊ค ( i-magic book ) พอเปิดไปแต่ละหน้า ตัวละครในนั้นก็จะกลายเป็นภาพสามมิติ เคลื่อนไหวตามที่ได้โปรแกรมไว้ หากมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ตัวละครเหล่านั้นก็จะสามารถมีปฎิสัมพันธ์กับเด็กผู้อ่านได้อีกด้วยที่ตัวละครในหนังสือมีชีวิตแบบนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ในวงการหนังสือ นับตั้งแต่มีการประดิษฐ์แม่พิมพ์ขึ้นมาเลยครับ มนุษย์รุ่นต่อไปคงไว้ใจอะไรได้ยากขึ้น เพราะอุตส่าห์สร้างระบบความจริงเสมือนนี้มาหลอกตัวเอง ผมเคยเปรียบเทียบระดับความผิดปรกติทางจิตมนุษย์ให้ลูกศิษย์ฟังว่า ขั้นอ่อนคือชอบหลอก โกงและเอารัดเอาเปรียบคนอื่น ขั้นที่เลวร้ายขึ้นคือรู้เขาหลอกก็ยังยอมให้หลอก แต่ขั้นที่แย่ที่สุดคือ ชอบหลอกตัวเองครับ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา
|